วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

ตำนานอุรังคธาตุ ๘


ตำนานอุรังคธาตุ ๘

“ปรสิทธิสักกเทวดา” อีกตนหนึ่งชื่อว่า “รัตนเกสี” อยู่ในห้วยมงคลข้างนอก  เทวดาตนหนึ่งชื่อว่า “อินทผยอง” มีผมอันกูด๑อยู่ที่ริมน้ำบึงเสมอหาดทรายสุดข้างทิศใต้ และยังมีนางเทวดาอีกตนหนึ่งชื่อ “มัจฉนารี” มีฤทธิรู้นิรมิตเป็นสัตว์ตัวน้อยตัวใหญ่ได้ทุกประการ เที่ยวไปในทางน้ำและทางบก  นางเทวดาตนนี้ อยู่ในสระน้ำเล็กแห่งหนึ่ง อยู่ในระหว่างกลางข้าพเจ้าและสุคันธนาคอยู่นั้น และยังมีเทวดาตนหนึ่งชื่อว่า “สราสนิท” อยู่ในสระน้ำอันนั้นก้ำเหนือ

       เมื่อสุวรรณนาคได้ยินถ้อยคำกายโลหะกล่าวดังนั้น มีความพอใจยิ่งนักจึงกล่าวขึ้นว่า สาธุ สาธุ  เจ้าทั้ง ๓ อยู่ในที่ใกล้พระอรหันต์และบุรีจันอ้วยล้วย จึงได้รู้ว่าสิ่งที่เป็นมงคลอันประเสริฐมีอยู่ในที่นั้น และเทวดาทั้งหลายเหล่านั้น เขามีใจประกอบด้วยการกุศลกับเราหรือ?  ทันใดนั้นสุคันธนาคพร้อมด้วยเอกจักขุนาคจึงกล่าวขึ้นว่า  เทวดาตนชื่ออินทสิรินั้นเป็นใหญ่กว่าเทวดาทั้งหลาย  เขาได้พาเทวดาเหล่านั้นเข้าไปสู่สำนักของพระอรหันต์ที่มีนามว่ามหาพุทธวงศาทุกๆวันพระ  นาคทั้งหลายบอกความเป็นไปของเทวดาอินทสิริให้สุวรรณนาคทราบความดีแล้ว ก็พากันกลับไปสู่ที่อยู่แห่งตน

       อยู่มาในกาลวันหนึ่ง บุรีจันอ้วยล้วยพาพวกพ้องมากระทำนาแซงที่หนองข้างนอกบ้าน  พอข้าวเป็นรวงจวนจะแก่ ก็บังเกิดน้ำท่วมเสีย
  • เชิงอรรถ ๑ “กูด” หยิก
สุวรรณนาคเห็นดังนั้นจึงให้เสฏไชยนาค เนรมิตเป็นคันแทกั้นทดน้ำหนองเสื้อน้ำนั้นไว้  น้ำหนองนั้นล้นคันแทมาท่วมต้นข้าวให้เหลืออยู่เสมอรวง  คนทั้งหลายเห็นดังนั้นจึงพูดว่าผิดฤดูน้ำมาก แล้วจึงพากันไปดู เห็นคันแททดน้ำให้ไหลไปที่อื่น ที่นั้นจึงได้ชื่อว่า “หนองคันแทเสื้อน้ำ” มาแต่ครั้งนั้น

       ครั้งนั้น ผีเสื้อน้ำที่รักษาอยู่ในที่นั้น จึงกระทำให้เป็นอันตรายแก่คนทั้งหลายตาย มีประมาณ ๑๐๐ เศษ  คนทั้งหลายเหล่านั้นจึงพูดขึ้นว่า หรือผีเสื้อน้ำเนรมิตเป็นคันแททดน้ำให้ลง เพื่ออุบายจะกินคนกระมัง?  คนเหล่านั้นมีความกลัวจึงพากันวิ่งพ่ายหนีกลับคืนไป ละทิ้งซึ่งกันและกัน  ผู้ที่ไปไม่ทันจึงร้องขึ้นว่า “เอากันแด่๑ๆ” แต่นั้นมาจึงได้พูดกันเล่นเป็นคำพังเพยว่า “หนองเอากันแด่” แต่นั้นสืบมา

       สุวรรณนาคจึงให้เอกจักขุนาคและสุคันธนาคนิรมิตเป็นงู ผ่า๒หมากข้าวล้มเสียหมดสิ้น  คนทั้งหลายเห็นดังนั้น จึงทำรั้วให้ถี่ปิดป่องช่องทางดักไซไว้ ก็ได้ยังงูน้อย ๒ ตัว เกล็ดเป็นทองคำทั้งตัว มีหงอนอันแดงงาม

       ในคืนวันนั้น บุรีจันอ้วยล้วยฝันว่าไส้ออกมาเป็นลายๆ มีลึงค์ยาวพันเอวถึง ๗ รอบ  ทันใดนั้น ตนก็สะดุ้งตื่นขึ้นมาทันทีและมี
  • เชิงอรรถ ๑ “เอากันแด่” ในที่นี้หมายถึงว่า ช่วยเอาเราไปด้วย  ๒ “ผ่า” ในที่นี้หมายถึง เหยียบย่ำ,ทำลาย
ความกลัวยิ่งนัก  ครั้นถึงเวลาเช้าออกไปใส่บาตร จึงได้เล่าความฝันที่ตนฝันนั้นให้พระอรหันต์ฟัง พระอรหันต์จึงบอกให้หาดอกไม้ขาวใส่พานบูชาไว้บนหัวนอน แล้วให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่พญานาค  ครั้นถึงเวลาพอกินข้าวงาย เผอิญมีคนนำเอางูน้อย ๒ ตัวใส่กรงมาให้จึงขังเอาไว้ จึงมานึกว่าจะนำไปถวายท้าวคำบางผู้เป็นใหญ่ แต่ยังมิได้นำเอาไป เพราะเห็นว่าเป็นเวลาจวนค่ำ

       ในค่ำวันนั้น สุวรรณนาคจึงเนรมิตเป็นคนแก่ศีร์ษะขาว นุ่งผ้าขาว นุ่งเสื้อขาว สบหว่อม๑แดงงามเข้ามาหาบุรีจันอ้วยล้วยล้วพูดว่า งูน้อย ๒ ตัวที่ท่านขังไว้นี้เป็นลูกของข้อย เหตุนี้ข้อยจึงมาขอเอาคืนไป  บุรีจันอ้วยล้วยเห็นดูหลาก๒ จึงถามว่า เจ้านี้เป็นคนมีศีลธรรมดอกกระมัง จึงได้นุ่งผ้าขาว เหตุไรเล่าจึงมาพูดว่างูเป็นลูกสังดาย๓? ข้อยจะนำเอาไปถวายท้าวคำบางให้ท่านได้เห็นงูเกล็ดเป็นทองคำ

       ทันไดนั้นคนแก่จึงได้พูดขึ้นว่า เรานี้เป็นพญานาค ท่านอย่าได้เอาลูกของเราไปถวายท้าวคำบางๆควรเอาข้าวของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาให้แก่ท่านจึงจะควร  บัดนี้ท่านยังมีความปรารถนาเอาสิ่งใดกับเราผู้เป็นพญานาค เราก็จะให้แก่ท่านตามความพอใจ  ทันใดนั้น บุรีจันอ้วยล้วยจึงได้หวนคิดถึงคำฝันที่ตนฝัน พร้อมทั้งที่ตนได้กรวดน้ำอุทิศ
  • เชิงอรรถ ๑ “สบหว่อม” ในที่นี้หมายถึง สวมหมวก  ๒ “ดูหลาก” แปลกประหลาด  ๓ “สังดาย” ทำไม?
ส่วนกุศลไปถึงพญานาคขึ้นมาว่า ชะรอยพญานาคจะให้กูมีความสุขดอกกระมัง? จึงได้พูดกับพญานาคว่า  เมื่อข้าพเจ้ามีความปรารถนาสิ่งใดขึ้นเมื่อใด ท่านจงได้ช่วยกรุณาแก่ข้าพเจ้าเมื่อนั้นด้วยเทอญ แล้วบุรีจันอ้วยล้วยจึงเอางูน้อยทั้ง ๒ นั้นให้  งูน้อยทั้ง ๒ ก็กลับกลายเป็นมานพ ๒ คน นุ่งห่มเครื่องขาว เดินตามกันหนีออกไปจนสุดชั่วตา

       ทันใดนั้น ชายผู้เฒ่าผู้นั้นจึงบอกกับบุรีจันอ้วยล้วยว่า ท่านจงขุดบ่อน้ำบ่อหนึ่งไว้ที่บึงนอกบ้าน  ครั้นถึงวันพระ เราหากจักให้สุคันธนาคและเอกจักขุนาคมา ณ ที่นั้น  เมื่อท่านมีความปรารถนาสิ่งใดจงไป ณ ที่นั้นแล้วให้เอิ้น๑ว่า “สุคันธนาค” “เอกจักขุนาค” ทั้ง ๒ จงมา ณ ที่นี้  ท่านมีความปรารถนาสิ่งใดจงบอกแก่เขาทั้ง ๒ นั้นเทอญ  บุรีจันอ้วยล้วยจึงรับคำว่า สาธุ ! สาธุ !  ชายเฒ่าผู้นั้นก็อันตรธานหายไป

       ครั้นอยู่มาสองสามวัน บุรีจันอ้วยล้วยจึงเตือนคนทั้งหลายให้เก็บเกี่ยวข้าวในนาที่นั้น  เมื่อน้ำแห้งจึงได้ขุดบ่อน้ำขึ้นบ่อหนึ่ง แล้วพญานาคจึงไปบันดลพระทัยท้าวคำบางพร้อมด้วยมเหษี ให้มีความปรารถนาใคร่จะนำเอานางอินทสว่างลงฮอด ไปถวายพระยาสุมิตตวงศาราชามรุกขนครให้เป็นบาทบริจา ครั้งนั้นท้าวคำบางพร้อมด้วยมเหษีพอพระทัยจะใคร่นำราชธิดาไปถวาย สมความที่พญานาคบรรดาลทุกประการ
  • เชิงอรรถ ๑ “เอิ้น” ร้องเรียก
       พระองค์จึงตรัสสั่งอำมาตย์ตบแต่งเรือหอคำ๑ให้เป็นที่ประทับราชธิดา  เพื่อจะได้นำไปถวายพระยาสุมิตตวงศาราชามรุกขนคร พร้อมทั้งเครื่องราชบรรณาการอีก ๑๐ ลำ  เมื่อนางได้ทราบความดังนั้นก็บังเกิดความเศร้าโศกเป็นกำลัง  พระบิดาเห็นว่าธิดาไม่พอใจ จึงกล่าวเป็นอุบายเพื่อจะให้นางกลัวว่า  ถ้าเช่นนั้นพ่อจะนำเจ้าไปให้เป็นเมียบุรีจันอ้วยล้วยที่เขาเล่ากันว่าปูมใหญ่นัก และกินข้าวเข้าไปทางสีข้างนั้นหนา  เมื่อราชธิดาได้ยินคำพระบิดาว่าจะให้ไปเป็นเมียบุรีจันอ้วยล้วย นางกลับมีความพอใจและหายจากความเศร้าโศกนั้นสิ้น

       ครั้งนั้น ท้าวคำบางจึงตรัสสั่งให้เสนาอำมาตย์มาสร้างแปงเมืองหลวงขึ้น ๒ หลังๆละ ๕ ห้อง และเรือนขวาง๒อีกหลังหนึ่ง ไว้ที่ระหว่างหาดทรายกับที่บ่อน้ำซึ่งบุรีจันอ้วยล้วยขุดไว้นั้น  จึงนำราชธิดาลงสู่เรือไปจอดพักอยู่ที่เรือนหลวงที่หาดทรายนั้น แล้วตรัสสั่งให้อำมาตย์ไปบอกบุรีจันอ้วยล้วยให้มาเข้าเฝ้า เพื่อจะให้ธิดาเห็นบุรีจันอ้วยล้วยจะได้มีความเกลียด แล้วจะได้นำไปถวายพระยาสุมิตตวงศาราชามรุกขนครตามความประสงค์ไว้แต่เดิม  บุรีจันอ้วยล้วยได้ทราบความจากอำมาตย์ดังนั้น จึงไปที่บ่อน้ำซึ่งขุดไว้นั้น ร้องเรียกนาคทั้ง ๒ ให้มา ณ ที่นั้น นาคทั้ง ๒ ก็มา  บุรีจันอ้วยล้วยจึงบอกกับนาคทั้ง ๒ นั้นว่า  บัดนี้ข้าพเจ้ามีความปรารถนาอยากจะได้นางอินทสว่างลงฮอดมาเป็นภรรยา ท่านทั้ง ๒ จงกรุณาให้นางได้กับข้าพเจ้าด้วย
  • เชิงอรรถ ๑ “หอคำ” ในที่นี้หมายถึงบุษบก  ๒ “เรือนขวาง” เข้าใจว่า หอนั่ง
เทอญ

       สุคันธนาคจึงนำเอาขวดไม้จันทน์มาให้ กับนิรมิตอ่างสำหรับอาบน้ำอ่างหนึ่ง พร้อมทั้งกระบวยสำหรับตักน้ำอาบ  เอกจักขุนาคนั้นให้ผ้าเช็ดคิ่ง๑  กายโลหนาคให้ผ้า แล้วจึงบอกกันต่อๆไป ส่วนอินทจักกนาคนั้นให้แหวนธำมรงค์  เสฏไชยนาคให้ดาบขรรค์ไชยศรีด้ำแก้ว  สหัสสพลนาคให้เสื้อรูปท้าวพันตน  สิทธิโภคนาคให้มงกุฎทองคำประดับแก้ว๒  คันธัพพนาคให้สังวาลทองคำ  สิริวัฒนนาคให้เกิบตีนคำ

       ส่วนอินทสิริเทวดานั้นให้แว่น๓กรอบทองคำ  เทวดาอินทผยองให้ต่างหูทองคำ  เครื่องทั้งหลายเหล่านี้ ประดับด้วยแก้วทุกประการ  ส่วนเทวดาสราสนิทนั้นให้ผ้าเช็ดหน้า  ปรสิทธิสักกเทวดาให้ขวดน้ำมันแก้วผลึก  รัตนเกสีเทวดาให้หวีแก้วผลึก  เมื่อนาคและเทวดาทั้งหลายให้เครื่องเหล่านี้กับบุรีจันอ้วยล้วยเสร็จแล้ว ก็มาชุมนุมกันอยู่ณที่หาดทรายซึ่งเป็นที่อยู่ของสุคันธนาค

       ส่วน สุวรรณนาค หัตถีนาค ปัพพารนาค นั้น มาพร้อมกับพญาสุวรรณนาคและพุทโธธปาปนาค  พญาสุวรรณนาคจึงเนรมิตปราสาทสำเร็จแล้วด้วยไม้จันทน์ พร้อมด้วยอาสนะเครื่องลาดปูและผ้าเพดานให้พร้อมสรรพ์ แล้วจึงพร้อมกันไปรับเอานางอินทสว่างลงฮอดมาไว้ใน
  • เชิงอรรถ ๑ “ผ้าเช็ดคิ่ง” ผ้าเช็ดตัว  ๒ “แก้ว” ในที่นี้หมายถึงเพ็ชร  ๓ “แว่น” กระจก
ปรางค์ปราสาทที่นั้น  พระยาสุวรรณนาคซ้ำเนรมิตท้องพระโรงหลวง ๑๙ ห้อง สำเร็จแล้วไปด้วยแก่นจันทน์แดง ครอบไว้ยังคนทั้งหลายที่เป็นบริวารของนางอินทสว่างลงฮอดให้หลับอยู่ในที่นั้น  ปัพพารนาคจึงนิรมิตเบญชรปราสาทแล้วไปด้วยไม้มะเดื่อโคบคำ๑ภายนอก  พุทโธธปาปนาคเนรมิตสระพังทองสำหรับสรง  สุกขรนาค หัตถีนาค เนรมิตโรงช้างไว้ซ้ายขวา  ในคุ้มในวังนั้นมีทุกประการ  เมื่อคนทั้งหลายไปจับต้องวัตถุข้าวของที่พญานาคเนรมิตไว้นั้น ก็บังเกิดมีอันเป็นไปด้วยประการต่างๆ

       ครั้งนั้น เทวดาอินทสิริเจียมบาง จึงกล่าวกับด้วยพญานาคว่า  วัตถุข้าวของทั้งสิ้นในปรางค์ปราสาทโรงหลวงนี้ ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รักษาเอง แล้วเข้าไปรักษาอยู่ในเบญชรปรางค์ปราสาทนั้น และให้นางเทวดามัจฉานารีนำพานดอกไม้ไปเชิญบุรีจันอ้วยล้วยให้เข้ามา  ขณะนั้นบุรีจันอ้วยล้วยกำลังชำระสรีรกายอยู่ในที่อันพญานาคเนรมิต เช็ดคิ่งด้วยผ้าที่พญานาคนิรมิตไว้นั้น ร่างกายก็ขาวงามบริสุทธิ์ แล้วประพรมด้วยเครื่องหอมมีจวงจันทน์เป็นต้น ท้องก็แวบ๒ลงกลมงามประดุจขาธนู ใส่ต่างหูนุ่งผ้าเชิงลายก้านแย่ง ประดับประดาไปด้วยเครื่องประดับ  มีมือถือพวงมาลัยสะพายขรรค์ไชยศรีแล้วสวมสอดเกิบตีนคำ  พอเวลายามตูดตั้งเมื่อค่ำ๓ นางเทวดามัจฉนารี
  • เชิงอรรถ ๑ “โคบคำ” บุด้วยทองคำ  ๒ “แวบ” ยุบ  ๓ “พอเวลายามตูดตั้งเมื่อค่ำ” ในเวลาตั้งแต่เที่ยงไปถึงเวลาเย็น
เนรมิตวี๑คำยื่นให้บุรีจันอ้วยล้วยๆรับเอาแล้วก็หลับอยู่ในที่นั้น  นางเทวดามัจฉนารีจึงโจม๒เอาบุรีจันอ้วยล้วยมาวางไว้ในปรางค์ปราสาทกับด้วยนางอินทสว่างลงฮอด  ทันใดนั้นนางก็สะดุ้งตื่นขึ้น  ได้กลิ่นสุคนธรสจวงจันทน์มาถูกต้องนาสา นางก็พลอยหลับไปอีก  ครั้นตื่นขึ้นมาภายหลังจึงได้มีความรักใคร่กับด้วยบุรีจันอ้วยล้วย ได้เป็นภรรยาสามีกันตั้งแต่นั้นมา

       ส่วนบริวารทั้งหลาย เมื่อตื่นขึ้นมาเห็นดังนั้นก็มีความอัศจรรย์ยิ่งนัก จึงได้นำความไปทูลท้าวคำบางพร้อมด้วยพระมเหสี  ทั้ง ๒ พระองค์เมื่อได้ทรงทราบก็ทรงยินดี จึงตรัสสั่งให้เสนาอำมาตย์จัดการพิธีอภิเษกสมโภชบุรีจันอ้วยล้วยขึ้นเป็น “เจ้าบุรีจัน” พระสวามีนางอินทสว่างลงฮอด พร้อมทั้งมอบเวนบ้านเมืองให้เขาทั้ง ๒

       พญานาคจึงคุ้ยควักให้เป็นบ่อน้ำมงคลไว้ในห้วยมงคลทิศหัวเมืองสองลิน๓  พญานาคจึงกลับมาบอกกับนางเทวดาอินทสิริเจียมบางๆจึงให้เทวดาตนชื่อว่าปรสิทธิสักกะไปอยู่รักษาลินที่ไหลออกมาก้ำฝั่งภายนอกเมืองนั้น  ลินที่ไหลออกมาก้ำฝั่งภายนอกเมืองนั้นให้เทวดาตนชื่อว่ารัตนเกสีไปรักษา เพื่อให้ไหลผ่ามาที่ท่าแม่น้ำของให้เป็นมงคลแก่บ้านเมือง  นางเทวดามัจฉนารีจึงบอกกับพญานาคว่า ตัวผู้ข้านี้จะรักษาเจ้าบุรีจันอ้วยล้วยพร้อมด้วยข้าทาสบริวารในหัตถบาส
  • เชิงอรรถ ๑ “วี” พัด  ๒ “โจม” ยก  ๓ “ลิน” ราง
เทวดาอินทผยองจึงกล่าวขึ้นว่า ผู้ข้าจะรักษาอาณาประชาราษฎรทั้งหลายในพระนครแต่คุ้มเหนือตลอดไปถึงคุ้มใต้ทั้งสิ้น  เทวดาสราสนิทจึงกล่าวขึ้นว่า ผู้ข้าจะรักษาแต่คุ้มหลังนี้ไปเหนือทั้งสิ้น

       แล้วเทวดาอินทสิริจึงบอกกับพญาสุวรรณนาคว่า  ศรีเมืองๆนี้มีอยู่ ๕ แห่ง คือที่นาใต้แห่งหนึ่ง ที่นาเหนือแห่งหนึ่ง ที่พันท้าวแห่งหนึ่ง ที่หาดทรายผ่อหล่ำแห่งหนึ่ง ที่คกคำแห่งหนึ่ง  นาคตัวใดอยู่ในที่เป็นศรีเมืองก็ให้รักษาอยู่ ณ ที่นั้นเทอญ และขอให้นาคทั้งหลายไปเที่ยวดูแลรักษา เงือก งู ที่เป็นบริวารแห่งท่านทั้งหลาย  อย่าได้ให้ขบกัดผู้คนที่ไม่ได้กระทำผิดจารีตประเพณีเดิม  จงช่วยปกปักรักษาพระพุทธศาสนาบ้านเมืองให้รุ่งเรืองเหมือนดังท่านนี้ และให้เขาทั้งหลายตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์ รักษากงจิตร์แก้วแห่งพระพุทธเจ้าด้วย

       ครั้งนั้น สุวรรณนาคได้ยินคำของเทวดากล่าวดังนั้นก็มีความยินดียิ่งนัก จึงแต่งให้นาค ๔ ตัวไปเป็นล่ามเมืองสำหรับพิจารณาดูคุณโทษแห่งราษฏรชาวเมืองทั้งหลาย  ควรกัดให้กัดควรกินให้กิน  ล่ามทั้ง ๔ ตัวนี้คือ กายโลหนาคหนึ่ง เอกจักขุนาคหนึ่ง สุคันธนาคหนึ่ง อินทจักกนาคหนึ่ง ทั้ง ๔ นี้เป็นล่ามเมือง

       เทวดาอินทสิริจึงให้เทวดาอินทผยองและเทวดาสราสนิททั้ง ๒ นี้เที่ยวไปตรวจดูตามตาแสง๑ เมื่อเห็นโทษอันผิดแห่งคนทั้ง
  • เชิงอรรถ ๑ “ตาแสง” เทียบตำแหน่งกำนัน
หลาย ให้บอกเล่าแก่ล่ามเมืองทั้ง ๔ พิจารณาให้แจ้ง แล้วจึงให้นาคที่รักษาศรีเมืองทั้ง ๕ แห่งแต่งตัดสินเทอญ

       ส่วนนางเทวดามัจฉนารีนั้น ให้ดูคุณและโทษบุรีจัน พร้อมด้วยข้าทาสบริวารทั้งสิ้น แล้วให้บอกแก่ล่ามทั้ง ๔ พิจารณาดูตามคุณและโทษนั้นๆ  เทวดาอินทสิรินั้นให้เป็นผู้คาดกฎเส้นไว้ แล้วให้เทวดาสราสนิทอ่านข้อกฎนั้นๆให้คนทั้งหลายฟังที่หาดทรายนั้น  เทวดาอินทสิริเจียมบางนั้นให้เป็นผู้รักษาน้ำมงคล  ส่าง๑สองหนองสามเทวดาและนาคที่รักษาพระนครนั้น เทวดา ๖ ตน นาค ๙ ตัว

       ขณะนั้นนาคและเทวดาทั้งหลายจึงบอกกล่าวแก่กันว่า ให้จดจำคาดกฎเส้นไว้จงทั่วกัน แล้วจึงพร้อมกันออกไปเนรมิตให้เป็นเวียงและต้าย๒ไม้จันทน์หอมรอบพระนครทั้ง ๔ ด้าน แล้วกลับไปที่อยู่แห่งตนๆ

       เมื่อบุรีจันได้ขึ้นเสวยราชบ้านเมืองแล้ว จึงให้คนทั้งหลายกรุบ่อน้ำที่ขุดไว้แต่ก่อนนั้นด้วยกระดานไม้ประดู่ แล้วสร้างมณฑปกวมบ่อน้ำนั้นไว้ และสร้างสะพานตั้งแต่พระนครข้ามน้ำบึงนั้นออกไปถึงบ้านเดิมด้วยไม้ประดู่  ที่บ้านเดิมของท่านนั้นได้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่ง พระอรหันต์จึงให้ชื่อว่า “วัดสวนอ้วยล้วย” แล้วสร้างวิหารขึ้นอีก ๒ หลัง ให้พระอรหันต์ป่าใต้ป่าเหนืออยู่  พระอรหันต์ ๒ องค์นี้ มาสั่งสอนพระภิกษุสงฆ์ที่วัดสวนอ้วยล้วยเสมอมิได้ขาด  บุรีจันสร้างปราสาท
  • เชิงอรรถ ๑ “ส่าง” บ่อน้ำ  ๒ “ต้าย” รั้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น