วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

ตำนาอุรังคธาตุ ๔



ตำนาอุรังคธาตุ ๔

พญานาคตัวนี้ เป็นนาคเทวดาที่มีฤทธิ์มาก พร้อมทั้งนาคตัวที่เป็นหลาน เทียรย่อมประกอบไปด้วยความโกรธ จักกระทำอันตรายแก่พระพุทธศาสนาบ้านเมืองในภายหน้า พระพุทธองค์ทรงเห็นเหตุ จึงเสด็จเวียนกลับคืนมาทรงสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์ เพื่อให้รักษาพระพุทธศาสนาบ้านเมือง

       ขณะเมื่อพระองค์สถิตที่ภูกูเวียน เปล่งพระรัศมีให้เข้าไปในเมืองนาคปู่เวียน  ขณะนั้นสุวรรณนาคได้เห็นพระรัศมี จึงออกมาจากแม่น้ำขึ้นไปอยู่บนยอดเขา พ่นพิศม์ออกมาเป็นควัน เขาลูกนั้นก็มืดมัวไปทั้งสิ้น  พระพุทธองค์ทรงเห็นดังนั้น ทรงเข้าเตโชกสิณเป็นเปลวไฟ ไปเกี่ยวพันสุวรรณนาค กระเด็นตกลงไปในน้ำปู่เวียน เปลวไฟก็ผุดแต่พื้นน้ำขึ้นมา ไหม้เมืองนาคตลอดไปถึงหนองบัวบานซึ่งเป็นที่อยู่แห่งพุทโธธปาปนาค หนองนั้นเป็นที่เกิดของนางอุษาแต่ก่อน นาคทั้งหลายพร้อมกันมาล้อมภูกูเวียนนั้นไว้

       ขณะนั้น พระศาสดาประทับกระทำสมณธรรมอยู่ ณ ที่นั้น นาคทั้งหลายจึงกระทำอิทธิฤทธิ เป็นเปลวไฟพุ่งขึ้นไปหาพระพุทธองค์ เปลวไฟนั้นก็พุ่งกลับคืนมาไหม้นาคทั้งหลายเหล่านั้น แล้วกลับบังเกิดเป็นดอกบัวบูชาพระศาสดา นาคเหล่านั้นจึงแวดล้อมพระพุทธองค์ไว้ เพื่อให้พุทโธธปาปนาคทำอิทธิฤทธิพังทะลายที่ประทับ  พระพุทธองค์ทรงเข้าปฐวีกสิณ ที่ประทับนั้นก็บังเกิดเป็นพระแท่นแข็งงดงามยิ่งนัก นาคทั้งหลายกระทำอิทธิฤทธิทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อทำลายพระแท่นและ

  • เชิงอรรถ –

องค์พระศาสดา ก็ไม่สามารถที่จะทำอันตรายพระศาสดาได้ มันซ้ำกระทำอิทธิฤทธิให้เป็นเปลวไฟเข้าไปทำลายอีก พระศาสดาทรงเข้าวาโยกสิณ เป็นลมพัดไฟกลับไปไหม้นาคทั้งหลายเหล่านั้น แล้วพระศาสดาก็เสด็จขึ้นไปบนอากาศ นาคทั้งหลายเห็นดังนั้น ก็กระทำอิทธิฤทธิโก่งหลังขึ้นไปเป็นหมู่นาค ตามล้อมพระศาสดาๆทรงนิรมิตให้หัวนาคทั้งหลายเหล่านั้นขาดตกลงมา นาคทั้งหลายเห็นดังนั้น มีความเกรงกลัวในพระศาสดายิ่งนัก

       พระศาสดาทรงรู้แจ้งดังนั้น ก็เสด็จกลับลงมาประทับ ณ ที่เก่า นาคทั้งหลายจึงพร้อมกันเข้าหาศาสดาๆจึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงบรรเทาเสียยังพยาธิต่อมฝีอันเจ็บปวด กล่าวคือหัวใจแห่งท่านทั้งหลาย ตถาคตจักรักษาให้หายยังพยาธินั้น  นาคทั้งหลายได้ฟังพระพุทธพจน์ดังนั้นมีใจชื่นบาน พร้อมกันเข้ามากราบแทบพระบาท

       พระศาสดาจึงตรัสเทศนาว่า ดูรานาคทั้งหลาย บุคคลผู้มีต่อมฝีบังเกิดขึ้นในหัวใจ กล่าวคือความโกรธ เทียรย่อมเสื่อมเสียจากประโยชน์ทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้ที่ไม่มีความโกรธ เทียรย่อมประจนแพ้แก่บุคคลผู้มีความโกรธ ฉันใด  พุทธวิสัยของตถาคตนี้ บุคคลทั้งหลายบมิอาจที่จะหยั่งถึง เป็นนิมิตรอันหนึ่ง อิทธิวิสัยของตถาคต ก็เป็นอัศจรรย์อันหนึ่ง  บุคคลในโลกนี้ไม่สามารถแพ้ฤทธิได้ เสมอด้วยสูท่านทั้งหลายกระทำยุทธกรรมต่อตถาคตอยู่ในกาลบัดนี้ และโลกนี้ย่อมเป็นที่เกิดแห่งสัตว์ทั้งหลาย มิรู้สิ้นแห่งความ

  • เชิงอรรถ –

ทุกข์ ก็เป็นอัศจรรย์หนึ่ง  กรรมวิบากอันสูท่านทั้งหลาย ได้เกิดมาเป็นนาคมีอายุสิ้นกัลป์หนึ่ง บมิได้เกิดเป็นอินทร์ เป็นพรหม เป็นเทวดาและมนุษย์แต่สักครั้ง และมิได้ดับยังทุกข์ เป็นอัศจรรย์อันหนึ่ง  สิ่งที่เป็นแก่นสาร สูท่านทั้งหลายมาใส่ใจว่ามิได้เป็นแก่นสาร สิ่งที่ไม่เป็นแก่นสาร สูท่านทั้งหลายกลับว่าเป็นแก่นสารเช่นนี้  กรรมวิบากที่สูท่านทั้งหลายหวงแหนแผ่นดิน และมีความโกรธแต่ปางก่อนนั้นและเป็นเหตุ จึงได้มาบังเกิดเป็นนาค

       สูท่านทั้งหลายจงพยายาม รักษาต่อมฝีที่บังเกิดขึ้นในหัวใจให้หายเป็นปกติ และอย่าให้ยึดถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ดังตถาคตได้กล่าวแล้วข้างต้นนั้นมายึดถือ มิใช่เป็นกรรมอันประเสริฐ และบมิได้เป็นมงคล  สิ่งที่ประเสริฐในโลกนี้ มีแต่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั้นและ

       ดูรา พุทโธธปาปนาค  ต่อแต่นี้ไป ท่านอย่าได้พานาคทั้งหลายเที่ยวทำลายพังบ้านเมืองดังแต่ก่อน  นาคทั้งหลายเหล่านั้น ก็ได้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์ จึงทูลขอเอายังรอยพระบาทไว้เป็นที่สักการบูชา  พระศาสดาทรงย่ำไว้ที่แผ่นหินในภูกูเวียน ใกล้ปากถ้ำที่สุวรรณนาคอยู่ แล้วพระศาสดาซ้ำทรงอธิษฐานรอยบาท ไว้ให้พุทโธธปาปนาคที่หนองบัวบาน ซึ่งเป็นที่เกิดของนางอุษาแต่ก่อนรอยหนึ่ง และอธิษฐานไว้ในแผ่นหิน ให้แก่นาคทั้งหลายที่มิได้ปรากฏชื่อนั้น ๒ รอย ในแผ่นหินโพนบกนั้นรอยหนึ่ง

  • เชิงอรรถ –

       แล้วพระศาสดา ก็เสด็จไปสู้ดอยนันทกังรี ซึ่งเป็นที่อยู่ของนางนันทยักษ์แต่ก่อน  มีนาคตัวหนึ่ง ๗ หัว ชื่อว่าศรีสัตตนาค เข้ามาทูลขอให้พระศาสดาทรงย่ำรอยพระบาทไว้ ณ ที่นั้น ทรงก้าวพระบาทข้ามตีนดอยก้ำขวาแล้วทรงแย้มพระโอฐ เจ้าอานนท์กราบทูลถาม ตถาคตตรัสว่า เราเห็นนาค ๗ หัวเป็นนิมิต ต่อไปภายหน้าที่นี้จักบังเกิดเป็นเมือง มีชื่อว่าเมืองศรีสัตตนาค และที่พญานาคได้ให้ความสวัสดีแก่พระยาจันทบุรี จักรกร้างเสื่อมศูนย์ไป

       พระยาทุคคตะ ที่ตถาคตได้พยากรณ์ไว้แต่ก่อนนั้นจักได้มาเสวยราชสมบัติ ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองในเมืองนี้ แต่เป็นผู้ประกอบไปด้วยกามราค ทำโทษแก่ตนเอง ตายก็จักได้ไปตายต่างประเทศ พระพุทธศาสนาบ้านเมืองในที่นี้ก็จักเสื่อมศูนย์ไป  พระยาจันทบุรีพร้อมด้วยท้าวพระยา จักได้เถราภิเษกพระสังฆเถระให้เป็นพระสมณราชา เป็นใหญ่ทางฝ่ายพระศาสนาในเมืองจันทบุรี พระพุทธศาสนากลับมารุ่งเรืองในพระนครนี้สืบต่อมา

       ผิว่า ตถาคตไว้รอยบาทบนดอยนันทกังรีนี้ ต่อไปภายหน้าสถานที่นี้จักเสื่อมศูนย์ไป  พระพุทธศาสนาบ้านเมืองก็ไม่บังเกิดขึ้นในที่นี้  ดอยนันทกังรีนี้ จักเป็นที่หวงแหนและเป็นที่เที่ยวไปแห่งพญาศรีสัตตนาค ด้วยเหตุนี้ ตถาคตจึงไม่ย่ำรอยบาทไว้  เมื่อพญาศรีสัตตนาคได้ยิน จึงสมมุติดอยนันทกังรีนั้นว่าเป็นหงอนแห่งตน

  • เชิงอรรถ –

ถวายให้เป็นที่ตั้งพระพุทธศาสนาในภายหน้า

       พระพุทธองค์ จึงเสด็จลงไปไว้รอยพระบาท ที่แผ่นหินที่จมอยู่ในกลางแม่น้ำเบื้องซ้ายดอยนันทกังรี ซึ่งมนุษย์ทั้งหลายไม่สามารถจะมองเห็นได้ แล้วพระศาสดาจึงเสด็จขึ้นไปบนดอยนันทกังรี อธิษฐานให้เป็นรอยเกิบ๑บาททับหงอนนาคไว้ เพื่อมิให้ท้าวพระยาในเมืองนั้นประกอบการยุทธกรรม จักแพ้พระพุทธศาสนาบ้านเมือง แล้วพระศาสดาก็เสด็จกลับมาสู่เชตะวันอารามดังเก่า เป็นอันสิ้นข้อความปาทลักษณนิทานแต่เท่านี้

       อยู่มาในกาลครั้งหนึ่ง หมูง้วนก็มาถึงแก่พระพุทธองค์ๆจึงตรัสถามพระอานนท์เป็นอุบายว่า  ดูราอานนท์ วิหารหลังเก่าเราจะปฏิสังขรณ์อยู่ไปก่อนดีหรือๆว่าไม่ดี  พระอานนท์ทูลว่าสร้างใหม่อยู่ดี  แล้วพระศาสดาจึงตรัสว่า บัดนี้ตถาคตจักเข้าสู่นิพพาน อานนท์เห็นว่าเมืองใดเป็นเมืองใหญ่ แล้วพระศาสดาจึงตรัสว่า ตถาคตจักไปนิพพานในเมืองกุสินาราย เพื่อโปรดยังโสตถิยพราหมณ์ๆคนนี้ เมื่อครั้งก่อนได้เอาหญ้าคา ๘ กำมาปูให้ตถาคตนั่ง แล้วก็บังเกิดเป็นแท่นแก้วเป็นที่ตรัสรู้ และเมื่อครั้งตถาคตได้เป็นพระยาสุทัสนจักรวรรติราช เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองนั้น  กงจักรแก้วมณีโชติก็บังเกิดขึ้นในเมืองนั้น  เมืองกุสินารายนี้ เป็นที่นิพพานแห่งพระ

  • เชิงอรรถ ๑ รองเท้า

พุทธเจ้าทั้งหลาย ในระหว่างต้นไม้รัง

       เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว  ใครผู้ใดมีความระลึกถึงตถาคต เอาแก่นไม้รังที่ตถาคตบริโภคนั้นมาสร้างเป็นรูปตถาคตไว้ เมื่อบุคคลผู้นั้นยังท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏสงสาร สามารถที่จะปิดเสียซึ่งประตูอบายได้ ด้วยเหตุว่า เป็นพุทธบริโภค ๒ ชั้น  หรือว่าเอาแก่นไม่ปาแป้งที่ตายแล้ว มาสร้างเป็นรูปตถาคตก็ฉันเดียวกัน เหตุว่าไม้ทั้ง ๒ นี้ ตถาคตได้บริโภค เป็นต้นไม้อันประเสริฐ  พระศาสดาตรัสดังนี้ ก็ยังฉันหมูง้วน แล้วจึงเสด็จไปเมืองกุสินาราย ทรงอาเจียนออกเป็นโลหิต  พระอานนท์เห็นดังนั้น จึงไปแสวงหาน้ำมาถวายพระศาสดา น้ำในที่นั้นๆก็ขุ่นเป็นตมไปทุกแห่ง  ไม่ได้น้ำที่ใสมาถวายพระศาสดา  ทันใดนั้น พระอานนท์จึงกราบทูลพระศาสดาๆเมื่อทรงทราบ จึงตรัสกับพระอานนท์ว่า  อานนท์ เธออย่าได้ไปแสวงหาเลย  ถึงเธอจะไปหาในที่ใดๆน้ำที่ใสอยู่แต่ก่อนนั้นก็จักขุ่นเป็นตมไปสิ้นทุกแห่ง

       ดูกรอานนท์ เมื่อชาติก่อนนั้น ตถาคตได้เป็นพ่อค้าเกวียนเดินตามทางมา งัวอยากกินน้ำๆใสมีอยู่ในที่ไกล น้ำขุ่นมีอยู่ในที่ใกล้ ความเกียจคร้านพร้อมด้วยความเร่งร้อนจะไปข้างหน้า จึงได้นำงัวไปกินน้ำขุ่นในที่ใกล้  เวรอันนั้นไป่สิ้น จึงตามมาสนองในบัดนี้  พระศาสดาตรัสแก่อานนท์ดังนี้ ก็เสด็จไปไสยาศน์ในระหว่างไม้รัง

       ขณะนั้น พระยาอินทร์ทราบในเหตุนั้นๆก็เสด็จลงมาเพื่อทำ

  • เชิงอรรถ –

สักการพระศาสดาๆตรัสกับพระยาอินทร์ว่า  ดูรา อินทาธิราช ท่านอย่าได้ลืมไชยกุมารที่เขาลอยแพไปเมืองลังกานั้นเสีย แล้วตรัสกับเจ้าอานนท์ว่า  อานนท์ ธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่ตถาคตเทศนาไว้นั้น เมื่อตถาคตนิพพานไป ตถาคตจักไว้พระพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ พระวรรษาไว้เป็นที่สักการบูชา  ธรรมนั้นแลจักเป็นครูเป็นอาจารย์สั่งสอนแก่ท่านทั้งหลาย เสมอด้วยตถาคตยังทรมานอยู่  บุคคลผู้มีปัญญาได้ปฏิบัติตามธรรมที่ตถาคตสั่งสอนไว้หรือสร้างสถูปเจดีย์วิหารและรูปตถาคต ตั้งไว้สักการบูชา บำเพ็ญศีลทาน  แม้ปรารถนาเอาโลกิยะโลกุตตระ ก็จักได้สมความปรารถนาทุกประการ ประดุจดังไฟอันดับแล้ว บุคคลผู้มีปัญญาเอาไม้ที่แห้งมาสีกันเข้า เพื่อให้เกิดเป็นไฟ

       อีกนัยหนึ่งว่า เป็นประดุจดังบุคคลเอาแก้วสุริยะกันตะ มารอแสงตะวัน เพื่อให้เกิดเป็นไฟติดยังชนวน แล้วก็จุดกันต่อๆไปเป็นไฟกองใหญ่ เพื่อให้สำเร็จในกิจนั้นๆ

       อีกนัยหนึ่ง เปรียบประดุจดังลำอ้อยมีโคนอันขาดแล้ว  บุคคลปรารถนาในรถอันหอมหวาน เอามาชำไว้ให้แตกออกเป็นหน่อเป็นกอเป็นลำขึ้น มีรสอันหวาน มีใบก็คม ฉันใด  ถึงแม้ตถาคตจะนิพพานไปแล้วก็ตาม  พระพุทธศาสนาก็จักตั้งอยู่เป็นปกติตลอด ๕,๐๐๐ วรรษา

       พระพุทธศาสนานี้ เปรียบประดุจดังสระน้ำตั้งอยู่เหนือแผ่นดิน

  • เชิงอรรถ –

ถึงแม้น้ำจะเหือดแห้งไปก็ตาม  เมื่อถึงฤดูกาลฝนตกลงมามีน้ำขึ้นในสระนั้น  พรรณดอกไม้ทั้งหลายในสระนั้น เป็นต้นว่า ดอกบัวหลวงและบุณฑริก ก็จักบังเกิดขึ้นในสระนั้น ฉันใด  พระพุทธศาสนาก็ฉันนั้น  เมื่อบุคคลมีความเพียรกระทำกรรมฐาน ก็จักได้ถึงยังมรรคผลนั้นๆโดยลำดับ

       ผิว่าไป่ได้ถึงในชาตินั้น  เมื่อจุติไปก็จักได้ไปเกิดเป็นเทวดา ได้สดับธรรมเทศนา จากธรรมกถึกเทวบุตร ก็จักได้ถึงในสำนักนั้น  ท่านทั้งหลายจงกระทำกรรมฐานอย่าได้ขาดเทอญ

       ดูกรอานนท์  บุคคลบูชารูปตถาคต และศาสนาที่ตถาคตตั้งไว้ด้วยดอกไม้ธูปเทียนนั้น ชื่อว่ามิได้บูชา  ส่วนบุคคลบูชาได้ชื่อว่าบูชานั้น ตถาคตจะสั่งเธอไว้  ภิกษุ สามเณร หรือคฤหัสถ์ก็ตาม ที่ปฏิบัติถูกต้องตามคำสั่งสอนของตถาคต ถึงแม้ว่าไม่มีเครื่องสักการก็ตาม เป็นแต่เพียงมีจิตต์ใจเลื่อมใสเชื่อในคุณพระรัตนตรัย ไหว้นบแต่มือเปล่าๆก็ได้ชื่อว่าบูชาอันประเสริฐยิ่งกว่าประเสริฐ  เมื่อพระศาสดาตรัสสั่งกับพระอานนท์ดังนี้แล้ว จึงทรงอธิษฐานว่า เมื่อใดกัสสปยังไป่มารับเอาอุรังคธาตุของตถาคตไปไว้ ที่ดอยกับปนคิรี ไฟธาตุอย่าได้ไหม้สรีระตถาคต  ทรงอธิษฐานแล้วก็เสด็จเข้าสู่นิพพาน

       ครั้งนั้น กษัตริย์มัลลราชทั้งหลาย ได้ทราบซึ่งเหตุว่าพระศาสดาเสด็จเข้าสู่พระนิพพาน ก็พร้อมกันมากระทำสักการบูชาโสรดสรงพระบรมศพ แล้วเชิญพระบรมศพเข้าพระหีบทอง ประดิษฐานไว้

  • เชิงอรรถ –

บนเชิงตะกอน แล้วทำการถวายพระเพลิงเป็นหลายครั้งหลายหน เพลิงก็ไม่สามารถจะทำลายพระบรมศพได้  ทันใดนั้นพระมหากัสสปเถระก็เสด็จมาถึงแล้วเข้าไปกระทำสักการ  ขณะนั้น พระศาสดาทรงกระทำพระปาฏิหาริย์ ให้พระบาทเบื้องขวายื่นออกมาจากพระหีบทอง เพื่อให้พระมหากัสสปเถระกระทำสักการ

       ทันใดนั้น พระอุรังคธาตุที่หุ้มห่อด้วยผ้ากัมพลก็ปาฏิหารย์ เสด็จออกจากพระหีบทอง มาประดิษฐานอยู่เหนือฝ่ามือเบื้องขวาแห่งพระมหากัสสปเถระอัครสาวก  ทันใดนั้น ไฟธาตุก็บังเกิดลุกเป็นเปลวขึ้นทำลายพระสรีระของพระศาสดา  ส่วนพระบรมธาตุกระโบงหัว๑นั้น ฆฏิการพรหมนำเอาไปประดิษฐานไว้ในพรหมโลก พระธาตุแข้วหมากแง๒ โทณพราหมณ์เอาซ่อนที่มวยผม พระอินทร์นำเอาไปประดิษฐานไว้ในชั้นดาวดึงส์ พระธาตุกระดูกด้ามมีด๓นั้น พญานาคนำเอาไปประดิษฐานไว้ในเมืองนาค  พระบรมธาตุที่ออกพระนามมาข้างบนนี้ มิได้เป็นอันตรายด้วยเพลิง ยังปกติตามเดิม  ส่วนพระบบรมธาตุนอกนั้นย่อยยับไปเป็น ๓ ขนาด  ขนาดใหญ่เท่าเม็ดถั่วกวาง๔  ขนาดที่สองเท่าเมล็ดข้าวสารหัก  ขนาดที่สามเท่าเมล็ดพรรณผักกาด  พระยาอชาตสัตรุ นำเอาไปประดิษฐานไว้ในถ้ำสัตตปัณคูหา

  • เชิงอรรถ ๑ “พระบรมธาตุกระโบงหัว” พระอุตมางคสิโรตม์  ๒ “พระธาตุแข้วหมากแง” พระเขี้ยวแก้ว  ๓ “กระดูกด้ามมีด” พระรากขวัญ  ๔ “เมล็ดถั่วกวาง” ถั่วแตก

       ครั้งนั้น พระมหากัสสปเถระพร้อมด้วยพระอรหันต์ทั้ง ๕๐๐ องค์ นำเอาพระอุรังคธาตุไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า แต่จะนำไปพักที่เมืองหนองหานหลวงนั้นก่อน  ครั้งนั้น ท้าวพระยาทั้งหลาย มีพระยาจุลณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนคร พระยานันทเสน พระยาสุวรรณภิงคาร และพระยาคำแดง รู้ข่าวว่า พระมหากัสสปเถระนำเอาพระอุรังคธาตุของพระศาสดามาประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้าดังนั้น  พระยาจุลณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนคร พระยานันทเสน ทั้ง ๓ พระองค์พร้อมด้วยไพร่พลโยธา เสด็จมาประทับและพักฟื้นที่ฝั่งแม่น้ำธนนทีใต้ปากเซที่นั้น จึงตรัสสั่งให้ไพร่พลโยธาทั้งหลาย ๕๐๐ คน สกัดหินมุกด์ มาสร้างอารามไว้คอยท่าพระมหากัสสปเถระ

       ส่วนเมืองหนองหานหลวงและเมืองหนองหานน้อยนั้น มีพระยาสุวรรณภิงคารและพระยาคำแดงทั้ง ๒ องค์เป็นประธาน แล้วจึงตรัสสั่งให้ไพร่พลโยธาทั้งหลาย สะกัด หินมุกด์ หินแลง มากองไว้เป็นกองๆ สำหรับก่ออุโมงค์บนยอดดอยแท่น ที่พระศาสดาเสด็จมาประทับแต่เมื่อครั้งก่อนโพ้น  ส่วนหินที่จะก่อนั้น  พระองค์ตรัสสั่งให้เอาสิ่วเจาะให้เป็นรูสำหรับเข้าไลหางปลาทุกๆก้อน  ไพร่พลโยธาทั้งหลาย เมื่อได้ยินรับสั่งดังนั้น จึงพูดกันขึ้นเป็นเชิงแข่งขันพะนันว่า ฝ่ายชายชาวเมืองหนองหานหลวง จะก่ออุโมงค์บนดอยแท่น ฝ่ายหญิงก็ให้ก่ออุโมงค์ขึ้นอีกแห่งหนึ่งในที่นั้นเหมือนกัน แข่งขันกันกับฝ่ายชาย และให้ข้อสัญญากันไว้ทั้ง ๒ ฝ่ายว่า  นับตั้งแต่วันรุ่งขึ้นพอเห็นลายมือ ให้

  • เชิงอรรถ –

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น