วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

ตำนานอุรังคธาตุ ๑๐


ตำนานอุรังคธาตุ ๑๐

น้ำบ่อและน้ำสระพังที่เป็นมงคลควรเอา หากเป็นจารีตน้ำที่พญานาคให้บ่ห่อนมีสักเทื่อ๑

       แม่น้ำใหญ่และแม่น้ำน้อยทั้งหลายที่ใดก็ดี หลางมีอยู่ทุกแห่ง แม้ไม่ได้ก็เอามาหดสรง  พราหมณ์ทั้งหลายจึงว่า ที่จะเอามาสระสรงราชาภิเษกให้เป็นท้าวพระยาตามประเพณีวงศานั้น น้ำที่จะเอามานั้นก็ควร  แต่ส่วนเจ้าบุรีจันนี้คือหน่อพุทธังกูร ได้มาเกิดในตระกูลพ่อไร่พ่อนา เราทั้งหลายอยากจะได้น้ำมงคลที่พญานาคเนรมิตไว้นั้นมาสระสรง จะล้างเสียยังกลิ่นไอ เพื่อให้ประเสริฐในภายหน้าตามอุปเทศด้วยเหตุนี้  ชาติพราหมณ์ทั้งหลายนี้ เทียรย่อมรู้จบแล้วยังคัมภีร์ลักษณะทั้งมวล  ฉะนี้จึงรู้ว่า เจ้าบุรีจันนี้เป็นหน่อพุทธังกูร  คนทั้งหลายจึงกล่าวกับพราหมณ์ว่า หน่อพุทธังกูรนี้ เทียรย่อมเกิดขัติยตระกูลและพราหมณ์ตระกูลดอกหนา

       พราหมณ์ทั้ง ๕ ได้ยินดังนั้น จึงนำเอามายังปัญหาโคลงมากล่าวให้คนทั้งหลายฟังว่า  ยังมีสระน้ำอันหนึ่ง เปิดน้ำออกเสียให้แห้ง ครั้นถึงฤดูกาลฝนตก น้ำเข้ามาขังอยู่ในสระนั้น บัวนั้นก็บังเกิดขึ้น มีดอกอันสวยงามด้วยเหตุใด  คนทั้งหลายจึงตอบว่าบัวที่เกิดขึ้นในสระที่นั้นก็ด้วยเหตุแห่งน้ำ  พราหมณ์จึงถามว่า เหตุไรดอกบัวจึงเกิดด้วยน้ำนั้นเล่า  คนทั้งหลายตอบว่าน้ำอาศัยตมๆอาศัยซึ่งน้ำสังโยคกัน

  • เชิงอรรถ ๑ “น้ำที่พญานาคให้บ่ห่อนมีสักเทื่อ” ในที่นี้หมายความว่า น้ำที่พญานาคเนรมิตหรือกระทำไว้นั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายยังไม่เคยเห็นว่ามีเลย

เข้าแล้ว บัวจึงได้เกิดมีดอกออกมา  พราหมณ์จึงกล่าวว่า ตมและน้ำนั้นมีคันธรสหรือไม่มีเล่า  คนทั้งหลายจึงตอบว่าตมและน้ำไม่มีคันธรสอะไร มีคันธรสแต่ดอกบัวเท่านั้นแหละ

       พราหมณ์ทั้ง ๕ นั้นจึงกล่าวว่า  ตมและน้ำนั้นเป็นประดุจดังบิดาและมารดาของเจ้าบุรีจันซึ่งเกิดในตระกูลพ่อไร่พ่อนานั่นแหละ  ชาติที่อันบุคคลผู้ประเสริฐแล้ว แม้จะเกิดในที่ใดๆก็ตาม ที่เกิดนั้นแลเป็นที่ประเสริฐ  แก้วลูกประเสริฐก็เทียรย่อมเกิดแต่หิน  ม้าอาชาไนยนั้นก็เทียรย่อมเกิดแต่ลา  เมื่อบุคคลเกิดมาในตระกูล ๒ ตระกูล คือขัติยตระกูลแลพราหมณตระกูลนั้น จะถือว่าเป็นหน่อเนื้อพุทธังกูรไปทั้งสิ้นนั้นก็หามิได้

       ถ้าอยากจะรู้ว่าใช่หรือไม่ใช่นั้น พราหมณ์ทั้งหลายที่รู้จบไตรเพททั้ง ๓ เขาจึงได้แกวดกฎหมายไว้ให้บุคคลทั้งหลายแจ้งว่า  บุคคลที่เกิดในตระกูล ๒ ตระกูลดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ตามที่เขาได้รู้มาแล้วว่า ต้องเป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในการกุศล เป็นต้นว่าให้ทานรักษาศีลและปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้านั้นแหละ จึงจะได้สมความประสงค์  เรื่องนี้ ถ้าอยากจะรู้ให้แจ้งก็มีอยู่ในสูตร์และนิยายต่างๆให้ไปดูเอาเทอญ

       ใครท่านว่าใช่หน่อพุทธพงศ์ ก็ควรเชื่อได้ในคัมภีร์นรลักษณ์มหาบุรุษเป็นต้นว่า “นาติ ทีฆงฺ  นาติ รสฺสงฺ  นาติ กณฺหงฺ  นาติโจทาตงฺ  นาติ ถุนาติ กีสงฺ” อธิบายความว่า “สูงบ่สูงพ้นประมาณ ต่ำบ่ต่ำพ้นประมาณ  ดำบ่ดำพ้นประมาณ ขาวบ่ขาวพ้นประมาณ

  • เชิงอรรถ –

พีบ่พี๑พ้นประมาณ ผอมบ่ผอมพ้นประมาณ”  ลักษณะที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ได้แก่ลักษณะของบุรีจัน  ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น ถ้าอยากจะรู้ให้แจ้งให้ไปดูในคัมภีร์ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น

       พราหมณ์ทั้งหลายเท่ารู้แต่มหาปุริสลักขณะชาติอันเดียว บ่รู้ว่าบุคคลผู้เป็นลักษณะสิ่งนี้สิ่งนั้นจึงได้ลักษณะอย่างนี้อย่างนี้ไป่รู้ ที่จะรู้ได้นั้นมีแต่พระศาสดาองค์เดียวเท่านั้นที่จะรู้  ในที่สุดบุรีจันมีลักษณะถูกต้องตามคัมภีร์มหาปุริสลักษณะแท้ทีเดียว

       ขณะนั้นเป็นเวลาจวนค่ำ  พราหมณ์ทั้งหลายจึงพร้อมกันมาพักนอนอยู่ในหอหลวง  ในคืนนั้นพอเวลาใกล้จะรุ่ง เทวดาอินทสิริเจียมบางจึงนำเอาหลาบคำ๒ ๒ หลาบๆหนึ่งเปล่า อีกหลาบหนึ่งนั้นจารึกอักษรไว้ในที่นั้น แล้วนำมาใส่ไว้ในถุงหมากของมังคลพราหมณ์ และในคืนนั้นพราหมณ์ทั้ง ๕ ฝันเห็นเทวดาผู้ชาย ๕ ตน กับนางเทวดาอีกคนหนึ่ง พญานาค ๙ ตัว มาบอกว่า หลาบคำที่เปล่านั้นให้พราหมณ์ทั้ง ๕ ปงราชนามบุรีจันเทอญ

       ถ้าท่านทั้ง ๕ อยากรู้แจ้งในธรรมวงศาโคตรที่รักษาอยู่ในขันธสันดานบุรีจันและเมืองนี้จะตั้งอยู่นานเท่าใด ให้ดูในหลาบคำนั้นเทอญ

       ครั้นรุ่งสว่างมาพราหมณ์ทั้ง ๕ ตื่นจากที่ ออกมาล้างหน้าแล้วก็กลับเข้าไปประชุมแก้ฝันให้กันฟัง  ในคำฝันนั้นก็ตรงกันทุกประการ

  • เชิงอรรถ ๑ “พี” ในที่นี้หมายความว่า อ้วน  ๒ “หลาบคำ” สุพรรณบัฏ 


แล้วพราหมณ์ทั้ง ๔ ก็ลามังคลพราหมณ์ไป  ทันใดนั้นมังคลพราหมณ์จึงแก้ถุงหมากออกเพื่อจะกินหมาก จึงได้เห็นหลาบคำทั้ง ๒ จึงอ่านดูในหลาบคำนั้นรู้เรื่องตลอดแล้ว จึงออกไปตามพราหมณ์ทั้ง ๔ นั้นเข้ามาในที่สงัด  แล้วจึงเอาหลาบนั้นให้ไชยพราหมณ์อ่าน และจารึกในหลาบคำนั้นว่า  อินทสิริเจียมบางผู้รักษา “ส่างสอง หนองสาม ล่ามสี่ ศรีห้า”

       “เทวตา สฏฺฐ นวนาคา อินฺทสิริ มาตา ปรสิทฺธิสกฺก เทวปิตา รตนเกสิภาตา อินฺทผยอง สขา สราสนิท ปุตโต มจฺฉนารี ภริยา ปริคณทสฺส ขนฺธสนฺตาเน ติฏฺฐติ กายโลหนาโค เอกจกฺขุ สุคนฺโธ อินฺทจกฺโก นาควินิจฉยฺโย เสฏฺเชยฺยนาโค สหสฺสพโล สิทฺธิ โภโค คนฺธพฺพ สิริวฑฺฒโน นาโค รกฺขติ นครํ ปุรีจนฺทสฺสฏฺ ฐิโตทติ”  พราหมณ์ทั้ง ๕ แปลได้ความว่า  คำฝันนี้เป็นอัศจรรย์ เทวดาเอามาให้พราหมณ์ทั้ง ๕ เพื่อให้นำไปเฝ้าบุรีจัน  จึงพร้อมกันดูลักษณะธรรมวงศาโคตร เห็นธรรม ๖ ตัวตั้งอยู่ในสันดาน

       จึงกล่าว ธรรมสังฆาโคตรบุรีจันให้แจ้งแก่คนทั้งหลาย มีท้าวคำบางและมเหษีเป็นต้น “ว่าศีลที่เจ้าบุรีจันได้รักษานั้นเป็นประดุจดังแม่เทวดา อินทสิริจึงได้รักษาเพื่อเหตุนั้น ที่เจ้าบุรีจันเรียนเอาศิลปะที่ดีในสำนักพระอรหันต์ เพิ่มเติมศิลปะเดิมที่มีอยู่นั้น เทวดาปะระสิทธสักกเทวะเป็นพ่อรักษา  มีใจอันขาวผ่องในกุศลธรรม เทวดารัตนเกสีเป็นพี่ชายรักษา  มีใจเมตตากรุณาแก่คนทั้งหลายนั้น เทวดา

  • เชิงอรรถ –


อินทผยองเป็นสหายรักษา  มีใจอดทนนั้น เทวดาสราสนิทเป็นลูกชายรักษา  มีใจอันเลื่อมใสในการบริจาคทานนั้น นางเทวดามัจฉนารีเป็นเมียบุรีจันรักษา  เพื่อเหตุนี้แหละพราหมณ์ทั้ง ๕ เห็นพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ตั้งอยู่ในขันธสันดานบุรีจัน

       และที่มีใจรู้ในคุณ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้านั้น นาคทั้ง ๔ ตัวเป็นผู้รักษา มีกายโลหะเป็นต้น และเป็นผู้วินิจฉัยพิจารณาคุณและโทษ  นาค ๕ ตัวที่รักษาศรีเมืองนั้น มีเสฏฐไชยนาคเป็นต้น และเป็นใหญ่รักษาบ้านเมืองให้มั่นคงเป็นศรีเมือง

       ท้าวพระยาองค์ใดไป่มีธรรม ๖ ตัว อยู่ในขันธสันดานและไป่รู้คุณ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า ถึงจะมีเชื้อชาติวงศานับหมื่นนับแสน ก็ได้ชื่อว่าหาวงศาเชื้อโคตร์บ่มิได้ เหตุพระพุทธเจ้าทรงเทศนาไว้ว่า คนทั้งหลายที่ประเสริฐในโลกนี้มี ๒ คนคือ “ปุญฺวา ผู้มีบุญหนึ่ง” “ปญฺญวา ผู้มีปัญญาหนึ่ง”  ๒ คนนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่าเป็นผู้มีบุญและมีปัญญารู้ธรรมอันประเสริฐ  บุญในที่นี้ บุรีจันถูก “เสฏฐรา”

       ครั้งนั้น คนทั้งหลายได้ยินคำพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวลักษณะในตนและนอกตนของบุรีจัน  ว่าเป็นหน่อพุทธังกูรดังนั้น ก็มีความชื่นชมยินดีให้เสียงสาธุการยิ่งนัก  แล้วพราหมณ์ทั้ง ๕ จึงให้เชื้อสายฝ่ายบิดาบุรีจัน เอาไม้มะเดื่อมากระทำเตียง และให้เชื้อสายฝ่ายมารดานางอินทสว่างลงฮอด เอาไม้ตาลมากระทำเป็นลินสรง  พราหมณ์ทั้ง ๕

  • เชิงอรรถ –

ก็สาธยายตามเพทที่ตนได้เรียนจบมาแล้ว  ไชยพราหมณ์จึงนำบุคคลที่เป็นเชื้อวงศ์ท้าวคำบางและเชื้อวงศ์ฝ่ายมารดาบุรีจัน ไปประทักษิณหาน้ำมงคล

       ไชยพราหมณ์ออกจากเวียงไม้จันทน์ไป เป็นระยะทาง ๓,๐๐๐๑ ทั้ง ๔ ด้าน จึงไปพบกงจิตร์แก้วพระพุทธเจ้า ที่ริมหนองคันแทเสื้อน้ำ จึงได้หมายไว้ว่าเป็นเจดีย์อันประเสริฐจักเกิดมา ณ ภายหน้า แล้วไชยพราหมณ์จึงวกเวียนไปทางใต้ ข้ามแม่น้ำของวกเวียนไปทางขวา จึงได้พบลินน้ำที่พญานาคคุ้ยควักไว้แต่ก่อน ๒ ลิน  จึงกระทำการบวงสรวงสาธยาย  เทวดาประสิทธิสักกเทวะและเทวดารัตนเกสี จึงบอกชื่อของตนทั้ง ๒ แก่ไชยพราหมณ์ ว่าเป็นผู้รักษาน้ำมงคลอยู่ที่นี้

       ไชยพราหมณ์ได้ทราบความดังนั้น จึงบอกแก่พราหมณ์ทั้ง ๔ มีมังคลพราหมณ์และสิทธิพราหมณ์ทั้ง ๒ ให้ไปนำเอาลินที่ออกไปข้างนอกเมืองซึ่งเทวดาปรสิทธิอยู่รักษานั้นได้มา แล้วจึงอาราธนาบุรีจันขึ้นนั่งบนเตียงไม้มะเดื่อ แล้วเอาหอยสังข์ตัวผู้ ตักน้ำใส่ลินสระสรงราชาภิเษกและปงราชนามบุรีจัน ตามหลาบคำอันเทวดาให้นั้นมีนามว่า “พระยาจันทบุรีปะระสิทธิสักกะเทวะ”

       จุลมังคลพราหมณ์และจิตตวัฒนพราหมณ์ พราหมณ์ทั้ง ๒ จึงไปนำเอาน้ำลินที่ออกมาก้ำในเมืองนั้นมา แล้วจึงเอาหอยสังข์ตัวเมียตักน้ำ สรงนางอินทสว่างลงฮอดให้ป็นราชเทวี  ให้ปงราชนามตาม

  • เชิงอรรถ ๑ ต้นฉบับบอกแต่เพียงว่า ๓,๐๐๐ ไม่ทราบว่าเป็นเส้นหรือวาแน่

หลาบคำอันพระยาสุมิตตธรรมให้แก่บุรีจันนั้นมีนามว่า “อินทสว่างรัตนเกสีราชเทวี”  เมื่อเสร็จการราชาภิเษกแล้วจึงกระทำการบา๑สี พราหมณ์ทั้ง ๕ จึงถวายพระพรพร้อมด้วยหลาบคำคาถาโฉลกที่เทวดาให้พระยาจันทบุรีทรงอ่าน แจ้งในคุณแห่งพราหมณ์กับทั้งเทวดา พระองค์ทรงกระทำสักการบูชาและตรวจน้ำอุทิศส่วนกุศลไปถึงเทวดาและนาคทั้งหลายเป็นปกติ

       ขณะนั้นไชยพราหมณ์จึงบอกกับพราหมณ์ทั้ง ๔ ว่า ได้พบกงจิตร์แก้วพระพุทธเจ้า  พราหมณ์ทั้ง ๔ จึงทูลขอเอากำลังด้วยพระยาจันทบุรีได้แล้ว  ไชยพราหมณ์จึงพาไปสู่ริมหนองคันแทเสื้อน้ำ กระทำสักการบูชา แล้วจึงเอาหินมุกด์ ๔ เหลี่ยมมาจารึกบอกไว้ว่า  ที่นี้พระพุทธเจ้ามายืนทำนายว่า พระยาองค์ชื่อว่าศรีธรรมาโศก จักก่อแรกเจดีย์ประเสริฐ  พราหมณ์ทั้งหลายมาราชาภิเษกบุรีจัน ให้เป็นพระยาเสวยราชสมบัติบ้านเมือง ที่พญานาคมาก่อแรกไว้ที่หาดทรายนั้นได้เห็น จึงได้จารึกหินฝังหมายไว้ให้แจ้ง  พราหมณ์ทั้ง ๕ จึงให้คนทั้งหลายคัดเอาตำนานนั้นไว้ และว่าอย่าให้สร้างเวียงโลมเต็งกงจิตร์แก้วที่นั้น เหตุว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงไว้ยังกงจิตร์แก้ว เต็งโลมนครศาสนาทั้งมวล

       พราหมณ์ทั้ง ๕ จึงกล่าวเป็นโฉลกนครไว้ว่า  “นครเจดีย์ท่าวหนึ่ง” “นครต่าวพลคืนหนึ่ง” นครขนเหม้นหนึ่ง” “นครส่วนซะเด็นหนึ่ง” “นครอวนเอาเข็ญหนึ่ง” “นครเย้าเข็ญมาหนึ่ง”

  • เชิงอรรถ ๑ “บาสี” สมโภช

“นครพาราสูรหนึ่ง” “นครจาตุทีปหนึ่ง” “นครมรรคาหนึ่ง” “นครราชาทรงศักดิ์หนึ่ง” “นครอินทาตั้งหนึ่ง” “นครจักราวุธหนึ่ง” “นครอุตตโมหนึ่ง” “นครโสฬสชมพูหนึ่ง”

       เวียงอันใดส่วย๑ใต้เป็นรูปดังนี้ชื่อว่า “นครเจดีย์ท่าว”  สร้างพระพุทธศาสนารุ่งเรืองแต่ทีแรก นานไปก็จะรกร้างเสียแก่นักปราชญ์บัณฑิตย์มากนัก,  เวียงส่วยเหนือดังนี้ชื่อว่า “นครต่าวพลคืน” กระทำสงครามบ่ลุ๒ ถึงแม้ว่าอยู่ก็แพ้ผู้ใหญ่   เวียงรูปนี้ชื่อว่า “นครขนเหม้น” อยู่เทียรย่อมทะเลาะวิวาทผิดเถียง รบราฆ่าฟันซึ่งกันและกันมิได้ขาด  วียงรูปนี้ชื่อว่า “นครส่วนซะเด็น” อยู่ย่อมฉิบหายแล  เวียงรูปนี้ชื่อว่า “นครอวนเอาเข็ญ” หรือชื่อว่า “นครเย้าเข็ญมาเวียง” ๒ อันนี้ย่อมเป็นพยาธิเต้า๓ไข้เต้าหนาว  เวียง ๔ อันนี้ชื่อว่า “นครพาราสูร” เหตุว่าเป็นรูปรอยจิตร์แก้ว พญานาคบ่คูนคงให้เป็นดงเป็นเหล่าเผ่าเสียผี  ถ้าจะตั้งเวียงสำหรับทำการสงครามแล้วเป็นดีที่สุดมีชัยชนะ  อยู่อย่าให้ถึงขวบปีให้ย้ายไปเสียที่อื่น  เวียง ๔ อันนี้ชื่อว่า “นครวินาสแล”  เวียงรูปนี้ชื่อว่า “นครจตุรทิศ” ทุกกีบก้ำมาส่งส่วยเงินคำ  เวียงรูปนี้ชื่อว่า “นครมรรคา” พระพุทธศาสนาจักรุ่งเรือง ต่างประเทศก็จักเข้ามาสู่สมภาร นครราชาทรงศักดิ์นั้นรุ่งเรืองด้วยท้าวพระยาผู้ใหญ่มีความสุขยิ่งนัก  เวียงทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า “นคร

  • เชิงอรรถ ๑ “ส่วย” รี เรียว  ๒ “บ่ลุ” ไม่ตลอด ไม่สำเร็จ  ๓ “เต้า” ในที่นี้แปลว่า นำมาซึ่งความฉิบหายและความเจ็บไข้

อินทาตั้ง”  เทวดาอินทร์พรหมและพญานาคย่อมรักษาช่วยอุปถัมภ์ค้ำชูดีนัก  เวียงรูปนี้ชื่อว่า “นครจักราวุธ” ค้ำคูณ คนอยู่ก็มีชัยคนไปก็มีโชค บ่ทุกข์ยากโศกเศร้าสักอัน เวียงรูปนี้ชื่อว่า “นครอุตตโม” ประเสริฐบริบูรณ์ไปด้วยเสนาอำมาตย์ราชมนตรีมีมากนัก ช้างม้าเกิดมาก็ประเสริฐวุฒิมงคลทุกประการ เวียงรูปนี้ชื่อว่า “นครโสฬสชมพู ๑๖”

       เมืองใหญ่ในชมพูทวีปย่อมส่งส่วยนาง เวียง ๘ ชื่อนี้ดีทุกอัน ให้ท้าวพระยาทั้งหลายตั้งบ้านสร้างเวียงอยู่ดีนัก แม้ว่าตั้งไว้ก็มีโชคมีชัย  ที่กล่าวมานี้ผิว่าโลมกงจิตร์แก้วก็ได้ชื่อว่า “นครวินาสแล”  ผิว่าโลมจิตร์แก้วรอยบาทลักษณ์แท้ชื่อว่า “นครวินาสา” แล

       ครั้งนั้นคนทั้งหลาย มีหมื่นหลวงกลางเมืองเป็นต้น จึงได้ให้พันแก่ไปทันเอามายังพราหมณ์ๆจึงลาพรากจากกันคืนมาสู่ศาลจอดของตน แล้วพันแก่จึงไหว้พระยาจันทบุรีว่า  พระยาสุมิตตธรรมให้นำนาง ๒ คนมาพระราชทานและจักให้เขตต์แดนบ้านเมืองไว้ ขอพระองค์จงไปรับเอาเทอญ

       ครั้งนั้น พระยาจันทบุรีคำนึงถึงพาลมิจฉาวิตกเข้าแล้วก็ทรงพระสรวล จึงตรัสสั่งให้พันแก่คืนไปบอกแก่คนทั้งหลายก่อน  พระองค์บ่มิได้มีพระทัยอันย่อท้อเท่ามีพระทัยชื่นบานด้วยของที่พระราชทาน

“น ตํ สิปฺปํ น ตํ ธนํ” อธิบายความว่ามีศิลปะศาสตร์อยู่ในใบลานบ่มิได้ขึ้นใจท่องบ่นเอาก็ไป่ได้  ข้าวของๆตนมีอยู่ในมือของท่านผู้อื่น

  • เชิงอรรถ –

บุรุษผู้มีความปรารถนาเพื่อจะสาธยาย หรือว่าจะซื้อขายเมื่อใดก็ไป่ได้ตามความพอใจ  ข้าวของศิลปศาสตร์นั้นๆก็หาเป็นของๆตนไม่ฉันใด

       พระยาจันทบุรีทรงรำพึงถึงธรรมกถาบทนี้อยู่ในพระทัย พระองค์จึงให้แต่งแปงราชปราสาท ประดับประดาด้วยแก้วขึ้นตั้งบนเรือพระที่นั่งราชสีห์ลำหนึ่งยาว ๒๑ วา เรือนั้นให้ลงรักปิดทองและนาก แล้วพระองค์ก็เสด็จขึ้นประทับเรือพระที่นั่ง ยาตราไปรับเอานางทั้ง ๒ พร้อมกับด้วยบริวารเป็นอันมาก

       ครั้งนั้น เทวดาทั้ง ๕ มีปรสิทธิสักกะเทวดาเป็นประธานตามไปรักษามิได้ขาด  เทวดาที่มิได้ตามไปนั้นก็มีแต่อินทสิริเจียมบางเท่านั้น  ส่วนนางเทวดามัจฉนารีนั้น เนรมิตเป็นปลาศนาคตัวหนึ่งยาว ๒๙ วา เกล็ดเป็นทองคำทั้งสิ้น หลังเป็นร่องแบ่งถ่องออกเป็น ๒ ชูโจม๑เรือขึ้นสูงพ้นน้ำ ๓ ศอก  คนทั้งหลายเห็นดังนั้นมีความอัศจรรย์เกรงกลัวอานุภาพก้มกราบแทบบาท  พระยาจันทบุรีเสด็จขึ้นสถิตบนปราสาท  นางเทวดามัจฉานารีกับเพศเป็นนางขึ้นมาอยู่กับด้วยเทวดาทั้ง ๔ ถือดาบด้ามแก้วคอยรักษาพระยาจันทบุรีอยู่ในที่อันสมควร

       เทวดาทั้ง ๔ มีปรสิทธิสักกะเทวดา รัตนเกสี อินทผยอง และสราสนิท จึงอาณัตินางเทวดามัจฉนารีให้ไปบันดลใจนางทั้ง ๒ เข้ามาถวายบังคมพระยาจันทบุรี คนทั้งหลายก็ถวายตามโดยลำดับ

  • เชิงอรรถ ๑ “ชูโจม” หนุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น