วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

ตำนานอุรังคธาตุ ๒




ตำนานอุรังคธาตุ ๒

ครั้งนั้น เทวดาฝูงรักษาภุมฉัตรและฝูงรักษาพระพุทธศาสนากับทั้งเทวดาที่อยู่รักษาในอาณาเขตต์บ้านเมืองทั้งมวล สังขยาได้ ๑๓๓,๓๓๙ ตนจึงพร้อมกันเสี่ยงสาธุการ ส่งข่าวสืบๆไป ด้วยคำว่า ดูรา เจ้าทั้งหลาย สุริยกุมารได้เสวยราชสมบัติเป็นใหญ่แก่บ้านเมืองจันทบุรีแล้ว ท่านทั้งหลายจงลงมาชุมนุมปงราชนามตามคำมัก๑แห่งเราทั้งหลายเทอญ

เมื่อเทวดาทั้งหลายกล่าวดังนี้แล้ว จึงพร้อมกันลงมาชุมนุมในดอยเขาควาย เล่นมหรสพสมโภชเจ้าสุริยกุมาร ๓ วัน ๓ คืน แล้วจึงปงราชนามเจ้าสุริยกุมารให้เป็นพระยาสุริยวงศาไชยจักรธรรมิกราชาเชฏฐาธิราช ดังนี้

ครั้งนั้น พระยาสุริยวงศาไชยจักรธรรมิกราชาเชฏฐาธิราช พระองค์ทรงบำเพ็ญศีลทานบารมี ทรงตั้งอยู่ในทศราชธรรม๑๐ประการ และพระองค์ได้กำจัดคนทั้งหลายฝูงมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้นให้หมดให้สิ้น  เป็นประดุจดังพระสุริยอาทิตย์ขึ้นมา กำจัดเสียยังเมฆให้แจ้งเสาะ๒ใสงามสอาด  พระองค์ผจญแพ้ข้าศึกภายในขันธสันดานทั้งมวลด้วยดี มี โลภะ, โทษะ, มานะ, กุกกุจจะ, วิจิกิจฉา สิ้นแล้ว จึงมีคำติปอง๓ตามคำนักด้วยกุศลกรรม หาบุคคลผู้จะเสมอได้ด้วยยาก  เป็นพระยาองค์ประเสริฐ ยิ่งกว่าพระยาในชมพูทวีปทั้งมวล มีพระชนมายุยืนนานยิ่งนัก  ทรงโชตนาพระพุทธศาสนาของ

  • เชิงอรรถ ๑ ด้วยความพอใจ  ๒ หมดจด  ๓ พยายาม

ตถาคต ที่เก่าที่ใหม่ทั้งมวลให้รุ่งเรืองยิ่งนัก  ควรนักปราชญ์ทั้งหลายจักได้ก่อเจดีย์ถ้วนสองครั้ง โลมไว้อุโมงอุรังคธาตุของตถาคต ในที่ภูกำพร้านั้น  ครั้นจุติได้ไปเกิดในเมืองพาราณสี แล้วออกบวชเป็นฤษีมีชื่อว่า สุริยวงศาจักรฤษีอยู่ที่เก่า  เมื่อจุติจากชาติอันเป็นฤษีได้มาเกิดในเมืองอินทปัฐนคร สร้างพระพุทธศาสนาที่นั้นเป็นครั้งที่๒ แล้วจุติมาเกิดในเมืองกุรุนท ชื่อว่าสุริยวงศากุรุนท

       ครั้นวงศาฤษีจุติมาเกิดในเมืองกุรุนท ชื่อว่าสารวงศา พ่อเดียวต่างแม่ สุริยวงศาได้เสวยราชสมบัติเป็นพระยาสุริยวงศา แล้วจักได้มาตั้งเมืองในเมืองร้อยเอ็จประตูดังแต่ก่อนเป็นครั้งที่๓

       ส่วนสารวงศานั้น ก็ได้เสวยราชสมบัติเป็นพระยาสารวงศากุรุนทนคร จักได้สร้างพระพุทธศาสนาในที่นั้น  ครั้นจุติจักได้ไปเกิดในชั้นดุสิต และจักลงมาเกิดในมนุษย์พร้อมพระอริยเมตไตรยโพธิสัตว์

       ส่วนพระยาสุริยวงศา เมื่อมาสร้างเมืองร้อยเอ็จประตูได้นางเทวีแก้ว  พระพุทธศาสนารุ่งเรืองเหมือนดังแต่ก่อน  ครั้นจุติไปบังเกิดในเมืองสาวัตถี สืบพระพุทธศาสนาเป็นครั้งที่๓ แล้วจุติไปเกิดในเมืองกุสินารา แลเมืองราชคฤห โชต๑นาพระพุทธศาสนาเมืองละ ๓ ครั้ง โดยลำดับโสฬสนครแลเมืองน้อยทั้งหลาย เวียนกลับไปลังกาทวีปครั้งหนึ่งแล้วกลับคืนมาในเมืองอินทปัฐนคร ในชาติอันถ้วน ๓ ตลอด ๕๐๐๐ วรรษา  ครั้นจุติจากชาติอันถ้วน ๓ ก็ได้ไป

  • เชิงอรรถ ๑ ทำให้รุ่งเรือง

บังเกิดในชั้นดุสิต  ปรากฏชื่อว่า สุริยวงศาไชยจักรเทพบุตรอริยเมตไตรยโพธิสัตว์  ดูรา อานนท์  ตถาคตทำนายไว้นี้ก็เป็นเอกเทศแต่โดยสังเขป

       พระพุทธองค์ ทรงทำนายศาสนานครนิทานอันนี้แก่เจ้าอานนท์ที่แคมหนองคันแทเสื้อน้ำ สิ้นข้อความเพียงเท่านี้

       ครั้นเมื่อ พระพุทธองค์เสด็จจากหนองคันแทเสื้อน้ำ ไปประทับอยู่ที่โพนจิกเวียงงัว ทอดพระเนตรเห็นแลนคำแลบลิ้น และแลนคำตัวนั้นแหม่น๑ปัพพารนาค ตัวที่อยู่ภูเขาหลวงริมน้ำบางพวน เนรมิตให้เป็นเหตุ  นาคตัวนั้นประดับสังวาลย์คอด้วยแก้วปัพพา เหตุนั้นจึงได้ชื่อว่าปัพพารนาค แล้วกลับเนรมิตเป็นมนุษย์นุ่งผ้าขาวเสื้อขาวเข้ามารับเอาบาตร และราธนาพระพุทธเจ้าไปสู่ภูเขาหลวงสถิตย์ในร่มไม้ปาแป้งต้นหนึ่ง  ปัพพารนาคถวายภัตตาหารพระพุทธองค์ทรงกระทำภัตตกิจเสร็จแล้ว จึงประทานผ้ากัมพลผืนหนึ่งแก่ปัพพารนาค แล้วเสด็จไปฉันเพนณะที่ใกล้เวินหลอด คนทั้งหลายเรียกที่นั้นว่าเวินเพนมาเท่ากาลทุกวันนี้

       ยังมีพญานาคตัวหนึ่งชื่อว่า สุกขนาคหัตถี เนรมิตเป็นช้างพลายถือดอกไม้เข้ามาขอเอารอยพระบาท  พระพุทธองค์ทรงย่ำรอยพระบาทไว้ที่แผ่นหิน ไกลริมแม่น้ำ ชั่วเสียงช้างร้องได้ยิน ช้างตัวนั้นก็เข้าไปไหว้อุปฐากด้วยงวงยกขึ้นใส่หัว แล้วก็หลีกหนีไป น้ำที่

  • เชิงอรรถ ๑ คือ

นาคตัวนั้นอยู่เรียกชื่อว่าเวินสุข แล้วคนทั้งหลายได้พร้อมกันเอาทองมาหล่อเป็นพระรูปใหญ่เท่าองค์พระตถาคต ประดิษฐานไว้ณที่ฉันเพนนั้น พญานาคตัวนั้นจึงเอารูปพระพุทธองค์หนีจากที่นั้น ไปไว้ในแม่น้ำ ณ ที่อยู่แห่งตน คนทั้งหลายจึงได้เรียกที่นั้นว่าเวินพระเจ้ามาถึงกาลบัดนี้

       แต่นั้นพระพุทธองค์จึงเสด็จไปสู่เมืองศรีโคตรบอง เพียงที่อยู่แห่งพญาปลาตัวหนึ่ง  ปลาตัวนั้นได้เห็นพระรัศมีของพระพุทธองค์จึงได้พาบริวารล่องไปตาม  พระพุทธองค์ทรงเห็นการณ์ดังนั้นจึงทรงแย้มพระโอษฐ์ เจ้าอานนท์จึงทูลถามว่า พระองค์ทรงแย้มพระโอษฐ์ด้วยเหตุอันใด  พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ตถาคตเห็นพญาปลาตัวหนึ่ง พาบริวารมาถึงฝั่งน้ำที่นี้ และพญาปลาตัวนี้ เมื่อเป็นมนุษย์ได้บวชในสำนักพระพุทธเจ้าองค์ชื่อว่า กัสสป ได้มาถึงแม่น้ำที่อยู่นั้น ภิกษุรูปนั้นได้เด็ดใบไม้กรองน้ำฉัน เมื่อใกล้จุติมีความกินแหนงในการที่ได้กระทำนั้น จึงได้มาเกิดเป็นพญาปลาอยู่ในแม่น้ำที่นั้น เมื่อมันได้เห็นรัศมีและได้ยินเสียง ฆ้อง, กลอง, แส่ง๑ จึงได้ออกมาจากที่อยู่เป็นอาจิณ ด้วยเหตุว่า มันเคยได้เห็นรูปารมณ์ และได้ยินสัททารมณ์อันดีมาแต่เมื่อก่อน จึงได้รู้สัพพสัญญานั้นๆ และพญาปลาตัวนี้จักมีอายุยืน ตลอดถึงพระอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ ลงมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้า จึงจักได้จุติจากชาติอันเป็นปลามาเกิดเป็นมนุษย์ แล้วออกบวชเป็นภิกษุในสำนักพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น

  • เชิงอรรถ ๑ ฉาบ

       เมื่อพญาปลาตัวนั้น ได้ยินพระพุทธพยากรณ์อันนี้ก็ชื่นชมยินดียิ่งนัก จึงมาคำนึงนึกแต่ในใจว่า อยากจะได้ยังรอยพระบาทของพระศาสดาไว้เป็นที่สักการะ  พระพุทธองค์ทรงทราบจึงทรงพระเมตตา อธิษฐานรอยพระบาทไว้ที่โหง่น๑หินในน้ำที่นั้น  คนทั้งหลายจึงเรียกที่นั้นว่าพระบาทเวินปลามาเท่ากาลบัดนี้

       ครั้นแล้ว พระพุทธองค์ก็เสด็จมาทางอากาศ ลงประทับที่ดอยกัปปนคิรี คือว่าภูกำพร้า ในราตรีนั้น วิสสุกรรมเทวบุตรลงมาอุปฐากพระพุทธองค์อยู่จนตลอดรุ่ง  กาลนั้นพระพุทธองค์ทรงผ้า แล้วเอาบาตรห้อยไว้ที่หง่า๒หมากทันไม้ปาแป้งต้นหนึ่งเบื้องทิศตะวันตก แล้วเสด็จลงไปสู่ริมแม่น้ำที่นั้น เพื่อชำระพระบาท บัณฑุกัมพลศิลาอาศน์ของพระยาอินทร์ ก็กระด้างแข็ง พระยาอินทร์เห็นเหตุดังนั้น ก็เสด็จลงไปสู่ป่าหิมพานต์ นำเอาน้ำแต่สระอโนดาตพร้อมด้วยไม้สีฟันมาถวาย พระพุทธองค์ทรงชำระแล้ว ก็ทรงบาตรผินพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก แล้วก็เสด็จไปประทับอิงต้นรังต้นหนึ่งใต้ปากเซเล็กน้อย ทอดพระเนตรเมืองศรีโคตรบอง เพื่อจะเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร  ครั้งนั้น พระยาเจ้าเมืองศรีโคตรบองนั้น ได้ทรงบำเพ็ญบุญสมภารมาเป็นอเนกประการ เหตุนี้จึงได้มาเสวยราชสมบัติบ้านเมือง ในชมพูทวีปเป็นครั้งที่ ๓ เพื่อจักได้โชตนาพระพุทธศาสนา จึงได้ชื่อว่าพระยาติโคตรบูร  พระยาติโคตรบูรเมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาเสด็จมาดังนั้น ก็

  • เชิงอรรถ ๑ ก้อนหิน  ๒ หง่าหมากทัน กิ่งพุดทรา

ทูลอาราธนาพระศาสดาเข้ามารับเอาบิณฑบาตในพระราชฐาน

       เมื่อพระศาสดาทรงรับเอาข้าวบิณฑบาตแล้ว ก็ส่งบาตรให้กับพระยาติโคตรบูร แล้วก็เสด็จกลับมาประทับที่ต้นรังตามเดิม  เมื่อพระยาติโคตรบูรรับเอาบาตรจากพระศาสดาแล้ว ก็ทรงยกบาตรขึ้นเหนือพระเศียร ทรงกระทำความปรารถนา แล้วจึงนำบาตรไปถวายพระศาสดาที่ประทับ  พระศาสดาทรงรับเอาบาตรแล้ว ก็เสด็จกลับมาทางอากาศ ลงประทับที่ภูกำพร้าดังเก่า  พระยาติโคตรบูรเมื่อทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาเสด็จมาทางอากาศดังนั้น ทรงปิติยินดี ยกพระหัตถ์ขึ้นประนม ทอดพระเนตรพระศาสดาจนสุดชั่วพระเนตร จึงทรงคำนึงในพระทัยว่า อยากจะเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง แล้วจึงเสด็จกลับมาสู่พระราชฐาน

       ครั้งนั้น พระศาสดาทรงทราบเหตุของพระยาติโคตรบูรดังนั้น จึงตรัสกับพระยาอินทร์ว่า  ดูรา อินทราธิราช ตถาคตมาสถิต ณ ที่นี้ราตรีหนึ่งด้วยเหตุอันใด พระยาอินทร์ทูลตอบว่า พระศาสดามาสถิตย์ที่ภูกำพร้าราตรีหนึ่งนั้น พระองค์ทรงอาศัยซึ่งอดีตเหตุแห่งพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ มีพระกกุสนธเป็นต้น มีพระกัสสปเป็นปริโยสาน ซึ่งเสด็จเข้าสู่พระนิพพานไปแล้วนั้น  พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมเอายังพระบรมธาตุของพระศาสดาทั้ง ๓ พระองค์ มาประดิษฐานไว้ในที่นี้ เพื่อเป็นที่สักการบูชาแห่งท้าวพระยาทั้งหลาย ในอนาคตกาลนี้ เป็นประเพณีแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายสืบๆมา ฉะเพาะที่พระศาสดา

  •  เชิงอรรถ –

ทรงฉันข้าวบิณฑบาตของพระยาติโคตรบูรนั้น คนทั้งหลายเรียกว่าเมืองศรีโคตรบอง  ผู้ข้าทั้งหลาย อินทร์ พรหม เทพบุตร เทวดา เรียกว่าเมืองศรีโคตโม เหตุพระองค์ทรงพระนามว่าโคตมะ หากให้ศรีสวัสดีแก่พระยาศรีโคตรบูร  ผู้ข้าทั้งหลายเรียกดังนี้ พระยาอินทร์ทูลชอบพระพุทธวิสัยของพระศาสดาดังนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงดุษณีภาพ

       ในขณะนั้น เทวดา มเหสักข ทั้งหลายฝูงอยู่ในราวป่าที่นั้น เมื่อได้ยินดังนั้น ก็ส่งเสียงสาธุการขึ้นพร้อมกัน ภายบนถึงชั้นอกนิษฐพรหม ภายล่างถึงขอบเขาจักรวาฬเป็นที่สุด พระยาอินทร์กราบทูลดังนั้นแล้ว ก็เสด็จกลับไปสู่ที่อยู่ของตน

       ในกาลนั้น พระพุทธองค์จึงทรงพยากรณ์ให้เจ้าอานนท์แจ้งว่า พระยาติโคตรบูรองค์นี้ จักจุติไปเกิดในเมืองสาเกตนคร ทิศตะวันตกแห่งเมืองติโคตรบูร มีนามว่าสุริยกุมาร  เมืองศรีโคตรบองนี้ จักย้ายไปตั้งที่ป่าไม้รวกมีนามว่า เมืองมรุกขนคร  เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว  สุริยกุมานี้ จักได้เป็นพระยาใหญ่กว่าท้าวพระยาทั้งหลายและจักได้ก่อแรกพระพุทธศาสนาไว้ในเมืองร้อยเอ็จประตู เมืองสาเกตนครนั้นก็เสื่อมศูนย์ไป ตั้งแรกนี้ไป พระพุทธศาสนาก็จักรุ่งเรืองเสมอด้วยเมื่อตถาคตยังมีชีวิตอยู่ ครั้นจักจุติก็ได้มาเกิดเป็นพระยาสุมิตตธรรมมรุกขนคร จักได้หดพ่อนาเป็นพระยาจันทบุรี และแรกพระพุทธศาสนาในที่นั้น

  •  เชิงอรรถ –

       ดูราอานนท์ พระยาสุมิตตธรรมองค์นี้ จักได้ฐปนาอุรังคธาตุของตถาคตไว้ในที่นี้ แล้วจักได้กลับคืนไปโชตนายังพระพุทธศาสนาอันแตกม้าง๑ในเมืองสาเกตนครร้อยเอ็จประตู ครั้นจุติก็ไปเกิดในเมืองพาราณสี ออกบวชได้เป็นฤษีชื่อว่า สุมิตตธรรมฤษี

       ส่วนเมืองมรุกขนครนั้น จักได้ยายกลับคืนไปตั้งพระพุทธศาสนาใกล้ที่อยู่แห่งพญาปลาตัวนั้น แต่เมืองนี้ก็บ่มิอาจตั้งเป็นเอกราชอยู่ได้ดังแต่ก่อน จักเป็นเมืองน้อยขึ้นแก่เมืองใหญ่ ที่ท้าวพระยามีบุญสมภารเสวยราชสมบัติครอบครองนั้น เหตุว่า ตถาคตได้อธิษฐานรอยบาทไว้ที่ก้อนหิน ให้แก่พญาปลาตัวนั้นเป็นที่สักการบูชา พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ดังนี้แล้ว จึงทรงผินพระพักตร์ต่อเมืองจุลณีพรหมทัตต์ และเมืองอินทปัฐนคร

       ขณะนั้น พระอานนท์มีความสงสัยว่า พระองค์จักเสด็จไปเมืองทั้งสองนั้นหรือๆว่าบ่เสด็จไปหนอ จึงกราบทูลว่า เมื่อพระพุทธองค์เสด็จจากภูกำพร้าที่นี้แล้ว จะแสด็จไปโปรด ณ ที่ใด

       พระตถาคตตรัสว่า เราจักไปชุมรอยบาทที่แคมหนองหานหลวง๒ที่นั้นก่อน และในหนองหานหลวงนี้ มีพระยานามว่าสุวรรณภิงคาร พระยาองค์นี้มีกระโจมหัวคำ๓และสังวาลย์คำ น้ำเต้าคำ๔ใหญ่ เสวยราชสมบัติอยู่ ณ เมืองนี้  เมื่อพระ

  •  เชิงอรรถ ๑ เสื่อมศูนย์  ๒ “ชุมรอยพระบาทที่หนองหานหลวงนี้” คือพระธาตุเชิงชุมนี้เอง  ๓ คำว่า “กระโจมหัวคำ” หมายถึงมงกุฎทองคำ  ๔ “น้ำเต้าคำ” หมายถึงคนโททองคำ

ศาสดาเสด็จไปถึงริมแม่น้ำอันหนึ่ง อยู่ ณ ท่ามกลางทาง มีนาคตัวหนึ่งชื่อว่าโทธนนาค เป็นเชื้อวงศ์พระยาศรีสุทโทธนแต่ชาติเมื่อเป็นมนุษย์ เมื่อเวลาจะตายๆด้วยความโกรธ จึงได้มาเกิดเป็นนาค มีนามว่าโทธนนาค เป็นนาคที่เที่ยวเลาะเลียบหากินปลาตามริมแม่น้ำ  พระพุทธองค์ทรงทราบยังเหตุแห่งโทธนนาคดังนั้นจึงตรัสว่า ดูรา โทธนนาค ท่านอย่าได้ถือหาบอันหนักซ้ำเติมหาบเก่าให้หนักขึ้น

       เมื่อนาคตัวนั้นได้ยิน จึงมารำพึงว่า บุคคลผู้ใดมารู้จักเชื้อชาติแห่งกูและตักเตือนกูเช่นนี้หนอ? กูควรจักเข้าไปดูให้รู้ คำนึงดังนั้นแล้ว ก็เข้าไปใกล้พระศาสดาๆจึงตรัสว่า โทธนนาคเข้ามาหาเราเพื่อจะปงเสียยังหาบอันหนัก เราก็จักปลดเสียยังทุกข์ ให้ท่านได้ถึงความสุข  นาคตัวนั้นเมื่อได้ยิน ก็มีจิตต์ใจเบิกบานชื่นชมยิ่งนัก จึงเข้าไปกราบแทบฝ่าพระบาทของพระศาสดา แล้วก็ได้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์  ครั้นจุติจากชาติอันเป็นนาค ก็ได้ไปบังเกิดในชั้นดาวดึงส์ มีนามปรากฏว่า โทธนนาคเทวบุตรตามวงศ์แห่งตน  แม่น้ำที่โทธนนาคอยู่แต่ก่อนนั้น คนทั้งหลายเรียกว่าน้ำพุงสามาเท่ากาลบัดนี้

       เมื่อพระศาสดาเสด็จจากที่นั้น ไปสู่เมืองหนองหานหลวง พระยาสุวรรณภิงคาร เมื่อทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาเสด็จมาดังนั้น จึงทูลอาราธนาเข้าไปฉันในปรางปราสาท  เมื่อพระพุทธองค์ทรงทำภัตตกิจเสร็จแล้ว ก็เทศนาสั่งสอนพระยาสุวรรณภิงคาร แล้วจึงเสด็จลงจากปราสาทไปไว้รอยพระบาทที่นั้น ต่อพระพักตร์พระยาสุวรรณภิงคาร

  • เชิงอรรถ –

แล้วทรงกระทำพระปาฏิหาริย์ ให้เป็นแก้วออกมาจากพระบาททั้ง ๓ พระบาทละลูกโดยลำดับ ซ้ำทรงกระทำพระปาฏิหาริย์ให้ออกมาอีกลูกหนึ่ง เมื่อพระยาสุวรรณภิงคารได้ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็บังเกิดอัศจรรย์ยิ่งนัก ว่าเหตุใดหนอ แก้วจึงออกมาจากรอยพระบาทของพระศาสดาได้

       ในขณะนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ดูรา มหาราช  สถานที่นี้เป็นที่ประดิษฐานรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ แก้วจึงได้ออกมาจากที่นี้ ๓ ลูก มีรอยพระบาทของพระกกุสันธ พระโกนาคมน์ และพระกัสสป พระพุทธเจ้าทั้ง ๓ องค์นี้ ได้เสด็จไปรับข้าวบิณฑบาตในเมืองศรีโคตรบองมาฉันที่ภูกำพร้า แล้วประดิษฐานรอยพระบาทไว้ ณ ที่นี้  ส่วนแก้วลูกที่ ๔ นั้น คือตถาคตนี้เอง  เมื่อตถาคตได้มาไว้รอยพระบาทรวมอยู่ในที่นี้ และเข้าสู่นิพพานไปดังนั้น ในที่นี้ก็จักเป็นที่ว่างเปล่า  ทันใดนั้นพระยาสุวรรณภิงคารจึงไหว้กราบทูลว่าเมื่อเช่นนั้น พระศาสดาจักประดิษฐานรอยพระบาทไว้ด้วยเหตุใด

       พระศาสดาตรัสว่า ดูรามหาราช ที่เป็นบ้านเป็นเมือง ตั้งพระศาสนาอยู่เป็นปกตินั้น แม้มีเหตุควรไว้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไป่ไว้ ด้วยเหตุว่า เป็นที่หวงแหนแห่งหมู่เทวดาและพญานาคทั้งหลายและบ้านเมืองก็จักเสื่อมศูนย์ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเทียรย่อมไว้ยังรอยพระบาทไกลบ้านเมือง พระพุทธศาสนาก็จักตั้งอยู่ก้ำท้ายเมืองและหัวเมือง

  • เชิงอรรถ –

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น