วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

ตำนานอุรังคธาตุ ๑๕


ตำนานอุรังคธาตุ ๑๕

โสมมนัสยิ่ง  จึงตรัสว่า สาธุ สาธุ แล้วพระองค์จึงให้แต่งเครื่องอุปัฏฐากพระอุรังคธาตุ เป็นต้นว่า พานทองคำ ๒ ลูก พร้อมด้วยเครื่องมี เต้าปูน ซองพลู จอกหมาก อูบยา๑ อูบนวด๒ มีดด้ามทองคำ รวมทั้งสิ้นหนัก ๗,๐๐๐ บาท พานทองตั้งรองอูบเมี่ยง๓คำลูกหนึ่ง พานนากตั้งรองน้ำเต้าทองคำลูกหนึ่ง หนักเสมอพานเงิน พานเงินตั้งรองพานทองคำใส่ซองผ้าเช็ดหน้าหนัก ๓,๐๐๐ ตำลึง

       พลเทวอำมาตย์นำเครื่องเหล่านี้เข้าไปตั้งไว้ในอุโมงค์  พระยาสุมิตตธรรมพร้อมด้วยพระราชเทวีแก้วเสด็จเข้ามาทรงจัดเรียงลำดับ พานทองจึงกะทบพานแก้ว  พระยาสุมิตตธรรมและนางเทวีแก้วพร้อมด้วยพลเทวอำมาตย์ เห็นเครื่องอุปัฏฐากพระอุรังคธาตุที่พระยาอินทร์ตกแต่งตั้งเรียงไว้งามสลั่ง  จึงพร้อมกันยกขึ้นเหนือเศียรเกล้าแล้วก็มิได้ปรากฏแก่ตาคนทั้งหลาย  ผู้มีบุญสมภารเทวดาจึงให้เห็น  พระยาและนางจึงได้เสด็จออกเวียนปทักษิณ ๓ รอบ แล้วจึงรับสั่งให้ก่อกำแพงล้อมและถวายเขตต์แดนไว้กับพระมหาธาตุเจ้า  พระราชทานคนที่มีกำลัง ๓,๐๐๐ คน มี ล่ามหลวง เป็นต้น อยู่เป็นข้าโอกาสหยาดน้ำตราบเท่า ๕,๐๐๐ พระวรรษา แล้วพระองค์ทรงหลั่งน้ำไว้ฉะเพาะหน้าพระอรหันต์ทั้ง ๕ แล้วเสด็จมาประทับที่ราชสำนักพระยาจุลณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนคร พร้อมด้วยฤษีทั้ง ๒ จึง

  • เชิงอรรถ ๑ “อูบยา” ตลับยา  ๒ “อูบนวด” ตลับขี้ผึ้ง  ๓ “อูบเมี่ยง” กล่องใส่เมี่ยง

พร้อมกันเข้าไปกราบทูลลาไปสู่พระนครและที่อยู่แห่งตนๆ

       ครั้งนั้น พระยาสุมิตตธรรมพร้อมด้วยรี้พลโยธาเสด็จไปทอดพระเนตรต้นรังที่ว่าพระองค์ได้อุ้มบาตรนำไปถวายพระพุทธเจ้า  เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วทรงเลื่อมใส จึงได้ก่ออุโมงค์มีสัณฐานเหมือนดังอุโมงค์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ  พระอรหันต์ทั้ง ๕ จึงไปสู่เมืองราชคฤห์  นำเอาพระบรมธาตุสันหลังของพระศาสดามาฐปนาไว้ ณ ที่นั้น แล้วพระองค์ก็เสด็จกลับคืนมาสู่เมืองมรุกขนคร

       ครั้งนั้น พระยาสุมิตตธรรมจึงตรัสสั่งให้พลเทวอำมาตย์ไปตรวจดูเมืองร้อยเอ็จประตู  จึงได้เห็นอาณาประชาราษฎรทั้งหลายที่มีเหลืออยู่ ๑๐๐๐,๐๐๐ คน  ผ้าขาวดาบศ ๕,๐๐๐ คน  พระสงฆ์ ๕,๐๐๐ องค์  สามเณร ๗๐๐ องค์  พลเทวอำมาตย์จึงกดเอามากราบทูลให้ทรงทราบ แล้วพระองค์ตรัสถามพลเทวอำมาตย์ว่า  เมืองร้อยเอ็จประตูเดี๋ยวนี้เขาอาศัยซึ่งเมืองใดเล่า  พลเทวอำมาตย์กราบทูลตอบว่า ทุกวันนี้เขาได้นำดอกไม้เงินทองและเครื่องบรรณาการไปถวายพระยาอัฒภายหน้าและพระยากุรุนทนครที่เขาได้นำเครื่องราชบรรณาการมาถวายมหาราชเจ้าทุกปีนี้แล

       พระยาสุมิตตธรรมละเสียจากเมืองมรุกขนคร ไปเสวยราชสมบัติในเมืองร้อยเอ็จประตูสืบพระพุทธศาสนา  ครั้นจุติก็ได้ไปบังเกิดในเมืองพาราณสีแล้วออกบวชเป็นฤษีมีนามชื่อว่า “สุมิตตธรรมฤษี” อยู่ป่าหิมพานต์  กล่าวอุรังคนิทาน ศาสนานครนิทาน

  • เชิงอรรถ –

บาทลักษณนิทานสิ้นข้อความแต่เท่านี้

       นิทานอันนี้ พระอรหันต์ทั้ง ๕ แต่งไว้ในวัดเมืองร้อยเอ็จประตู  วิสสุกรรมเทวบุตรนำเอาไปจารึกใส่ลานทองไว้ในชั้นดาวดึงส์  ครั้นถึงสมัยพระยาจันทพานิชสร้างเมืองฟากหนองคันแทเสื้อน้ำนั้น  พระยาอโศกได้เกิดมาโชตนาพระพุทธศาสนา  พระยาอภัยทุฏฐคามณีสร้างโลหปราสาทในเมืองลังกาทวีป  วิสสุกรรมเทวบุตรจึงได้นำเอาลานทองคำนั้นไปใส่ไว้ในโลหปราสาท  มหาพุทธโฆษาจารย์ไปสู่เมืองลังกา จึงได้จำลองเอามาไว้ในเมืองอินทปัฐนครเป็นอันนานมาแล้ว

       ครั้นถึงสมัยพระยาโพธิสาราชเจ้า  พระองค์เสด็จไปบุรณปฏิสังขรณ์พระมหาธาตุและได้สร้างวิหารขึ้นหลังหนึ่งมุงตะกั่วสิ้นทั้งหลัง แล้วทรงเลือกสรรค์หาเอาข้าโอกาสได้บ้างไม่ได้บ้าง แล้วพระองค์จึงได้บริจาคเพิ่มเติมเข้าให้ครบจำนวน ๓,๐๐๐ คน  ครั้งนั้น ยังมีลูกขา ๒ คน เมื่อก่อนได้นำเข้าไปถวายพระองค์ไว้แต่เล็กๆ  พระองค์เลี้ยงไว้ให้เป็นข้าในหัตถบาศ  ผู้พี่ชื่อว่า “ข้าชะเอง”  ผู้น้องให้กินเรือนหินชื่อว่า “พันเรือนหิน”  พระองค์สละโปรดให้เป็นใหญ่ ดูแลปกปักรักษาข้าโอกาส พระราชทานจุ้ม๑ให้และหลั่งน้ำไว้แล้วทรงสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งข้างทิศเหนือภูกำพร้าให้ชื่อว่า “วัดสมสนุก” ถวายข้าโอกาสไว้ ณ ที่นั้นด้วย และทรงเพิ่มเติมเขตต์แดน

  • เชิงอรรถ ๑ “จุ้ม” ตราตั้ง หรือ สัญญาบัตร

ตั้งแต่ปากห้วยปลาเซือม๑นั้น ให้เป็นเขตต์แดนของพระมหาธาตุเจ้า จึงได้เสด็จกลับคืนมาสู่พระนคร

       ครั้นอยู่ต่อมาถึงปีหนึ่ง พันเรือนหินจึงได้หนีกลับขึ้นมาและเข้าไปเฝ้า  พระยาโพธิสาราชจึงตรัสว่า  กูได้ให้เขือพี่น้องเป็นข้าพระมหาธาตุเจ้าแล้ว กูจักใช้สรอยมึงด้วยราชการอื่นๆไป่ได้แล้ว  เมื่อชอบมาอยู่ก็อยู่ตามเดิม แต่ว่าเมื่อออกพรรษาแล้วให้มึงนำเครื่องไทยทานธูปเทียนของกูไปบูชาให้เป็นปกติเทอญ

       ข้าชะเองผู้พี่จึงได้แต่งคน ๓๐ คน มาอยู่ดูแลติดหน้าตามหลังพันเรือนหิน แต่พวกที่ส่งข้าวกกหมกปลา ๓๓๐ ขุนกินเมืองทั้งหลายมีความสงสัยแก่พันเรือนหิน  จึงให้แต่งใส่เวียกชารึม ๓๐ เอาการ ก็ได้เฮ็ดชารึมตั้งแต่นั้นมาแล

       ครั้นมาถึงสมัยพระไชยเชษฐาธิราชเจ้า  พระองค์ได้ทอดพระเนตรตำนาน จึงได้ทรงก่อสร้างพระเจดีย์ใหญ่โลมเจดีย์พระยาศรีธรรมาโศกที่นั้น และทรงสร้างวัดป่าฤษีสังหรณ์ขึ้นวัดหนึ่ง แล้วทรงอุโมงค์โลมธาตุพระอรหันต์ที่ป่ามหาพุทธวงศาอีกแห่งหนึ่ง  ทรงสร้างวัดขึ้นที่ป่ากันทองนั้นแห่งหนึ่ง และทรงสร้างวัดขันที่หนองยางคำนั้นแห่งหนึ่ง แล้วจึงได้เสด็จไปทรงสร้างพระเจดีย์โลมพระบรมธาตุหัวเหน่าที่ภูเขาหลวง และทรงตั้งพระพุทธศาสนาขึ้นในที่นั้นแห่งหนึ่ง  ทรงสร้างพระอารามขึ้นที่โพนหนองกกแห่งหนึ่ง แล้วพระราชทาน

  • เชิงอรรถ ๑ “ปลาเซือม” ปลาเนื้ออ่อน

ข้าโอกาสและเขตต์แดนไว้ทุกๆแห่ง

       แล้วพระองค์จึงเสด็จไปสู่เมืองมรุกขนคร  ทรงสร้างพระเจดีย์ไว้ในที่นั้นองค์หนึ่ง  พระองค์จึงได้เสด็จไปนมัสการพระบรมธาตุที่ภูกำพร้าและทรงบุรณปฏิสังขรณ์ แล้วพระราชทานจุ้มไว้ในพระพุทธศาสนา แล้วพระองค์จึงเสด็จไปสู่เมืองรามลัก  ก็ครั้งนั้นแล เจ้าลานช้างได้ทรงทอดพระเนตรเห็นตำนานนั้น จึงเสด็จไปสร้างพระเจดีย์โลมพรธาตุฝ่าตีนที่เมืองหนองคายและสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งที่หน้าโฮง แทนที่ปราสาทซึ่งพญานาคเนรมิตให้บุรีจันอ้วยล้วยและอินทสว่างลงฮอด จึงได้ชื่อว่า “วัดมโนภิรมย์มาจันทบุรี” เพื่อเหตุนั้นแล

       ข้าพระบาท พระยาศรีไชยชมพู ถวาย อุรังคธาตุนิทาน และ พระบาทลักษณนิทาน ศาสนานครนิทาน อันนี้ เพื่อให้เป็นมงคลวุฒิศรีสวัสดี และอุโมงค์ที่ผู้ชายทั้งหลายก่อนั้นไป่แล้ว อุโมงค์ที่ผู้หญิงทั้งหลายก่อนั้น ผู้ชายทั้งหลายพากันไปก่อช่วย จึงได้แล้วก่อนดาวประกายพฤกษ์ขึ้น  แม้ว่า พระยาจุลณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนคร และพระยานันทเสน ทอดพระเนตรเห็นโคมไฟที่จุดไว้บนยอดเขา ทรงเข้าพระทัยว่าเป็นดาวประกายพฤกษ์จริง ก็อย่าได้ละวางที่เขาก่ออารามหินไม่แล้วนั้นเสีย

       พอเวลาใกล้รุ่ง พระมหากัสสปเถระเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ นำเอาพระอุรังคธาตุขึ้นไปประดิษฐานไว้บนแท่นอุโมงค์ที่ยังไม่แล้วนั้นก่อน จึงได้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองหนองหานหลวงและหนองหานน้อย

  • เชิงอรรถ –

พระยาสุวรรณภิงคาร พระยาคำแดง พร้อมด้วยชาวเมืองทั้งหลาย พร้อมกันใส่บาตร แล้วจึงได้จัดเครื่องสักการบูชา เป็นต้นว่าดอกไม้ธูปเทียนให้พร้อมสรรพ์  พระยาสุวรรณภิงคารเสด็จพาเหล่าบริวารตามพระอรหันต์ขึ้นไปบนเขา นมัสการพระอุรังคธาตุและปทักษิณเป็นวาร ๓ รอบ แล้วจึงได้สระสรงสุคันธรสพระอุรังคธาตุ  ขณะนั้น พระองค์ทรงทอดพระเนตรอุโมงค์เห็นไม่แล้ว ทรงกริ้วแก่ชาวเมืองทั้งหลาย ล่ามเวียกเกียกกายจึงทูลถวายเหตุการณ์นั้นๆให้ทรงทราบ ซ้ำกริ้วแก่พวกผู้หญิงทั้งหลายยิ่งขึ้น จึงตรัสว่าจะทรงกระทำโทษแก่หญิงทั้งหลาย

       ครั้งนั้น พระมาหกัสสปเถระเจ้า ทรงรำพึงถึงวิรุทธปัญหาธรรม จึงได้นำมาเทศนาแด่พระยาสุวรรณภิงคารว่า “กึสุ  อุณโห  ชาโต  อคฺคินา  กึสุ  มณินา  อสริโร  จรติ  อจิตฺตโก  นโร  ขามิ”

       ดูกรมหาราช พระพุทธเจ้าทรงตรัสเทศนาธรรมวิรุทธปัญหาอันนี้ว่า  อะไรร้อนไปยิ่งกว่าไฟ  อะไรรุ่งเรืองสว่างยิ่งไปกว่าแก้วมณี  อะไรไม่มีตัวตนรู้เดินเที่ยวไปมาได้  อะไรไม่มีจิตต์ใจรู้กินยังคนได้นั้นเล่า มหาบพิตร

       พระยาสุวรรณภิงคารทรงตอบปัญหาของพระมหากัสสปเถระเจ้าไม่ได้ จึงได้รับสั่งถามพระมหากัสสปเถระเจ้าว่า  ปัญหานี้ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอธิบายให้โยมแจ้งด้วยเทอญ

       พระมหากัสสปเถระเจ้า จึงอธิบายถวายเป็นข้อๆไปว่า  สิ่งที่

  • เชิงอรรถ –

ร้อนยิ่งไปกว่าไฟนั้นได้แก่ราคะคัณหา  สิ่งที่รุ่งเรืองสว่างยิ่งไปกว่าแก้วมณีนั้นได้แก่สติปัญญา  สิ่งที่ไม่มีตัวตนรู้เดินเที่ยวไปมาได้นั้นได้แก่นามธรรม  สิ่งที่ไม่มีจิตต์ใจรู้กินยังคนได้นั้นได้แก่ความชรา  ที่ว่าราคะตัณหาร้อนยิ่งกว่าไฟนั้น เมื่อบังเกิดขึ้นแล้ว จะเอาน้ำมาดับสักเท่าใดก็ไม่สามารถจะดับได้  ส่วนไฟนั้น เมื่อบังเกิดลุกลามขึ้น สามารถจะเอาน้ำมาดับได้  พระพุทธเจ้าและพระปัจเจกโพธิเจ้าพร้อมด้วยพระขีณาสพทั้งหลาย ประดุจดังตัวอาตมาทั้งหลายนี้ ได้ตัดเสียแล้วยังตัณหา  ก็บัดนี้ผู้หญิงทั้งหลายเข้ามาคลุกคลีเย้าหยอกยังชายทั้งหลายๆบมิสังวรจิตต์ใจของตนด้วยดี อุโมงค์จึงไม่แล้วด้วยเหตุนี้แล

       พระยาสุวรรณภิงคารได้ทรงสดับยังปัญหา ก็ทรงดับเสียได้ยังความกริ้วแก่คนทั้งหลาย  พระมหากัสสปเถระเจ้าจึงทูลต่อไปว่า อุโมงค์อันนี้ถึงแม้ก่อแล้วก็ไม่ได้ประดิษฐานยังพระอุรังคธาตุไว้ในที่นี้  พระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่ ได้เสด็จมาสถิตแท่นนี้ก็จริง แต่พระพุทธองค์ทรงรับสั่งอาตมาไว้ว่า  ให้อาตมานำเอาพระอุรังคธาตุนี้ไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า

       ทันใดนั้น พระยาสุวรรณภิคารจึงตรัสว่า  ถ้าเช่นนั้นโยมจะขอแบ่งเอาพระอุรังคธาตุไว้ครึ่งหนึ่ง แล้วโยมจะก่ออุโมงค์นี้ให้แล้ว จะได้ฐปนาพระอุรังคธาตุไว้ในที่นี้  พระมหากัสสปเถระเจ้าทูลห้ามว่า  ขอมหาบพิตรอย่าได้ม้างพุทธวจนะของพระศาสดาเลย ไม่เป็นมงคล

  • เชิงอรรถ –

แก่บ้านเมืองดอก  โบราณธรรม พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ทรงตรัสไว้ว่า  ท้าวพระยามหากษัตริย์องค์ใดม้างพุทธวจนะ ทรงเข้าพระทัยว่าเป็นการกุศลดังนี้  เทวดาทั้งหลายพร้อมด้วยมเหสักขอารักข์ที่รักษาภูมิสถานบ้านเมืองและรักษาพระบรมธาตุพระพุทธเจ้า เทียรย่อมติเตียนละโกรธมากนัก ไม่ให้มีความเจริญแก่บ้านเมืองแท้จริง

       ดูกรมหาราช ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปใกล้จะเสด็จเข้าสู่นิพพาน ตรัสสั่งไว้กับพระอรหันต์องค์หนึ่งว่า  ให้นำเอาพระบรมธาตุของพระองค์ไปประดิษฐานไว้ในคูหาแห่งหนึ่ง ไว้คอยท่าพระยาองค์หนึ่งที่จะเกิดมาในภายภาคหน้านั้น ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงทราบในพระญาณว่า พระยาองค์นั้นจะได้ฐปนาโชตนาพระพุทธศาสนาของพระองค์

       พระยาลังกาไม่ตั้งอยู่ในพระพุทธวจนะ ไปนำเอาพระบรมธาตุจากคูหามารักษาไว้เป็นที่สักการบูชาเพื่อประโยชน์ในการกุศล  ครั้งนั้น เทวดาและมเหสักขอารักข์ที่รักษาภูมิสถานบ้านเมืองและเทวดาที่รักษาพระบรมธาตุที่คูหานั้น คอยดูอยู่เป็นนานก็ไม่เห็นเอานำมาประดิษฐานไว้ตามเดิม คูหานั้นก็เปล่าเศร้าศูนย์  ถึงแม้ว่าเทวดาทั้งหลายอื่นๆที่เคยได้ไปสักการบูชามาไม่เห็นพระบรมธาตุพระพุทธเจ้า จึงถามเทวดาที่รักษานั้น เทวดาที่รักษาจึงบอกว่า พระยาลังกานำเอาพระบรมธาตุไปไว้สักการบูชา  เทวดาทั้งหลายเหล่านั้น จึงพร้อมกันกล่าวติเตียนและโกรธพระยาลังกาองค์นั้นเป็นอันมาก

  • เชิงอรรถ -

       จึงไปสมคบกันกับเทวดาที่อยู่รักษาเขตต์แดนท้าวพระยาร้อยเอ็จ ให้เข้าไปบรรดลจิตต์ใจท้าวพระยาทั้งหลาย  ให้พร้อมกันไปกระทำยุทธกรรมสงครามล้อมเมืองลังกาไว้  พระยาลังกาทรงทราบ จึงได้นำเอาพระบรมธาตุไปฐปนาไว้ในหลุมแห่งหนึ่ง แต่งเป็นยนต์ง้าวกวัดแกว่งป้องกันไว้ในที่นั้นถึง ๙ ชั้น

       ครั้งนั้น พระยาลังกาพร้อมด้วยเสนาอำมาตย์จึงได้ยกพยุหโยธาออกไปสู้รบกับด้วยท้าวพระยาร้อยเอ็จพระนคร  ท้าวพระยาทั้งหลายล้อมจับเอาพระยาลังกาและเสนาอำมาตย์ได้ทั้งสิ้น  เมืองลังกาก็พินาศฉิบหายไป  ท้าวพระยาทั้งหลายเข้าค้นเก็บเอาทรัพย์สมบัติข้าวของจึงได้เห็นหลุมยนต์ง้าว เข้าใจว่าเป็นหลุมฝังเงินทอง ลงไปดูก็ไม่ได้  เทวดาทั้งหลายจึงเนรมิตเป็นหมู่พราหมณ์มาบอกว่า  ในหลุมนี้มีพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าอันประเสริฐยิ่งกว่าข้าวของทองเงินมากนัก

       ครั้งนั้น บัณฑุกรรมพลศิลาอาศน์ของพระยาอินทร์ก็กระด้างแข็ง พระอินทร์ทรงทราบด้วยทิพเนตร จึงตรัสสั่งแก่เทวบุตรเทวดาทั้งหลายมีเทวบุตรทั้ง ๙ เป็นประธาน  เสด็จลงมาสู่ที่ชุมนุมท้าวพระยาทั้งหลายในเมืองลังกา  พระยาอินทร์จึงตรัสสั่งให้เทวบุตรทั้ง ๙ มี สุริยเทวบุตร จันทเทวบุตร เป็นประธาน ตลอดถึงราหูอสุรินทเทวบุตร ให้พร้อมกันไปปราบปรามทำลายยนต์ง้าวเสียให้สิ้น องค์ละชั้น  จึงเข้าไปนำเอาพระบรมธาตุพระกัสสปพุทธเจ้า

  • เชิงอรรถ –

กลับคืนไปประดิษฐานไว้ในคูหาตามเดิม  ครั้งนั้น เทวดาทั้งหลายมีความยินดี  มาบอกเล่าแก่พระยาร้อยเอ็จพระนคร ให้ไปนำเอาแก้วแหวนเงินทองในถ้ำที่นั้นไม่รู้หมดสิ้น

       ดูกรมหาราช ถึงแม้พระพุทธเจ้าของเรานี้ก็ดี  เมื่อครั้งพระองค์ทรงตรัสรู้สัพพัญญูครั้งแรกนั้น ได้ทรงประทานพระเศาธาตุแก่ ตปุสส ภัลลิก ๘ เส้น ครั้งนั้น  พระศาสดาตรัสสั่งว่าให้เอาไปไว้ในดอนสิงคุตร  พระยาเชษฐนครแย่งเอาหนีลงสำเภาไปเสีย ๒ เส้น  พญานาค ลักเอาหนีไปเสียอีก ๒ เส้น

       ครั้งนั้น เทวดามเหสักขะ บ่นแก่พระยาเชษฐนครและพญานาคว่า ม้างพุทธวจนะทำให้เกิดอันตรายแก่บ้านเมือง  พระศาสดาทรงรู้แจ้ง จึงโปรดให้เทวดาไปนำเอาพระเกศาธาตุมาจากพระยาเชษฐนครและพญานาค  นำเอาไปไว้ในผะอบให้ครบจำนวน ๘ เส้นตามเดิม ด้วยความอธิษฐานของพระยาอุปลนครๆจึงเปิดยังผะอบออกดู เห็นพระเกศาธาตุยังครบบริบูรณ์ แต่พระองค์ไม่ทรงทราบว่าดอยสิงคุตรอยู่ที่ไหน  พรหม และ วิสสุกรรม เทวบุตร เทวดา มีความยินดียิ่งนัก จึงมาบอกที่ดอยสิงคุตรและช่วยก่อพระเจดีย์ ฐปนาพระเกศาธาตุพระพุทธเจ้าไว้ในที่นั้น  แต่นั้นมาพระองค์ก็มิได้ละพุทธวจนะอันใดแท้จริง

       พระยาสุวรรณภิงคารทรงทราบในพระธรรมเทศนาว่า ม้างพุทธวจนะไม่ชอบด้วยพระพุทธโอวาทของพระศาสดา จึงตรัสสั่งให้อำมาตย์แต่งเครื่องสักการะคารวะ และให้คนทั้งหลายเอาหินยอด

  • เชิงอรรถ –

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น