วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

ตำนานอุรังคธาตุ ๗


ตำนานอุรังคธาตุ ๗

เข้าไปให้เป็นบุ่งเป็นหนองใหญ่ จึงอาศัยอยู่ที่นั้น และกระทำฤทธิให้แม่น้ำของฟองออกฝ่ายเดียว เพื่อกันไว้ยังบุ่งที่ตนอยู่นั้น  คนทั้งหลายจึงได้เรียกว่า “น้ำของหลง” แล้วชีวายนาคจึงให้คนทั้งหลายภายนอกเข้ามาด้วยฤทธิ ที่คุ้ยควักแต่แม่น้ำมูลนทีเป็นบุ่งเป็นวงกันลมและฟองไว้นั้น จึงได้ชื่อว่า “น้ำชีหลง” มาเท่ากาลบัดนี้

       นาคทั้ง ๒ อยู่ในที่นั้นได้ ๓ เดือน  เมื่อคนทั้งหลายเข้ามาตั้งเป็นบ้านเป็นเมืองอยู่ตามริมหนองทั้ง ๒ แล้ว จึงให้น้ำบก๑ แล้วบุคคลเหล่านั้นจึงพร้อมกันยกญาติพี่น้องผู้ใหญ่ของเขาคนหนึ่ง ขึ้นเป็นใหญ่ปกปักรักษาซึ่งกันและกัน  ให้สร้างเย่าเรือนอยู่ ณ ที่นั้น แล้วจึงแต่งกันเข้าไปรับราชการงานเมืองและจารีตประเพณีอยู่ด้วยพ่อท้าวคำบาง  เพราะเหตุนี้ราชธานีจึงมิได้มีตามริมหนองแต่นั้นมา  คนทั้งหลายจึงได้เรียกว่า “หนองหานน้ำหล่ายเชิงสม” แต่นั้นมา

กำเนิดของท้าวพระยาทั้งหลาย

       ครั้นเมื่อมหารัตนกุมารและจุลรัตนกุมารประสูติมาได้ขวบหนึ่งนั้น  นางปัจฉิมกุมารีมเหษีเจ้าราชบุตรโอรสของพระยาจุลณีพรหมทัต นิมิตรว่าพระบิดาให้ยอดปราสาททองคำ แล้วเกิดเป็นดอกบัวหลวงขาวงามบริสุทธิ์ลอยขึ้นไปบนอากาศ  ครั้งนั้นพระยาจุลณีพรหมทัตพระยาอินทปัฐนครจุติ แล้วพร้อมกันมาถือเอาปฏิสนธิในครรภ์แห่งนางปัจฉิมกุมารี  เสนาอำมาตย์พร้อมด้วยอาณาประชาราษฎรจึง

  • เชิงอรรถ ๑ “บก” แห้ง

พร้อมกันราชาภิเษกเจ้าราชบุตรขึ้นเสวยราชสมบัติแทนพระราชบิดา มีนามว่าพระยาปุตตจุลณีพรหมทัต ตั้งแต่นั้นมานางปัจฉิมกุมารีก็ทรงพระครรภ์

       ข้างฝ่ายเสนาอำมาตย์พร้อมด้วยอาณาประชาราษฎรชาวอินทปัฐนครนั้นเล่า จึงพร้อมกันราชาภิเษกอนุชาพระยาอินทปัฐนครขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระยา ทรงพระนามว่าพระยาจุลอินทปัฐนคร

       ครั้งนั้น นางปัจฉิมกุมารีราชเทวี ก็ประสูติพระราชกุมารฝาแฝดพร้อมวันเดียวกัน  เมื่อพระราชกุมารมีพระชนม์ได้ขวบหนึ่ง พระบิดาจึงได้ขนานนามกุมารทั้ง ๒  ผู้พี่ชื่อว่า “มหาสุวรรณปาทกุมาร” ผู้น้องชื่อว่า “จุลสุวรรณปาทกุมาร

       กาลนั้น นางศรีรัตนเทวี พระราชเทวีของพระยาสุริยวงศาธรรมิกราชาธิราชเอกราชเมืองร้อยเอ็ดประตู ทรงนิมิตรว่า เทวดานำเอาหอยสังข์ขาวบริสุทธิ์มาให้ แล้วบ้านเมืองก็บังเกิดเป็นป่าดงเสื่อมสูญไป  พระนางพร้อมด้วยพระสวามีก็เสด็จออกหนีไปทางทิศตะวันออกเมือง และยังมีเมืองอันหนึ่งบังเกิดมีในที่นั้น  หอยสังข์ที่เทวดาให้พระนางทรงลืมเสีย  นางรัตนเทวีทรงนิมิตรดังนี้

       ครั้งนั้น พระยานนทเสนก็จุติไปถือเอาปฏิสนธิในครรภ์แห่งพระนาง  ครั้นถ้วนทศมาส พระนางก็ประสูติพระราชกุมารออกมาได้ ๗ วัน พระนางรัตนเทวีก็จุติ  ส่วนราชกุมารที่ประสูติมานั้น บาทบริจาริกาเอาไปเลี้ยงไว้  เมื่อพระชนมายุพระราชกุมารได้ขวบหนึ่ง

  • เชิงอรรถ –

จึงได้ขนานพระนามพระราชกุมารนั้นว่า “เจ้าสังขวิชกุมาร” ตามที่นางนิมิตร

       ส่วนพระราชมารดา ก็ไปถือเอาปฏิสนธิในครรภ์แห่งนางผู้หนึ่งซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์แห่งพระยาติโคตรบูร  นางผู้นั้นเมื่อเวลาจะทรงครรภ์นิมิตรว่าได้ “แว่นแก้วผลึกและช้อง” ตั้งแต่นั้นมานางก็ทรงครรภ์  เมื่อครบถ้วนทศมาสก็ประสูติราชธิดา  เมื่อราชธิดามีอายุได้ขวบหนึ่ง พระบิดาจึงให้ชื่อว่า “นางแก้วเกสี”

       ครั้งนั้น เสนาอำมาตย์ทั้งหลายพร้อมด้วยอาณาประชาราษฎร จึงพร้อมกันเมี้ยนคาบส่งสการ๑พระยานนทเสน  เมื่อเสร็จการเรียบร้อยแล้ว จึงได้ประชุมหารือกันว่า  เมืองศรีโคตรบองนี้เกิดโรคภัยไข้เจ็บยิ่งนัก ควรเราทั้งหลายย้ายเมืองหนีไปตั้งที่ป่าไม้รวก  เมื่อเสนาอำมาตย์ทั้งหลายปฤกษาตกลงเห็นพร้อมกันดังนั้น จึงได้ย้ายเมืองมาตั้งที่ป่าไม้รวก  แล้วเสนาอำมาตย์ทั้งหลายจึงพร้อมกันราชาภิเษกอนุชาของพระองค์ซึ่งเป็นราชบุตรแห่งนางเทวบุบผาขึ้นเสวยราชสมบัติแทนพระเชษฐา ทรงพระนามว่าพระยามรุกขนคร แล้วขอเอานางแก้วเกสีซึ่งเกิดในวงศ์เดียวกันนั้นมาเป็นราชธิดา

       เมื่อเจ้าสังขวิชกุมารมีพระชนมายุได้ขวบหนึ่ง  ครั้งนั้นนางราชเทวีพระยามรุกขนครนิมิตรว่า ได้ดมกลิ่นสุคนธรสทั้งหลายหอมทั่วทิศานุทิศทุกแห่งแล้วนางก็สะดุ้งตื่น ยังปรากฏหอมทั่วพระราชฐาน

  • เชิงอรรถ ๑ “เมี้ยนคาบส่งสการ” กระทำฌาปนกิจ

นางจึงดำรัสสั่งให้ไปทันยังพราหมณ์เข้ามาทำนายนิมิตร พราหมณ์ทั้งหลายจึงพยากรณ์ถวายว่า  นางจักมีโอรสที่ประเสริฐยิ่งกว่าท้าวพระยาในชมพูทวีปทั้งสิ้น  นิมิตรอันนี้เป็นศุภนิมิตรซึ่งเทวดาทั้งหลายหากสงเคราะห์

       ครั้งนั้น พระยาสุริยวงศาธรรมิกราชาธิราชเอกราช ก็จุติมาถือเอาปฏิสนธิในครรภ์แห่งราชเทวีเจ้าเมืองมรุกขนคร  เมื่อราชเทวีทรงครรภ์ถ้วนทศมาส ก็ประสูติพระราชกุมารมีพระรูปงามยิ่งนัก  เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายได้เห็นยังพระลักษณะแห่งพระราชกุมาร จึงทูลพระราชบิดาว่า  กุมารนี้เป็นเชื้อหน่อพุทธพงศา  พระราชบิดาจึงขนานพระนามว่า “เจ้าสุมิตตวงศากุมาร”  เมื่อเจ้าสุมิตตวงศากุมารทรงเจริญวัยมาได้ ๑๓ วรรษา พระราชบิดาและพระราชมารดาก็จุติไปบังเกิดเป็นเทวบุตรอยู่ในชั้นดุสิตมีนามว่ามรุกขราชเทวบุตร และจักได้ลงมาบังเกิดพร้อมพระอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ในภายหน้า

       แล้วเสนาอำมาตย์ราชปุโรหิตาจารย์และทวยราษฎรทั้งหลาย จึงพร้อมกันราชาภิเษกเจ้าสุมิตตกุมารขึ้นเสวยราชสมบัติแทนพระราชบิดามีพระนามว่า “พระยาสุมิตตวงศาราชมรุกขนคร” จึงเอานางแก้วเกสีมาอุภิเษกเป็นราชเทวีแก้ว

       อยู่ต่อมา ฐิตะกัปปิฤษี เห็นอนาคตภัยจักบังเกิดขึ้น จึงมานำเอาพระยาศรีอมรณีและพระยาโยธิกาไปบวชเป็นฤษีอยู่ที่ภูผ่อ และปรุงยาพลเพทและยาอายุวัฒนะเพทให้พระยาทั้ง ๒ เสวยและอมองค์

  • เชิงอรรถ –


ละลูก จึงพากันเหาะไปสู่ป่าหิมพานต์

       กาลนั้น เสนาอำมาตย์แห่งพระยาทั้ง ๒ จึงประชุมปฤกษากันว่า  บัดนี้พระยาเจ้าเราทรงยินดีกับด้วยฤษี หนีไปบวชเป็นฤษีแล้วพระองค์ก็มิได้กลับคืนมา  เราทั้งหลายจงพร้อมกันรักษาบ้านเมือง  ขณะนั้นยังมีปุโรหิตาจารย์ผู้หนึ่งจึงกล่าวขึ้นว่า  เราทั้งหลายนี้เปรียบเหมือนหญ้าคาเขียวและหญ้าแพรกไป่มีวิญญาณ เอามาเฝือ๑กันเข้าให้เป็นเกลียวแล้วเอามาผูกช้างสารก็ไป่ขาด  ควรเราทั้งหลายพร้อมกันเลือกเอาบุคคลที่เป็นสัปบุรุษรู้คลองธรรม มาตั้งขึ้นให้เป็นใหญ่เป็นประธานเสมอแต่ ๒ คนเท่านั้น

       แล้วเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย จึงพร้อมกันเลือกดูเชื้อสายฝ่ายพระยาโยธิกาและเชื้อสายฝ่ายพระยาศรีอมรณีทั้ง ๒ พระองค์ที่เป็นชาวพื้นเมืองนี้  คนหนึ่งให้พระยาอัฑฒะฝ่ายหน้าแทนพระยาศรีอมรณีให้กินเมืองครึ่งหนึ่ง  อีกฝ่ายหนึ่งให้เป็นพระยาบุพพกุรุนทนารายน์กินเมืองครึ่งหนึ่งแทนพระยาโยธิกา  ส่วนช้างม้าพร้อมทั้งควาญและนายม้าที่มีฤทธินั้นตายหมดสิ้นแล้ว  พระยาอัฑฒะฝ่ายหน้าพร้อมด้วยพระยาบุพพกุรุนทนารายน์จึงว่า  สมบัติข้าวของในเมืองร้อยเอ็จประตูนี้ เจ้าเราพระยาศรีอมรณีและพระยาโยธิกา หากไปกระทำร้ายแก่ท้าวพระยาร้อยเอ็จพระนครได้แล้ว จึงนำมาถวายพระยาสุริยวงศาธรรมิกราชาธิราชเอกราชดอกหนา

  • เชิงอรรถ ๑ “เฝือ” ถัก,ฟั่น

       ว่าแล้วพระยาทั้ง ๒ จึงพร้อมกันพารี้พลโยธาแกล้วหาญไปเต็ง๑กวนฆ่าฟันไทเมืองร้อยเอ็จประตูตายมากนัก  อาณาประชาราษฎรทั้งหลายก็แตกตื่นกันหนีออกจากเมืองร้อยเอ็จประตู กลับคืนมาสู่บ้านเมืองเก่าตามเดิม

       ส่วนหมื่นพืชโลกซึ่งเป็นเสนาแห่งพระยาอัฑฒะฝ่ายหน้า พร้อมทั้งออกขุนพลเทพและออกขุนพรหมนั้นยังอยู่ที่เก่า  ออกขุนบุญขวางพาเอาครอบครัวหนีไปตั้งเมืองอยู่แดนแกว ชุมรุมกันป้อยพระยา  พระยาอัฑฒะฝ่ายหน้าและพระยาบุพพกุรุนทนารายน์ จึงพร้อมกันให้ชื่อเมืองนั้นว่า “เมืองชุมรุมป้อย๒”  ส่วนออกขุนโลกบาลนั้น พาเอาครอบครัวไปตั้งอยู่ที่ภูป่าหมากชุมรุมกันฟ้อน  พระยาทั้ง ๒ จึงให้ชื่อว่า “เมืองชุมรุมฟ้อน” แต่นั้นมา

       ฝ่ายขุนเล็กขุนน้อยทั้งหลายเหล่านั้น จึงพร้อมกันอพยพครอบครัวหนีไปตั้งเป็นบ้านเล็กเมืองน้อยอยู่  แล้วจึงเข้าไปสู่สมภารพระยาสุมิตตวงศาราชมรุกขนครทั้งสิ้น  ส่วนหมื่นแก่นั้นมีครัว ๔๐,๐๐๐ ครัว อพยพมาสร้างเมืองอยู่ในที่แห่งหนึ่ง  หมื่นพระน้ำรุ่งมี ๕๐,๐๐๐ ครัว อพยพมาตั้งเป็นเมืองอยู่ที่ปากห้วยกะดิงก้ำเหนือ

       ส่วนหมื่นเชียงสานั้นมีครัว ๕๐,๐๐๐ ครัว อพยพมาตั้งเมืองอยู่ปากห้วยกะดิงก้ำใต้ ใกล้กับหมื่นพระน้ำรุ่ง  หมื่นหลวงกลางเมือง

  • เชิงอรรถ ๑ “เต็ง” ในที่นี้หมายความว่าข่ม  ๒ บางฉะบับ เป็นเมืองชุมนุมป้อย  “ป้อย” แช่ง

นั้นมีครัว ๑๐๐,๐๐๐ ครัว  อพยพออกมาตั้งอยู่ปากห้วยพาด  หมื่นรามมีครัว ๕๐,๐๐๐ ครัว อพยพออกมาตั้งอยู่ที่ปากห้วยหูด  หมื่นประชุมนุมเมืองมีครัว ๕๐,๐๐๐ ครัว อพยพออกมาตั้งอยู่ปากห้วยหูดเฉียงใต้กับด้วยน้าเลี้ยงพ่อนม๑  หมื่นกลางโรง หมื่นนันทอาราม พาครัว ๒๐๐,๐๐๐ ครัว รักษาเจ้าสังขวิชกุมารมาถึงในเขตต์เมืองสุวรรณภูมิแต่ก่อนนางน้าเลี้ยงพ่อนม จึงพาเอาสังขวิชกุมารออกมาตั้งอยู่เมืองหนองคายนั้น ให้ชื่อว่า “เมืองลาหนองคาย” ตลอดไปถึงปากห้วยบางพวน  หมื่นกลางโรงมีครัว ๕๐,๐๐๐ ครัว อพยพออกมาตั้งเป็นเมืองอยู่ที่ปากห้วยคุกคำมาทางใต้  หมื่นนันทอารามมีครัว ๕๐,๐๐๐ ครัว อพยพมาตั้งอยู่ปากห้วยนกยูงหรือปากโมงก็เรียก

       เสนาอำมาตย์ทั้งหลายที่ออกนามมาแล้วข้างต้นนี้  อพยพครอบครัวมาแต่เมืองร้อยเอ็จประตู มาตั้งบ้านสร้างเมืองอยู่ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น จึงได้พร้อมกันเข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภาร รับราชการบ้านเมืองด้วยพระยาสุมิตตวงศาราชามรุกขนครทั้งสิ้น

       ครั้งนั้น เมืองสุวรรณภูมิเป็นเมืองของท้าวคำบาง  ตั้งเมืองอยู่ที่ห้วยเก้าคดเก้าเลี้ยว  ยังมีนางผู้หนึ่งชื่อว่า “อินสว่างลงฮอด”  เมื่อนางเทวีของท้าวคำบางจะทรงครรภ์นั้น นิมิตรฝันว่าพระอินทร์ให้ดอกนิลบล แล้วนางจึงซัดดอกนิลบลนั้นลงไปในสระน้ำ แล้วกลับ

  • เชิงอรรถ ๑ “น้าเลี้ยงพ่อนม” ในที่นี้หมายความถึงพระพี่เลี้ยงและพระนม

เกิดเป็น ๒ ดอกบานงามทั่วสระ  เมื่อนางประสูติราชธิดาออกมา จึงให้นามว่า “นางอินสว่างลงฮอด”

       ครั้งนั้นยังมีพระอรหันต์ ๒ องค์ มาจากเมืองราชคฤห์  องค์หนึ่งชื่อมหาพุทธวงศาอยู่ที่ริมน้ำบึง  องค์หนึ่งชื่อมหาสัชชะดีอยู่ป่าโพนเหนือน้ำบึง  ครั้งนั้นยังมีกะทาชายผู้หนึ่ง ดำปูมใหญ่มีใจประกอบไปด้วยการกุศลยิ่งนัก  ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ห่อง๑สะแกท่างหนองคันแทเสื้อน้ำออกมาประจบที่บึงนั้น  เป็นผู้อปฐากพระอรหันต์ทั้ง ๒ องค์ด้วยข้าวบิณฑบาตและข้าวสงฆ์เป็นปกติ  พระอรหันต์จึงกล่าวว่า ปูมหลวงนี้เป็นคนมีศรัทธาบำเพ็ญบุญ ท่านจึงใส่ชื่อให้ปรากฏไว้ว่า “บุรีจันอ้วยล้วย”

       แล้วคนทั้งหลายที่เป็นวงศ์ญาติและที่อยู่ร่วมบ้านเดียวกัน จึงพร้อมกันอุปโลกบุรีจันอ้วยล้วยขึ้นเป็นครูอาจารย์ว่ากล่าวสั่งสอนแก่เขาทั้งหลาย  ตั้งแต่นั้นมาบุรีจันอ้วยล้วยก็สอนศิลปะให้แก่เขาทั้งหลาย เป็นต้นว่า  การกระทำนาตามฤดูกาลและนาแซง๒ และสั่งสอนให้เขาทั้งหลายใส่บาตรและถวายข้าวสงฆ์มิได้ขาด  เมื่อข้าวในนาออกรวงพอเป็นน้ำนม ก็ให้เขาเกี่ยวมาตำคั้นเอาน้ำ แล้วเอาน้ำผึ้งน้ำอ้อยเจือลงต้มให้เป็นทานครั้งหนึ่ง  เมื่อข้าวนั้นพอเป็นเหม้า ก็ให้เอาข้าวนั้นมา

  • เชิงอรรถ ๑ “ห่อง” ร่อง,คลอง  ๒ “นาแซง” นาที่ทำในเวลาที่มิใช่ฤดูกาล

เหม้าให้ทานอีกครั้งหนึ่ง  เมื่อข้าวนั้นพอฮาง๑ ก็ให้เอาข้าวนั้นมาฮางให้ทานอีกครั้งหนึ่ง  เมื่อถึงเวลาเกี่ยว ให้ทานอีกครั้งหนึ่ง  เมื่อเวลาจะเอาข้าวขึ้นกอง ก็ให้ทานอีกครั้งหนึ่ง และเวลานวดอยู่ในลาน ก็ให้ทานอีกครั้งหนึ่ง  เมื่อเวลาเอาขึ้นยุ้งขึ้นฉาง ก็ให้ทานอีกครั้งหนึ่ง  ส่วนข้าวในบาตรนั้น บ่มิได้ให้เว้นแม้แต่สักเวลา  ให้ใส่เป็นปกติทุกๆวัน แล้วบุรีจันอ้วยล้วย ก็อุทิศส่วนบุญไปให้แก่พญานาคทุกๆวันมิได้ขาด

       ครั้งนั้น ยังมีนาค ๓ ตัวๆหนึ่งชื่อว่า “กายโลหะ” อยูที่ป่ามหาพุทธวงศา  ตัวหนึ่งชื่อว่า “เอกจักขุ” อยู่ที่ปากห่องสะแกใกล้กับเรือนบุรีจันอ้วยล้วย  ตัวหนึ่งชื่อ “สุคันธนาค” อยู่ที่หาดทรายกลางแม่น้ำของ  นาค ๓ ตัวนี้ได้ยินคำอุทิศของบุรีจันอ้วยล้วยทุกวันมิได้ขาด จึงพร้อมกันไปไหว้สุวรรณนาคและพุทโธธปาปนาค  พญานาคทั้ง ๒ ได้ทราบเหตุดังนั้นก็มีความยินดียิ่งนัก จึงกล่าวว่า สาธุ สาธุ  ครั้งเมื่อพระตถาคตยังทรงทรมานอยู่ พระองค์ก็ได้เสก็จมาโปรดสั่งสอนเราที่ภูกูเวียน แล้วพระองค์เสด็จไปไว้รอยพระบาท และทรงตักเตือนให้เรารักษาพระพุทธศาสนา

       ทันใดนั้น พญานาคทั้ง ๒ จึงให้นาคบริวารไปทันมายังเสฏฐไชย

  • เชิงอรรถ ๑ “ฮาง” ในที่นี้ไม่ใช่ว่าราง คือข้าวยังไม่แก่ถึงขนาด  เกี่ยวเอาข้าวนั้นมานึ่งทั้งเปลือก ตากให้แห้ง แล้วมาตำ  ทำเช่นนี้เรียกว่า “ข้าวฮาง”

นาคที่อยู่หนองคันแทเสื้อน้ำนั้นมา  นาคตัวนี้เจาะแปว๑ออกมาอยู่หนองหอไชย แล้วเจาะแต่หนองหอไชยออกแม่น้ำของ เที่ยวมาอยู่ที่หาดทรายที่นั้นเสมอๆ แล้วจึงให้ไปทันมายังสหัสสพลนาค ตัวที่อยู่หนองยางคำ เจาะแปวออกมาแม่น้ำของที่ท่าพันพร้าว  นาค ๒ ตัวนี้ เที่ยวไปตามลำน้ำของเสมอๆ  ครั้นถึงฤดูฝน จึงเข้าไปอยู่ในหนองคันธรรพ อยู่ที่ท่านาเหนือตัวหนึ่ง  สิทธโภคอยู่ท่านาใต้ สิริวฒนอยู่กกคำ อินทจักกะอยู่ปากห้วยมงคล  เมื่อนาคทั้งหลายเหล่านี้มาชุมนุมกันแล้ว  พญาสุวรรณนาคจึงให้โอวาทคำสั่งสอนแก่นาคทั้งหลาย ตามที่พระศาสดาได้ทรงสั่งสอนตนไว้แต่ก่อนนั้นจบลงแล้ว พญาสุวรรณนาคจึงกล่าวขึ้นอีกครั้งหนึ่งว่า  บัดนี้เราทั้งหลายจงช่วยกันทดแทนบุณคุณบุรีจันอ้วยล้วย ที่เธอได้ตรวจน้ำหมายทานแผ่ส่วนกุศลไปให้แก่เราทั้งหลายนั้น และท่านทั้งหลายเห็นว่าที่ใดพอจะเป็นที่ตั้งราชธานีและพระพุทธศาสนาได้เล่า

       ทันใดนั้น กายโลหะนาคจึงกล่าวขึ้นว่า ข้าพเจ้าเห็นสมควรจะตั้งราชธานีและพระพุทธศาสนาที่ริมน้ำของเสมอหาดทราย ที่สุคันธนาคอยู่นั้นแหละ ด้วยเหตุว่ามีพระอรหันต์อยู่ในที่นั้น ๒ องค์ พร้อมด้วยเทวดาตนหนึ่งอยู่ในที่นั้นมีนามว่า “อินทสิริ” เป็นที่ประเสริฐยิ่งนัก  แล้วยังมีเทวดาอยู่รักษาในที่นั้นอีก ๒ ตนๆหนึ่งชื่อว่า

  • เชิงอรรถ ๑ “เจาะแปว” เจาะปล่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น