วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

ตำนานอุรังคธาตุ ๓



ตำนานอุรังคธาตุ ๓

เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ไว้จิตแก้ว กล่าวคือ รอยพระบาทที่ท้ายเมืองทิศใต้นั้น พระพุทธศาสนาก็จักตั้งรุ่งเรืองในเมืองนั้นก่อน แล้วจึงยาย๑ห่างมาใต้ตามรอยพระบาท  เมื่อไว้จิตแก้วก้ำหัวเมือง พระพุทธศาสนาก็จักตั้งในเมืองนั้นแล้วจึงยายห่างไปข้างเหนือ  ที่รอยพระพุทธบาทอันพระพุทธเจ้าประดิษฐานไว้นั้นก็ไป่ตั้งเป็นเมือง คนทั้งหลายจึงจะตั้งอยู่เป็นปกติ

       ส่วนเมืองหนองหานหลวงนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้มาสุมรอยพระพุทธบาทไว้ สมัยพระยาองค์ใดเสวยราชสมบัติ พระยาองค์นั้นได้สร้างบุญสมภารมาแล้วตั้งแสนกัลป์ทุกๆองค์  ถึงเมืองหนองหานน้อยก็เช่นเดียวกัน และทั้งสองเมืองนี้ เมื่อตั้งก็เกิดพร้อมกัน ด้วยเหตุเป็นที่เสด็จมาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  ครั้นสิ้นชั่วพระยาทั้งสองเมืองนี้ เทวดาและนาคทั้งหลายที่รักษาหนองหานหลวงและหนองหานน้อย ก็จักได้ให้น้ำไหลนองเข้ามาหากัน ท่วมรอยพระบาทและบ้านเมือง  คนทั้งหลายจึงได้แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเล็กเมืองน้อยตามริมหนองนั้น  จักได้ไปรับเอาจารีตประเพณีและกิจการบ้านเมืองในราชธานีใหญ่ ที่พระพุทธศาสนาตั้งรุ่งเรืองอยู่ ณ ที่นั้น  เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จเข้าสู่นิพพานไปแล้ว  พระอรหันต์ทั้งหลายจักได้นำเอาธาตุตุม๒ไก่มาประดิษฐานไว้ริมแม่น้ำธนนทีราชธานี  บ้านเมือง พระพุทธ-

  • เชิงอรรถ ๑ แยกย้าย,เรียงราย  ๒ “ตุมไก่” เข้าใจว่าเป็นพระธาตุตาตุ่ม และอีกฉะบับ๑ เป็นแต่บอกว่า เป็นพระธาตุพระพุทธเจ้า

ศาสนา จักตั้งรุ่งเรืองไปตามริมแม่น้ำอันนั้น  เมืองฝ่ายเหนือกลับลงไปตั้งอยู่ฝ่ายใต้ ฝ่ายใต้กลับไปตั้งอยู่ฝ่ายเหนือ เมืองที่ตั้งอยู่ตรงกลางนั้นประเสริฐมีอานุภาพยิ่งนัก  ท้าวพระยาทั้งหลายที่มีบุญสมภาร จักได้เสวยราชสมบัติบ้านเมืองค้ำชูพระพุทธศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  ครั้นสิ้นพระพุทธศาสนา ราชธานี บ้านเมืองที่อยู่ริมแม่น้ำ ฝ่ายเหนือก็กลับไปฝ่ายเหนือ  เมืองราชธานีอันเป็นที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเที่ยวบิณฑบาต เป็นต้นว่า เมืองศรีโคตรบองก็กลับมาตั้งอยู่ที่เก่า  เมืองราชธานีที่ตั้งอยู่ณท่ามกลางนั้น ก็กลับมาตั้งอยู่ริมหนองหานทั้งสองดังเก่า เพื่อรอท่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

       ครั้งนั้น ท้าวพระยาทั้งหลายที่มีบุญสมภารก็บังเกิดขึ้นตามราชธานีนั้นๆ อันนี้หากเป็นจารีตประเพณีสืบๆมาแห่งแม่น้ำธนนที  พระพุทธศาสนาก็จักตั้งอยู่แต่ทิศเบื้องเหนือและทิศเบื้องใต้ แลทิศตะวันตกตะวันออกไปตามริมแม่น้ำอยู่เป็นปกติ

       ดูรา มหาราช  ตถาคตเทศนาศาสนานครนิทานดังกล่าวมาแล้ว เพื่อเหตุนั้นจึงได้ว่าไป่มีคนอยู่ในเมืองหนองหาน  แม้ว่ามีคนอยู่ในริมหนองหานทั้งสองนั้น ท้าวพระยาที่มีบุญสมภารเป็นเอกราชนั้น จักตั้งอาณาคม และพระพุทธศาสนาอันใหญ่ก็ไป่มี เท่ามีก็เป็นแต่ปัจจันตพุทธศาสนาตามกาลสมัยนั้นๆ

       เมื่อพระยาสุวรรณภิงคารได้ทรงสดับรตนปัญหาดังนั้น ก็ทรงพระโสมนัสซาบซึ้งในพระขันธสันดานยิ่งนัก และมีพระทัยปรารถนา

  • เชิงอรรถ –

จะตัดยังพระเศียรของพระองค์ บูชารอยพระพุทธบาท ทันใดนั้น นางเทวีจึงได้ทูลห้ามไว้ว่า เมื่อมหาราชมีพระชนม์อยู่ จักได้สร้างพระราชกุศลเพิ่มเติมต่อไป ไม่ควรที่พระองค์จะมาทรงกระทำเช่นนี้ เมื่อพระยาได้ทรงสดับถ้อยคำนางเทวีห้ามดังนั้น จึงถอดมงกุฎออกบูชา

       พระศาสดาซ้ำเทศนาโปรดเป็นครั้งที่สองว่า ดูรา มหาราช รอยบาทอันตถาคตได้ไว้ให้แก่พญานาค ที่แผ่นกระดานหินฝั่งแม่น้ำใหญ่ ชั่วช้างร้องและงัวร้องได้ยิน  ฝ่ายตะวันออกนั้น เพื่อหมายจิตแก้วแห่งหัวเมืองและท้ายเมืองอันจักเป็นราชธานี  พระพุทธศาสนาก็จักรุ่งเรืองยิ่งนักในที่นั้น และรอยบาทอันตถาคตได้ไว้ที่แผ่นหินฝ่ายตะวันตกแห่งแม่น้ำนั้น หมายจิตแก้วแห่งพระพุทธศาสนา มัชฌิมอนุราชธานีสืบต่อกันโดยลำดับ  ครั้นตถาคตจักไว้รอยบาทพระพุทธศาสนานั้น จึงได้ไว้ที่ฝั่งแม่น้ำก้ำตะวันออกซ้ายนั้นก่อน แล้วจึงข้ามแม่น้ำมาไว้กงจิตแก้วฟากฝั่งแม่น้ำก้ำตะวันตกเฉียงใต้ แล้วตถาคตจึงข้ามแม่น้ำกลับคืนไปก้ำตะวันออกเฉียงใต้ เล็งเห็นพญานาคว่าจักขอรอยบาทที่สุมไว้ ตถาคตจึงอุบายเสีย  ลางเมืองก็หมายกงจิตแก้วเบื้องขวานั้นไว้ก่อนแล้วจึงไต่ตามเส้นซ้าย เล็งเห็นพญาปลาตัวน้อยไป่ควรไว้กงจิตแก้วแต่อธิษฐานเป็นรูปจิตแก้ว คือรูปรอยบาทที่ไว้ฝั่งฟากตะวันออก เพื่อหมายเมืองราชธานีที่ตั้งพระพุทธศาสนาพอปานกลาง จึงข้ามไปเบื้องขวาก้ำตะวันตก ไว้ยังพงสอนฟากแม่น้ำ เต็งโลมยังรูปจิตแก้วที่อธิษฐานไว้นั้น เพื่อให้บ้านเมืองฝ่ายใต้และพระพุทธศาสนาน้อมกลับ

  • เชิงอรรถ –

ขึ้นไปเหนือ อย่าให้เป็นอันตรายในภายหน้า  ตถาคต จึงได้กลับคืนไปหากกเบื้องขวาแต่เค้า จึงไว้ยังจิตแก้วฝ่ายตะวันตก ที่ได้หมายกงจิตแก้วไว้แต่ก่อนนั้นแท้จริง

       ดูรา มหาราช รอยบาทอันตถาคตไว้ที่แผ่นหินในแม่น้ำใหญ่ไป่เห็นนั้น  พระพุทธศาสนาบ้านเมืองจักรุ่งเรืองด้วยพระสังฆเถรผู้เป็นใหญ่  ตถาคตไว้รอยบาทที่แผ่นหินบนยอดเขาข่มรอยในน้ำนั้น เพื่อให้ไหลไปทางใต้ ให้บ้านเมืองพระพุทธศาสนามีความสุขสำราญรุ่งเรือง โลมเต็ง๑อสัปปุริสพาลผู้เป็นบาป และเหล่ามนุษย์ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิและอลัชชีทั้งหลายเหล่านั้น ให้เป็นมงคลแก่พระพุทธศาสนาบ้านเมือง  เมื่อท้าวพระยาตนมีบุญเกิดขึ้นแล้ว บุรุษผู้อาชาไนยก็จักบังเกิดมี เขาเหล่านั้นเทียรย่อมเป็นมงคลแก่พระพุทธศาสนาและบ้านเมือง  รอยบาทที่ตถาคตได้อธิษฐานไว้ที่ก้อนหินนั้นหมายพระพุทธศาสนาอันจะมาถึงตามมัชฌิมราชธานีแต่ก่อน

       และรอยบาทที่ตถาคตได้อธิษฐานไว้ในแผ่นหินที่ภูเขาบกโล้นใกล้แม่น้ำ ให้เป็นบาทพาหิรประเทศ เพื่อโปรดนาคและเทวดาที่มีโอฆะมนะสัทธา ขอเอารอยตถาคตมาชุมนุมในแผ่นดิน กระทำปาฏิหารย์เพื่อให้แจ้งแก่พระยาที่มีบุญอันสิ้นเสียแล้ว และมีบุญที่ได้สร้างมาแล้วแสนมหากัลป์ ตามรอยบาทอันนี้ เป็นอันบ่พาง๒ตั้งอยู่เป็นปกติ รอยพระบาทอันพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ประดิษฐานซ้อนกันไว้บนภูเขา

  • เชิงอรรถ ๑ เต็ง แปลว่าทับ  ๒ บ่พาง ไม่คลาดเคลื่อน,ไม่โกหกหลอกลวง

สูงนั้น เพื่อหมายเมืองในชมพูทวีป ว่าเป็นมงคลแต่ปฐมกัลป์ ด้วยเหตุว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย บ่มิได้เกิดในที่ทั้ง ๓ และหมายกงจิตแก้วโลมไว้ยังชมพูทวีปนี้

       ดูรามหาราช รอยบาทหมายชมพูทวีป มีในเมืองโยนกวตินครเชียงใหม่นั้น  ดอยลูกนี้ชื่อว่าดอยผารังรุ้ง เป็นรูปสะเภางามยิ่งนัก  พระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์เสด็จไปฉันข้าวที่นั้น แล้วก็เหยียบซ้อนรอยยุด๑กันลงไปโดยลำดับที่หินรูปสะเภานั้นทั้ง ๓ พระองค์

       ตถาคตไปบิณฑบาตในเมืองแพ่ อันเป็นโบราณบิณฑบาต แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายมาแต่ก่อน ชาวแพ่ทั้งหลาย เอาข้าวแลปลาเวียน๒ไฟมาใส่บาตร พระตถาคตรับเอาข้าวบิณฑบาตแล้ว ขึ้นไปสู่ดอยเทพ๓ ดอยไชย แล้วจึงขึ้นไปดอยผารังรุ้ง เห็นปลาบ่า ปลาเวียนไฟ มีอยู่ในรอยพระบาทแห่งพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์อันเป็นอปหาริยธรรม  ตถาคตก็ไป่ฉันปลาอันชาวแพ่ใส่บาตรมานั้น จึงได้อธิษฐานให้ปลามีชีวิตขึ้นทุกตัวไว้ในที่นั้น  ปลาทั้งหลายเหล่านั้นยังเป็นรอยไม้หีบปี้ง๔อยู่ทุกตัว จนตลอดสิ้นภัททกัลป์  คนทั้งหลายที่อยู่ในเมืองนั้น เห็นปลาเหล่านั้น ก็รู้ว่าเป็นอปหาริยธรรม มีความเคารพยำเกรงไม่บริโภคปลาที่มีชื่อนั้น แม้ว่าจะได้มาด้วยเหตุใดๆก็ปล่อยเสียจนสิ้น  ตถาคตฉันข้าวแล้ว ยังมีพญานาคตัวหนึ่งอยู่รักษาในที่นั้น

  • เชิงอรรถ ๑ ยุด แปลว่าลดลงไม่เสมอกัน  ๒ ปลาตะเพียนหางแดง  ๓ เข้าใจว่าดอยสุเทพ  ๔ ไม้ตับย่างปลา

นำเอามาให้ฉัน แล้วขอเอายังรอยบาทไว้เพื่อเป็นที่สักการบูชา ตถาคตจึงยำซ้อนรอยบาทลงไว้โดยลำดับ

       รอยพระบาทพระกกุสนธ ยาว ๓ วา  กว้าง ๓ วา รอยพระบาทพระโกนาคมและพระกัสสปยาวและกว้างโดยลำดับ รอยตถาคตยาวหนึ่งวาสองศอก สั้นกว่าทุกพระองค์  พระอริยเมตไตรยที่จักมาภายหน้านั้น จักได้เหยียบทับลงไปณะที่นั้น ส่วนรอยทั้ง ๕ นั้น ก็จักปรากฏมีอยู่ทั้ง ๕ รอยแท้จริง

       พระยาสุวรรณภิงคารพร้อมด้วยพระราชเทวี ทรงสดับพระธรรมเทศนาพระปาทลักษณ์และอปหาริยธรรมอันพระศาสดาตรัสเทศนาดังนั้น ก็ทรงพระปีติปราโมทย์ยิ่งนัก แล้วทรงสร้างอุโมงค์ด้วยหินปิดรอยพระพุทธบาทพร้อมทั้งมงกุฎ เหตุนั้นจึงเรียกชื่อว่าพระธาตุเชิงชุมมาเท่ากาลทุกวันนี้

       แล้วพระศาสดาตรัสเทศนาแก่พระยาสุวรรณภิงคารว่า ที่ใดตถาคตได้ลงจากอากาศและสถิตย์ได้เห็นยังเหตุอันใดอันหนึ่งแล้วทำนายนั้น เป็นกงจิตแก้วอันหนึ่ง และที่ร่มไม้อันตถาคตฉันข้าวนั้น ก็เป็นกงจิตแก้วอันหนึ่ง พงศ์ทั้งสองนี้เรียกชื่อว่าโชติเจดีย์ พระพุทธศาสนาจักรุ่งเรืองในที่นั้น  ที่ตถาคตได้ไสยาสน์และบิณฑบาตมาฉัน ที่นั้นเป็นพงศ์แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เสมอด้วยดอยสิงคุตร ที่ตถาคตทรงบาตรยืนอิงต้นไม้นั้น เป็นพงศ์อันหนึ่ง และเมื่อว่าตถาคตได้หมายกงจิตแก้วที่ใด ต่อไปภายหน้าโน้น โชติเจดีย์ก็จักบังเกิดมี

  • เชิงอรรถ –

ขึ้นในที่นั้น  ดูกรมหาราช เจดีย์ที่ก่อโลมบาทเชิงชุมบัดนี้เป็นปัจจุบันอัปปโชติเจดีย์ ไป่รุ่งเรืองในภายหน้า ทรงเทศนาแก่พระยาสุวรรณภิงคารดังนี้ แล้วจึงเสด็จขึ้นดอยลูกหนึ่งข้างในเป็นดังคูหา

       คนทั้งหลายขึ้นไปบนดอยลูกนั้น มองเห็นหนองหานหลวงและหนองหานน้อย มองเห็นเมืองศรีโคตรบองและภูกำพร้า  พระยาสุวรรณภิงคารจึงให้สังวาลย์ทองคำหนัก ๓๐๐,๐๐๐ เป็นทานแก่คนทั้งหลายที่มีกำลังสามารถก่อแท่นหินมุกด์เป็นปัจจุบันโดยพลัน แล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จขึ้นพระแท่น ระลึกถึงพระมหากัสสปเถรๆก็มาเฝ้า  พระศาสดาจึงตรัสเทศนาแต่พระมหากัสสปเถรเป็นภาษาบาลีว่า “อรงฺคธาตุก กสฺสปคิริ อปฺปตฺตรา” ดังนี้ แล้วพระศาสดาจึงผินพระพักตร์ฉะเพาะซึ่งภูกำพร้า จึงตรัสว่า ดูรา กัสสป ตถาคตนิพพานแล้ว เธอจึงนำเอาอุรังคธาตุตถาคตมาไว้ที่ภูกำพร้าที่นี้ อย่าได้ละทิ้งคำตถาคตสั่งไว้นี้เสีย พระมหากัสสปเถร เมื่อได้สดับพระพุทธพจน์ดังนั้น ก็ชื่นชมยินดียกขึ้นยังอัญชุลีว่า สาธุ สาธุ แล้วก็กลับไปสู่ที่อยู่

       ครั้นแล้วพระศาสดา ก็เสด็จกลับมาสถิตย์อยู่ที่ภูกูเวียนที่นั้น มีคำปุจฉาแซกเข้ามาว่า พระศาสดาเสด็จกลับคืนมาสถิตย์ที่ภูกูเวียนนั้น  ด้วยเหตุใด มีคำวิสัชนาแก้ว่า  พระพุทธองค์ไว้กงจิตที่ภูเขาหลวง ไป่ได้ไว้ยังจิตแก้วคือรอยพระบาท จึงเสด็จกลับคืนมา เพื่อจักโปรดพญานาค ครั้งเมื่อพระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นพญานาคนั้น

       ยังมีอดีตนิทานอันหนึ่งว่า เมื่อพระพุทธองค์เสวยพระชาติมีนาม

  • เชิงอรรถ –

ว่าสุวรรณนาค เกล็ดเป็นทองคำทั้งตัวอยู่ในที่นั้น  เมื่อเกล็ดนั้นหล่น ณ ที่ใด ก็เกิดเป็นที่สักการบูชาเลี้ยงดู พญานาคตัวนั้นโกรธนิรมิตให้น้ำท่วมบ้านเมืองเสียสิ้น คนทั้งหลายได้ความเดือดร้อน จึงพากันไปไหว้พระอิศวรๆทราบในเหตุอันนั้น จึงบัญชาให้ผู้มีฤทธิ์ไปว่ากล่าวแก่พญานาคว่า เมืองอันนี้พระอิศวรเป็นใหญ่ จักพระราชทานให้เป็นเมืองพระพาน พญานาคได้ยินดังนั้นจึงโกรธแก่พระอิศวรว่า พระอิศวรนี้ไป่รู้จักเกล็ดแห่งเราหนอ ตัวกูไป่ตาย มากุมหักคอถากเกล็ดแห่งเราอย่างไร เมื่อว่าพระอิศวรอยากได้เมืองก็ให้รบกับกูดูเสียก่อน เมื่อว่าแพ้กูเมื่อใดจงเอาเมืองกูเทอญ  กูจักทำอิทธิฤทธิให้เป็นภูเป็นดอย ล้อมไว้เป็นเมืองพระพาน  คนใช้จึงนำความอันพญานาคกล่าวนั้นไปบอกพระอิศวร เมื่อพระอิศวรได้ทราบเหตุดังนั้น จึงใช้ให้ไปถามพญานาคอีกว่า เราทั้งสองจักรบกัน ณ ที่ใด พญานาคบอกว่าไปรบกันทางอากาศ แล้วคนใช้จึงนำความที่พญานาคบอกว่าไปรบกันบนอากาศนั้นแก่พระอิศวรๆถือดาบขรรค์ไชยศรี เหาะขึ้นไปรบกับพญานาคบนอากาศ แล้วตัดหัวพญานาคด้วยดาบขรรค์ไชยศรีขาดตกไป ก็กลับเกิดเป็น ๒ หัว ตัด ๒ หัวกลับเกิดเป็น ๔ หัว ตัด ๔ หัวบังเกิดเป็น ๘ หัว ทวีขึ้นไปจนถึง ๑,๐๐๐ หัว พระอิศวรมีกำลังอิดโรยลงเป็นอันมาก

       ทันใดนั้นยังมีนาคหลานชายแห่งพญาสุวรรณนาคตัวหนึ่ง ชื่อว่าพุทโธธปาปนาค มีความโกรธเคืองแก่สุวรรณนาคยิ่งนัก ด้วยเหตุ

  • เชิงอรรถ –

ที่พังบ้านเมืองเขาให้ล่มจมเสียนั้น จึงได้นำความมาบอกแก่พระอิศวรว่า สุวรรณนาคที่รบอยู่บนอากาศนั้น หาใช่ตัวสุวรรณนาคไม่  ส่วนตัวสุวรรณนาคนั้น จำแลงตัวเป็นงูเล็กตัวหนึ่งอยู่ข้างล่าง แม้ท่านจะรบสักเท่าใดๆก็ไม่รู้แพ้แก่สุวรรณนาค เมื่อว่าแพ้งูน้อยข้างล่างนี้แล้ว อิทธิฤทธิทางอากาศของสุวรรณนาคก็จักศูนย์หายไปสิ้น  เมื่อพระอิศวรได้ทราบในคำบอกเล่าของพุทโธธปาปนาคดังนั้น จึงนิรมิตเป็นพังพอนเผือกให้ขึ้นไปรบทางบนอากาศ ส่วนตัวพระอิศวรเองนั้นมาซุ่มอยู่เบื้องล่าง จึงเห็นสุวรรณนาคนิรมิตตัวเป็นงูน้อยตัวหนึ่งโก่งหลังอยู่ที่หว่างเขานั้น พระอิศวรถือดาบขรรค์ไชยศรี เดินเข้าไปหาสุวรรณนาคๆเห็น จึงละเพศอันเป็นงูน้อยนั้นเสีย แล้วเข้ามาอ่อนน้อมกราบไหว้

       ขณะนั้นพระอิศวรจึงควงดาบขรรค์ไชยศรี พร้อมทั้งกล่าวว่ากูเวียนเกียนเวียน สุวรรณนาคระลึกถึงคำพูดของตัวแต่ก่อนที่ว่าจะออกเวียนด้วยอิทธิฤทธิ ให้เป็นภูเป็นดอยล้อมเมืองสุวรรณภูมิ เป็นเมืองพงพานไว้นั้น เหตุนั้น ภูลูกนั้นจึงได้ชื่อว่าภูกูเวียน และคำว่าไป่รู้จักเกล็ดกูหนอ ตัวกูไป่ตายมากุมหักคอถากเอาเกล็ด นี้เป็นคำพญาสุวรรณนาคหากกล่าวไว้ คนทั้งหลายซึ่งโกรธกัน ย่อมนำเอาคำอันนั้นมากล่าวแก่กัน

       แต่นั้นมา พระอิศวรและพระนารอท ก็พร้อมกันแต่งตั้งให้พระพานเป็นใหญ่ บารถมาสู่นางอุษา พระพานโกรธ สุวรรณนาค

  • เชิงอรรถ –

มีคำ “วังกัตตไนย”  ออกมาช่วยพระพานบังเลียบขึ้นไปมัดเอาบารถมาจากปราสาทนางอุษา ให้พระพานขัน๑ไว้ เป็นเหตุให้พระนารายน์สาธยายเวทมนต์ เป่าหอยสังข์เรียกเอาพระยาครุฑมาขี่ไปแย่งเอาบารถ แล้วมาสู้รบพระพาน สุวรรณนาคจึงมาบอกพระพาน ให้ตั้งเวียงกระดานหิน เวียงทางใต้นั้นไปบอกบารถ ให้บอกแก่พระกึดนารายน์ ตั้งพลศึกเวียนไปตามริมแม่น้ำที่อยู่แห่งสุวรรณนาค แล้วให้พระกึดนารายน์ขึ้นไปบนยอดภูกูเวียนยิงกราดเบื้องบนไว้ อย่าให้ทดถอยพลศึกที่ตั้งนั้น หากจักมีชัย แล้วก็มาอยู่ช่วยพระพาน เมื่อเวลาจักรบกันนั้น บารถจึงว่าแก่พระกึดนารายน์ว่า พระปู่เจ้าตั้งทัพเวียนไปตามริมแม่น้ำ แล้วขึ้นอยู่บนยอดภูกูเวียนยิงป้องกันไว้ภายบน พระกึดก็กระทำตามคำบารถบอก จึงยิงถูกพระพานตกจากรถ บารถจึงปืนฟื้นเอาพระพานขึ้นมาห้อยท้ายรถไว้ ที่นั้นจึงได้เรียกว่าแก่งซากมาเท่ากาลทุกวันนี้ และแม่น้ำที่สุวรรณนาคอยู่นั้น เรียกว่าแม่น้ำปู่เวียน

       พระอิศวร พระนารอทว่า ที่นั้นเป็น “อาสพฺพลญาณ” อันประเสริฐ จักตั้งบ้านสร้างเมืองไป่ได้ ถ้าหากว่าพระพานไปเป็นเชื้อวงศ์พระอิศวร สุวรรณนาคก็จักช่วยให้แก่พระกึดนารายน์ ถ้าหากว่าพระพานไป่ออกนอกเมือง และอยู่ในเมืองอันเป็น “อสพฺพลญาณ” ดังนั้น จักรบพระกึดนารายน์ก็ไป่แพ้

  • เชิงอรรถ ๑ ผูก,มัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น