วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

ตำนานอุรังคธาตุ ๑๑


ตำนานอุรังคธาตุ ๑๑

พราหมณ์ทั้ง ๕ จึงให้หมื่นหลวงกลางเมือง หมื่นประชุมเมือง นำเอาต้นรังผู้มากระทำให้เป็นลิน หมื่นกลางโรงและน้าเลี้ยงพ่อนมนั้นไปนำเอาต้นรังเมียมากระทำเป็นเสาลิน  หมื่นนันทอาราม หมื่นพระน้ำรุ่งนั้น ให้ไปนำเอาไม้คูนมากระทำเตียง  หมื่นแก่ หมื่นเชียงสา ให้ไปนำเอาไม้ยอมากระทำเป็นเท้าเตียง

       แล้วจุลมังคลพราหมณ์ จึงสาธยายอาคมไปตามริมแม่น้ำของถึงปากห้วยบางพวน เห็นมเหศักดิ์ตันคลอง เข้าไปถึงภูเขาหลวงได้ พบน้ำวังใหญ่วังหนึ่งว่าเป็นน้ำมงคล  ปัพพารนาคจึงเนรมิตเป็นผ้าขาวมาบอกให้ตักเอาน้ำเคีงแปวนั้น และให้ขึ้นเอาฟด๑ไม้เทิงโพ้นมาบิดน้ำไม่ให้หก

       พราหมณ์รู้ได้ว่าเป็นพญานาค จึงได้กระทำตามความบอกเล่าเมื่อขึ้นไปเอาฟดไม้บนต้นไม้สูง จึงได้เห็นกงจิตร์แก้วพระพุทธเจ้าอยู่ ณ ที่นั้น มีความยินดียิ่งนัก จึงเอาหินหมายไว้ แล้วกล่าวว่าโชติจักเกิดมีขึ้นในพื้นแผ่นดิน เหตุด้วยพระอรหันต์และพระยาจันทบุรี  พราหมณ์จึงได้พิจารณาดู เห็นยังคลองพระเนตรพระพุทธเจ้าสถิตที่นั้นคล้อยตกภูกูเวียน แล้วกลับคืนมายั้งแต่ปากห้วยนกยูงคำมาใต้  พราหมณ์กล่าวว่าชะรอยพระพุทธเจ้าจะทรงไว้กงจิตร์แก้วที่ภูกูเวียนนั้น ภายหน้าโพ้นพระพุทธศาสนาฝั่งฟากแม่น้ำของนี้จักรุ่งเรือง แต่ปากห้วยนกยูงคำนี้ลงไปทางใต้  ขณะนั้นคนทั้งหลายที่

  • เชิงอรรถ ๑ “ฟดไม้เทิงโพ้น” กิ่งไม้ข้างบนนั้น

ไปด้วยได้ยินคำพราหมณ์กล่าวดังนั้น จึงกฎหมายเอาคำที่ทำนายไว้แล้วสิทธิพราหมณ์จึงได้นำเรือล่องลงมาตามแม่น้ำของ จึงพูดกันว่าเราทั้ง ๕ นี้ มีมังคลพราหมณ์ผู้เป็นใหญ่กว่าเราทั้งหลายๆจงพร้อมกันไปดูกงจิตร์แก้วพระพุทธเจ้าที่หนองคันแทเสื้อน้ำวันนั้น  เราทั้งหลายก็มิได้พิจารณาดูคลองเนตรพระพุทธเจ้าแม้แต่สักคน ถึงแม้ว่าไชยพราหมณ์เป็นผู้เห็นก่อนเราก็จริง  ประดุจดังว่ามิได้เป็นพราหมณ์รู้จบไตรเพทเลย หรือว่าผีเสื้อน้ำมันกั้งกวม๑เราให้หลงความคิดไปเสีย  เราทั้ง ๒ มาสาธยายอาคมผาบ๒ผีเสื้อให้หลับอยู่ในหนองนั้นทุกตัว แล้วจงไปพิจารณาดูคลองเนตรพระพุทธเจ้าให้รู้แน่นอนแล้ว เราจะได้นำไปเล่าถวายพระยาสุมิตตธรรม

       ทันใดนั้น พราหมณ์ทั้ง ๒ จึงออกจากเรือไปสู่ริมหนองคันแทเสื้อน้ำตามเพศของตน ขึ้นงอยพิจารณาดูคลองเนตรแบ่งไปตกเวินพีนไกลนัก เมื่อเรากลับคืนไปจึงไปกราบทูลให้ทรงทราบเทอญ ชะรอยพระพุทธเจ้าจะทรงไว้กงจิตร์แก้วรอยพระบาทลักษณ์ที่นั้น คลองเนตรจึงได้กลับคืนมา

       วัฒนพราหมณ์จึงสาธยายอาคมไปตามริมแม่น้ำของฝ่ายเหนือ จึงได้ไปพบน้ำกูเวียนว่าเป็นมงคล สุวรรณนาคจึงเนรมิตเป็นผ้าขาวผู้หนึ่งออกมาบอกว่า  ให้ไปตักน้ำเคีงแปวเพียงหินเป้ง ๒ หน่วย๓นั้น

  • เชิงอรรถ ๑ “กั้งกวม” ปกปิด,กำบัง  ๒ “ผาบ” ปราบปราม  ๓ “หินเป้งสองหน่วย” หินใหญ่ ๒ ลูก

แล้วให้ขึ้นไปเอาฟดไม้เทิงภูกูเวียนมาแช่น้ำเมือเทอญ แล้วผ้าขาวผู้นั้นก็เดินหนีลงน้ำไป

       ทันใดนั้น พราหมณ์ทั้ง ๒ รู้ว่าเป็นพญานาค จึงกระทำตามความบอกเล่านั้นทุกประการ  เมื่อขึ้นไปหักเอาฟดไม้จิกเทิงภูกูเวียนนั้น จึงได้เห็นรอยกงจิตร์แก้วพระพุทธเจ้า มีความยินดียิ่งนัก จึงงอยพิจารณาดู จึงเห็นยังคลองเนตรพระพุทธเจ้า เปล่งให้ถูกเมืองท้าวคำบาง แล้วกลับคืนมายั้งเสมอหางดอน  พราหมณ์ทั้ง ๒ จึงกล่าวว่า ต่อไปภายหน้าโพ้น เมืองท้าวคำบางนี้ก็จักเสื่อมศูนย์ไป และที่หางดอนนี้พระพุทธศาสนาจะบังเกิดขึ้นในภายหน้า  พราหมณ์ทั้ง ๒ จึงว่า ชะรอยจุลมังคลพราหมณ์จะไปก้ำใต้ พบกงจิตร์แก้วพระพุทธเจ้าที่ภูเขาหลวงนั้นเป็นแน่

       ทันใดนั้น พราหมณ์ทั้ง ๒ จึงลงมาสู่ที่พักของนางทั้ง ๒ พิจารณาดูตามคลองพระเนตรก้ำขวาของพระพุทธเจ้า ทอดข้ามแม่น้ำเปล่งไปโพนจิกเวียงงัว กลับวกเวียนขึ้นไปริมหนองมงคล เหนือท้องพระโรงพระยาจันทบุรี  พราหมณ์ทั้ง ๒ จึงกล่าวว่า ต่อไปภายหน้าโพ้น พระพุทธศาสนาจะมาประดิษฐานรุ่งเรืองอยู่ที่ศาลจอด๑นี้ มาข้อนอยู่ที่ห้วยมงคล  เมื่อว่าพระเนตรข้างขวาของพระพุทธเจ้ามิได้ทอดข้ามแม่น้ำคืนมา  พระพุทธศาสนาและบ้านเมืองก็จักรุ่งเรืองเลยขึ้นไปถึงคราว ๒๐,๐๐๐ และคนที่ไปด้วยนั้นได้ยินก็กฎหมายเอาไว้

  • เชิงอรรถ ๑ “ศาลจอด” ที่พักหรือที่ประทับชั่วคราว

พราหมณ์ทั้ง ๒ จึงมาสู่เรือล่องตามลำน้ำมาที่ศาลจอด  จุลมังคลพราหมณ์มาถึงก่อนจึงท้วงขึ้นว่า เจ้าทั้ง ๒ นี้มีเกล้าอันยาวประเสริฐกว่าผู้ข้า ส่วนผู้ข้าก็มาลืมความคิดเสีย  พราหมณ์ทั้ง ๒ จึงว่า สาธุ สาธุ ได้บุญก็เจ้าส่วนหนึ่งเทอญ

       จุลมังคลพราหมณ์มีความยินดี จึงถอดแหวนธำมรงค์ให้กับพราหมณ์ทั้ง ๒ นั้นคนละลูก แล้วพราหมณ์ทั้ง ๕ จึงปฏิสัณฐารซึ่งกันและกัน ครั้นเสร็จแล้วจึงเชิญให้นางทั้ง ๒ ขึ้นนั่งบนเตียง แล้วนำเอามายังน้ำวังใหญ่ที่ภูเขาหลวงนั้นมาโสรจสรง  นางมังคลทปาลังให้เป็นอัครมเหษีฝ่ายขวา และเอาน้ำปู่เวียนมาสระสรงนางมังคลมงคลกตัญญู ให้เป็นอัครมเหษีฝ่ายซ้าย เมื่อเสร็จการพิธีแล้ว  พราหมณ์ทั้ง ๕ จึงนำเอาพานทองคำมาใส่เครื่องคารวะพร้อมด้วยเผียกเส้นเขตต์แดน เข้าไปถวายนางทั้ง ๒ เพื่อให้นางทั้ง ๒ นำเข้าไปถวายพระยาจันทบุรี  เมื่อพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นจึงทรงทราบได้ว่าเขตต์แดนบ้านเมืองทิศใต้ ให้ตั้งแต่ปากกะดิงมาถึงเมือง  ทิศเหนือตั้งแต่ดอยนันทกังรีมาจดเมือง ทางนอกตั้งแต่เมืองแกตรงไปทิศใต้เสมอปากกะดิงตรงขึ้นไปทิศเหนือเสมอดอยนันทกังรี  ฝั่งฟากน้ำเมืองสุวรรณภูมิเป็นเมืองท้าวคำบางมาแต่ริมน้ำงึมทั้งสิ้น

       ขณะนั้น คนทั้งหลายเห็นพระยาจันทบุรีทรงเลื่อมใสยินดีในรสธรรมอันพราหมณ์ทั้ง ๕ บอกว่าเป็นหน่อพุทธังกูร  หมื่นกลางเมือง หมื่นรามเมือง หมื่นประชุมนุมเมือง หมื่นพระน้ำรุ่ง

  • เชิงอรรถ  -

หมื่นเชียงสา หมื่นแก่ หมื่นกลางโรง และหมื่นนันทอาราม  ทั้งนี้มีนางและข้าทาษบริวาร ๑๐๐ ช้างพลายเชือกหนึ่ง ช้างพังเชือกหนึ่ง ม้า ๒ ม้า พร้อมทั้งควาญและนายม้า คำ ๑๐,๐๐๐ เงิน ๑๐๐,๐๐๐ พร้อมทั้งเสื้อผ้าเสมอกันทุกเมือง มาบาสีช่วยโอมน้าเลี้ยงพ่อนม มีดาบขรรค์ไชยศรีด้ามแก้ว ๔ เล่ม ฝักคำ๑ ดาบด้ามแก้ว ๔๐ เล่ม ขันทองคำลูกหนึ่ง ขันเงินลูกหนึ่ง  ของเหล่านี้เป็นทรัพย์สมบัติมรดกของเจ้าสังขวิชกุมารได้มาแต่เมืองร้อยเอ็ดประตู นำเอามาถวายในการบาสีพระยาจันทบุรี

       เมื่อพระองค์ทรงรับของเหล่านี้แล้ว จึงตรัสถามน้าเลี้ยงพ่อนมว่า  เจ้าสังขวิชกุมารเป็นโอรสของผู้ใด  น้าเลี้ยงพ่อนมจึงทูลว่า เจ้าสังขวิชกุมารนี้ เป็นโอรสพระยาสุริยวงศาสิทธิเดชธรรมิกราชาธิราชเอกราช เมืองร้อยเอ็จประตู  ผู้ข้าทั้ง ๒ พร้อมด้วยหมื่นกลางโรง จึงได้อุปัฏฐากเลี้ยงดูมาแต่ยังเยาว์  เวลานี้เธอออกบวชได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์อยู่ที่โพนจิกเวียงงัวฟากเมืองนั้น และข้าน้อยได้สร้างวิหารถวายให้ท่านอยู่ในที่นั้น

       พระยาจันทบุรีจึงตรัสถามหมื่นกลางโรงว่า  ท่านได้แจ้งด้วยเหตุใดว่าพระอรหันต์อยู่ในสำนักที่นี้มี ๓ องค์  หมื่นกลางโรงจึงทูลว่า  ข้าน้อยได้สร้างหอแพขาวถวายให้เป็นที่อยู่ของพระอรหันต์ที่โพนจิกเวียงงัวนั้น ๓ องค์ และข้าน้อยได้สร้างวิหารถวายให้เป็นที่อยู่

  • เชิงอรรถ “ฝักคำ” คร่ำทอง 


ของพระอรหันต์ที่เมืองลาหนองคายนั้น ๒ องค์ คือเจ้าสังขวิชกุมารองค์หนึ่ง พร้อมทั้งพระอรหันต์ที่เป็นอาจารย์เป็น ๘ องค์ด้วยกัน

       พระยาจันทบุรีจึงตรัสว่า  ถ้าเราไม่มารับนาง ก็เท่ารู้แต่ว่าพระอรหันต์มีอยู่ในเขตต์เมืองเรานี้ ๒ องค์ ที่เราได้อุปัฏฐากนั้นเท่านั้น  บุญอันนั้นจึงได้มาค้ำชูเราเป็นดังนี้ แล้วพระองค์จึงตรัสถามต่อไปว่า  เวลานี้พระอรหันต์ยังอยู่หรือ  หมื่นกลางโรง น้าเลี้ยงพ่อนม จึงทูลว่า  เวลานี้พระอาจารย์ทั้ง ๓ ได้นำไปสู่เมืองราชคฤห์นครได้ ๓ วันนี้ แล้วพระองค์จึงตรัสถามอีกว่า  ท่านยังจะกลับคืนมาหรือๆว่าไม่มา ถ้ามาจะมาวันใดเมื่อไร  หมื่นกลางโรง น้าเลี้ยงพ่อนม จึงทูลว่า  พระอรหันต์ท่านได้สั่งกับข้าน้อยทั้ง ๒ ว่า จะกลับมาในวันปรืนนี้  พระยาจันทบุรีทรงยินดีจึงตรัสว่า สาธุ สาธุ แล้วพระองค์เอาทองคำพระราชทานให้กับ หมื่นแก่ หมื่นกลางโรง น้าเลี้ยงพ่อนม คนละ ๑๐๐,๐๐๐ ตำลึง จึงตรัสว่า  เราจักยั้งอยู่คอยพระอรหันต์ ผิว่าบุญมีก็หากจักได้นมัสการ

       ขณะนั้น คนทั้งหลายจึงพูดกันว่า  พระยาจันทบุรีพระองค์ได้ราชสมบัติเหล่านี้ด้วยเหตุใด  ลางคนพูดว่า ได้ด้วยบุญสมภารที่ได้สร้างสมมาแต่ปางก่อน  ลางคนพูดว่า ได้ด้วยบุญสมภารที่ได้สร้างมาแล้วนั้น เรามีความสงสัย แล้วพูดว่า เราบ่เห็นอย่าฟ้าวห่อนว่า๑ คำเหล่านี้ไม่ใช่  พระยาจันทบุรีได้ยศศักดิสมบัติด้วยบุญสมภารแห่ง

  • เชิงอรรถ “เราบ่เห็นอย่าฟ้าวห่อนว่า” เราไม่เห็นอย่าพึงพูดไป 

พระยาสุมิตตธรรมวงศา พระองค์จึงให้พราหมณ์ราชาภิเษก  ลางคนว่าได้ด้วยพญาสุวรรณนาคและเทวดาทั้งหลายให้เป็นเมือง แล้วพระยาสุมิตตธรรมจึงให้มาราชาภิเษกทีหลัง  ลางคนว่าได้ด้วยบุญที่พระองค์กระทำในปัจจุบันฉะพาะหน้า พญานาคจึงให้ขวดไม้จันทน์ เทวดาจึงมาช่วยทะนุบำรุงดอก  พระยาจันทบุรีได้ทรงสดับก็เสด็จออกมารับสั่งถามเขาทั้งหลายว่า  เมื่อตะกี้นี้สูเจ้าทั้งหลายปราสัยกันด้วยเหตุสิ่งใด เขาทั้งหลายเหล่านั้นจึงกราบทูลว่า   ข้าน้อยทั้งหลายประสังข์สิทธิ์กิตนาจาเถิงบุญคุณมหาราชเจ้าที่เป็นใหญ่ก็ข้าแล แล้วพระองค์จึงตรัสว่า  สูเจ้าทั้งหลายจงพากันฟังเถิด เราจักกล่าวยังปัญหาอุปมาให้สูเจ้าทั้งหลายแจ้ง

       ยังมีจิตตาอันหนึ่ง เทวดาหากริจนาควัดแล้วบริบูรณ์และกานตาอีกอันหนึ่ง บุคคลหากกระทำไว้ด้วยคลั่งลาน เทวดาจึงเอาจิตต์มาจำกานตาอันนั้นให้เป็นรูปและหนังสือชื่อนามแห่งมหากษัตริย์ แล้วบุคคลจึงเขียนลงใบลานสืบตามความพอใจ อันนั้นจะเป็นสิ่งใดเล่า แล้วพระองค์ตรัสเป็นคาถาที่พระองค์ได้ทรงสดับมาแต่สำนักพระอรหันต์ว่า

    • ปุพฺเว  สนฺนิวาเสน          ปจฺจุปฺปนฺนหิเตน  วา
    • เอวนฺเต  ชายเต เปมํ         อุปฺปลํว  ยโถทเก
    • กานานํ  รกฺขติ  สิหํ            สีโห  รกฺขติ  กานานํ
    • น  ภเช  ปาปเกมิตฺเต  กลฺยาเณ       ภเชถ  ปุริสุตฺตเม “
  •  เชิงอรรถ –

       อธิบายว่า  ความรักพระยาสุมิตตธรรมมีในพระยาจันทบุรีด้วยเหตุที่ทั้งพระองค์ได้ร่วมอยู่กินด้วยกันมาแต่ในชาติก่อน ทั้ง ๒ พระองค์จึงได้มีความรักซึ่งกันและกัน  ประการหนึ่งรักกันด้วยอันเป็นประโยชน์และเป็นคุณในอัตตภาพชั่วนี้ เป็นดังดอกอุบลและน้ำมาถูกต้องกันเข้าจึงชื่นบาน

       อธิบายครั้งที่ ๒ ว่า  ป่าเป็นที่อาศัยและรักษายังราชสีห์ให้อยู่มีความสุข ราชสีห์ก็รักษายังป่าไว้ให้ดกหนา  ชาติท้าวพระยามหากษัตริย์ต่างประเทศใช้มาก็อย่าได้ห้าม  เปรียบประดุจดังน้ำมหาสมุทร แม่น้ำใหญ่น้อยทั้งอวลย่อมไหลไปสู่ที่นั้นตลอดถึงกัน ไม่มีสิ่งกีดกั้นให้ไหลเข้ามาทั้งกลางวันและกลางคืน อันนี้ฉันใด

       อธิบายครั้งที่ ๓ ว่า  บุคคลผู้เป็นนักปราชญ์ ไม่เคยได้เสพยังมิตรชั่วช้าคนบาปอธรรม ย่อมเสพแต่มิตรผู้มีบุญเสมอกันหรือยิ่งและเป็นชายผู้ประเสริฐ  พระยาจันทบุรีตรัสดังนี้ แล้วทรงรำพึงดูในปัญหาที่พระยาสุมิตตธรรมอภัยโทษที่พระองค์ได้นำเอานางอินทสว่างลงฮอดมาเป็นเมีย และพระองค์ได้นำเอานางทั้ง ๒ มาถวายและทรงให้ชื่อนางมาให้เราปรากฏ  นางคนที่ชื่อมังคลทปาลังนั้นว่าพญานาคให้แก้ว ๗ ประการเป็นอันประเสริฐยิ่งนัก และเราบ่มิได้เอาไว้กับตัวเราบุรีจัน  เรานำเอาแก้ว ๗ ประการไปถวาย  โรงหลวงปราสาทและอุทยานจึงบังเกิดมีแก่พระยาสุมิตตธรรมดอกหนา  ดังนี้พระองค์จึงได้ให้ชื่อนางมาว่ามังคลทปาลัง นั้นแล

  • เชิงอรรถ –

       พระยาจันทบุรีพระองค์ซ้ำรำพึงดูนางผู้ถ้วน ๒ ที่ชื่อมังคลกตัญญูนั้น ให้รู้ว่าพระราชทานตอบคุณที่ได้แก้ว ๗ ประการและได้เป็นใหญ่ในชมพูทวีป  ท้าวพระยาทั้งหลายได้นำเอามาถวายดังนี้ จึงให้ชื่อนางนั้นมาว่ามังคลกตัญญู ที่พระยาสุมิตตธรรมอภัยโทษที่เราได้นำเอานางอินทสว่างลงฮอดมาเป็นเมียนั้น พระองค์จึงให้พราหมณ์ทั้ง ๕ มาราชาภิเษกและให้เขตต์แดนเพื่อเหตุนี้

       พระยาจันทบุรีทรงรู้แจ้งในปัญหาเหล่านี้ในพระทัยแล้ว จึงแสร้งกล่าวคาถาบทหลังให้พราหมณ์ทั้ง ๕ ได้ยิน  ที่จริงนั้นพราหมณ์ทั้ง ๕ ได้นำเอานางมาพร้อมแล้ว แต่มิได้ถวายเมื่อราชาภิเษกนั้น  พระองค์ทรงคำนึงถึงใจแห่งคนทั้งหลาย มีหมื่นหลวงกลางเมืองเป็นต้น  พระองค์จึงตรัสเป็นคาถาว่า “โกโธ  ปลาโส  กติมาโน  มายา  สาเถยฺย  อิจฺฉา  อุปฺปเนญหตพฺโพ  สารกมาโน  อสํมิเชยฺย  มจฺเฉริยโก  สชฺชมทฺโท  มุตฺถสฺสติ  ทุปญฺญา  ทุพฺพจฺจ  ทุเสวิ  อหิริกํ  พุทิฏฺฐี  อสฺสติโก  อินฺทฺริยสํวโร  อตฺถติโก  โอภาสิโก  มหิจฺโฉ  โอตฺตปฺป  อขนฺติ  คุรุจตฺโต  อขิริยา  อตฺถิ  มหิทสฺสนํ  อสํกิจฺจ  ถิรี” ดังนี้

       พระยาจันทบุรีทรงทราบตลอดแล้วว่า  พราหมณ์ทั้ง ๕ มีศีลประเสริฐแท้ แต่ทว่าคนทั้งหลายที่เป็นบุถุชน หากบุญแพ้แต่งแปงเอา  พระองค์จึงตรัสแก่คนทั้งหลาย ว่าบุคคลเกิดมาในโลกนี้ มีความมักโกรธหนึ่ง ลืมคุณท่านหนึ่ง มีมานะมากหนึ่ง มีมายาอันปกปิดบาปไว้หนึ่ง มีความคดในข้องอในกระดูกและใจหนึ่ง มีความชอบ

  • เชิงอรรถ –

ฤษยาแก่ท่านหนึ่ง มีความโกรธแล้วอาฆาตหนึ่ง มีใจกระด้างดังเสาหินหนึ่ง ติเตียนผู้เฒ่าผู้แก่และสมณพราหมณ์หนึ่ง มีใจมานะนิดหน่อยหนึ่ง  ๑๐ ประการฉะนี้ ย่อมมีแก่บุคคลผู้บมิได้เป็นนักปราชญ์ ย่อมให้บังเกิดขึ้นในตนตัว เมื่อว่าเป็นดังนี้

       คนทั้งหลายเหล่านี้ หามิตรให้เป็นประโยชน์แก่ตนบ่ได้ เทียรย่อมมักตระหนี่พ้นประมาณ มักเกียจคร้านภาวนา เท่าชอบยังกามคุณและมัวเมาอยู่เป็นนิตย์ และมีความประมาทปราศจากสติและหาปัญญามิได้  เป็นผู้ว่ายากสอนยาก เทียรย่อมเสพมิตรผู้ที่ชั่วและเป็นผู้บ่มีละอายต่อบาป และเป็นผู้รู้ปลิ้นจากคำเจ้าตน และเป็นผู้ไม่เชื่อคำสอนพระพุทธเจ้า จึงบ่มิได้สำรวมอินทรีย์ของตน  เป็นผู้ไม่ชอบสันโดษ มักมากด้วยอาหาร มักมากด้วยสมบัติ ไม่มีความพยายามละเสียจากบาป และเป็นผู้ไม่มีความอดใจ ไม่มีความยำเกรงต่อครูบาอาจารย์ของตน จึงหาสังขริยธรรมอันขาวในใจบ่ได้  เท่ามองดูแต่ชายผู้ถ่อย แล้วไปมั่วสุมกับด้วยชายผู้นั้น จึงได้หลงอยู่ไม่รู้พ้นไปได้แล

       คนทั้งหลายได้ยินดังนั้น ก็มีความคิดถึงโทษของตนเป็นอัศจรรย์ ยิ่งมีความเลื่อมใสในพระยาจันทบุรี ว่าเป็นดังพระองค์ได้เห็นด้วยพระเนตร และทรงสั่งสอนพวกเราทั้งหลายให้รู้ยังคลองที่แท้จริง แล้วเขาทั้งหลายจึงพร้อมกันไหว้กราบทูลว่า  เมื่อเป็นดังนั้นบาปจักมีอย่างไร  พระยาจันทบุรีจึงตรัสเป็นคาถาว่า

  • เชิงอรรถ –

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น