วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

ตำนานอุรังคธาตุ ๑๗


ตำนานอุรังคธาตุ ๑๗

กัสสปะเถระเจ้าผู้อัครสาวก  พระอรหันต์พร้อมด้วยท้าวพระยาทั้ง ๕ กับทั้งเสนาอำมาตย์เห็นเป็นอัศจรรย์ดังนั้น ก็เปล่งออกยังเสียงสาธุการขึ้นพร้อมกัน

       ครั้งนั้น พระมหากัสสปเถระเจ้า ระลึกถึงพระพุทธวจนะที่พระศาสดาตรัสสั่งไว้ว่า  ให้นำเอาพระอุรังคธาตุไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า พระศาสดามิได้ทรงสั่งให้ฐปนาไว้  พระมหากัสสปเถระเจ้ารู้แจ้งแล้วแสร้งกล่าวว่า  ชะรอยว่าพุทธวิสัยทรงมองเห็นว่า จักมีบุคคลทั้งหลายที่เป็นเชื้อเนื้อหน่อพุทธวงศาและเชื้อเนื้อหน่อพระอรหันต์ จักเกิดมีในกาลภายหน้านั้น จะได้มาบูรณปฏิสังขรณ์ต่อไป  บัดนี้เราทั้งหลายอย่าได้ฐปนาไว้ตามพระพุทธวจนะนั้นเลย

       ทันใดนั้น พระอุรังคธาตุก็ทำปาฏิหาริย์เสด็จกลับไปประดิษฐานในอุโมงค์  ผ้ากัมพลก็คลี่คลายขยายออกรองรับ พระอุรังคธาตุก็เสด็จเข้าไปประดิษฐานอยู่ดังเก่า

พระยาสุวรรณภิงคารทอดพระเนตรเห็นเป็นอัศจรรย์  ทรงระลึกถึงถ้อยคำของพระมหากัสสปเถระเจ้าห้ามไว้แต่ก่อน พระองค์ทรงสะดุ้งพระทัย  ท้าวพระยาทั้ง ๕ จึงได้พร้อมกันสร้างบานประตูอุโมงค์ด้วยไม้ประดู่ใส่ดานปิดไว้ แล้วทรงแต่งให้คนทั้งหลายไปนำเอาหินที่เมืองกุสินารายมาก้อนหนึ่ง  ทำเป็นรูปอัจฉมุขีไว้ที่กก ฝังไว้ทิศเหนือ หมายเมืองมงคลในชมพูทวีป แล้วให้นำเอาหินมาแต่เมืองพาราณสีก้อนหนึ่ง  ทำเป็นรูปไว้กก ฝังไว้ทิศใต้หมายเมืองมงคล แล้ว

  • เชิงอรรถ –

ให้ไปนำเอาหินมาแต่เมืองลังกาก้อนหนึ่ง  ฝังไว้ด้านตะวันออก  มุมใต้เอามาแต่เมืองตักกสิลาก้อนหนึ่ง ฝังไว้ด้านตะวันตก  มุมเหนือจึงให้สร้างเป็นรูปม้าอาชาไนยไว้หมายด้านเหนือว่า พระอุรังคธาตุพระพุทธเจ้าได้เสด็จออกมากระทำปาฏิหาริย์  รู้ในคำพระพุทธวจนะ ทรงพยากรณ์ไว้ในศาสนานครนิทาน  อยู่ทิศเหนือเจือไปทิศใต้  ให้เอาหางม้าอาชาไนยหันไปทางเหนือ เพื่อเหตุนั้น

       อนึ่ง พระยาสุวรรณภิงคารพระองค์ได้ทราบที่พระศาสดาตรัสเทศนาในนิทานจึงให้สร้างไว้  พระมหากัสสปเถระเจ้าให้สร้างรูปม้าพลาหกตัวหนึ่ง ผินหางมาทางเหนือ เรียงอยู่กับม้าอาชาไนยนั้น หมายว่าพระยาติโคตรบูรนั้น จักได้ฐปนาพระอุรังคธาตุไว้ค้ำชูพระพุทธศาสนาตลอด ๕๐๐๐ พระวรรษา  เกิดก้ำฝ่ายใต้ขึ้นไปเหนือ  เป็นประดุจดังม้าพลาหกตัวประเสริฐนี้แล  ม้าอาชาไนยและม้าพลาหกนี้  พระอรหันต์ทั้ง ๕ รู้แจ้งในปัญหาบุพเพนิวาสญาณและปรสัญญิตญาณ จึงได้ประพันธ์เข้าไว้ในนิทานอันนี้  นักปราชญ์ทั้งหลายดูแล้วได้พิจารณาไปในปรมัตถธรรมนั้นเทอญ

       ครั้งนั้น พระมหากัสสปเถระเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ จึงกระทำปทักษิญวาร ๓ รอบ  ท้าวพระยาทั้งหลายจึงได้พร้อมกันอธิษฐาน เวนข้าวของเงินทองพร้อมด้วยเครื่องอุปโภคทั้งสิ้น ประดิษฐานสักการบูชารองไว้ภายใต้พื้นอุโมงค์นั้นด้วยคำว่า  “ข้าวของทั้งหลายนี้เป็นพุทธสันตกะ ตราบต่อเท่า ๕๐๐๐ พระวรรษานั้นเทอญ”

  • เชิงอรรถ –

       ขณะนั้น พระยาสุวรรณภิงคารและพระยาคำแดงทั้ง ๒ พระองค์ทรงปรารถนาว่า ขอให้ได้บวชในพระพุทธศาสนาสำเร็จเป็นพระอรหันต์และของให้ข้าพเจ้าทั้ง ๒ พี่น้องนี้ จงอย่าได้พลัดพรากจากกันไปได้เทอญ

       พระยาจุลณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนคร ทรงได้ยินในความปรารถนาของพระยาทั้ง ๒ ดังนั้น ก็ทรงพระสรวลเย้าหยอกว่า  เมื่อทรงก่ออุโมงค์นั้น พระยาเจ้าพี่น้องและข่อยทั้งหลายก็ยังพร้อมกันก่อและยังหาได้ปรารถนาเอาสิ่งใดไม่  พระองค์ทั้ง ๒ ทำไมจึงไม่ชักจูงข่อยทั้งหลายด้วยเล่า

       พระยาสุวรรณภิงคารจึงทูลว่า  ความปรารถนานี้มีต่างๆกัน  ข่อยบ่ได้ชวนเพื่อเหตุนั้น  มีคำโบราณว่า “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่”  เมื่อว่าจะเทียวทางด้วยกัน ก็ปรารถนาตามกันเทอญ

       ขณะนั้น พระยาจุลณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนคร พร้อมกัน  ทรงปรารถนาไปเกิดร่วมพระบิดามารดาเดียวกัน และให้ได้บวชในพระพุทธศาสนา สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ประดุจดังพระยาเจ้าพี่น้องทั้ง ๒ พระองค์นั้นเทอญ  พระยานันทเสน ทรงปรารถนาว่า  สาธุ สาธุ ผู้ข้าได้ก่ออุโมงค์ด้านหนึ่งเป็นส่วนของผู้ข้า  ขอให้ผู้ข้าได้ออกบวชในพระพุทธศาสนา สำเร็จเป็นพระอรหันต์องค์ที่ ๕ นั้นเทอญ

       ครั้งนั้น พระอรหันต์ทั้ง ๕๐๐ มีพระมหากัสสปเถระเจ้าเป็นประธาน พร้อมกันอนุโมทนาในความปรารถนาของพระราชาทั้ง ๕ ว่า ขอความปรารถนานั้นๆจงสัมฤทธิตามพระราชประสงค์ทุก

  • เชิงอรรถ –

ประการเทอญ

       แล้วพระอรหันต์ทั้ง ๕๐๐ ก็เสด็จไปสู่เมืองราชคฤห์โดยทางอากาศ เพื่อจักได้กระทำปฐมสังคายนาย

       ท้าวพระยาทั้งหลาย พร้อมด้วยพระอนุชาและพระราชบุตร ชุมนุมสั่งทูลลาซึ่งกันและกัน  ขณะนั้น พระยานันทเสนจึงปฏิสัณฐานถึงพระยาสาเกตนครและพระยากุรุนทนครว่า  ทำไมพระราชาทั้ง ๒ จึงไม่เสด็จมาก่ออุโมงค์กับด้วยเราทั้งหลายเล่า  พระยาคำแดงจึงทูลว่า  พระอรหันต์ไม่ได้นำพระอุรังคธาตุพระพุทธเจ้าเสด็จมาทางนั้น  พระอรหันต์ท่านนำพระอุรังคธาตุเสด็จมาทางเมืองหนองหานหลวง  ผู้ข้ารู้ข่าวจากพระอรหันต์ที่เข้าไปบิณฑบาตในเมืองหนองหานน้อย ผู้ข้าจึงได้รีบลัดตัดมาซ้ำไป่ทัน

       พระยาสุวรรณภิงคารตรัสว่า  พระยาจุลณีพรหมทัตอยู่ฟากฝั่งแม่น้ำนั้นเท่านั้น  พระยาอินทปัฐนครนั้นอยู่ไกล  พระองค์ก็ยังรู้ข่าวได้เสด็จมาทันพระอรหันต์ทั้งหลายก่ออุโมงค์

       บุคคลทั้งหลายเกิดมาในโลกนี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารกตาธิการแต่ชาติก่อนไว้มามาก จึงได้มาพบสิ่งประเสริฐยิ่งกว่าประเสริฐ  เมื่อพระพุทธเจ้ายังไป่เสด็จเข้าสู่พระนิพพานครั้งนั้น พระองค์เสด็จมาสุมรอยพระบาทไว้ที่ริมหนองหานหลวง ทรงเทศนาแก่ผู้ข้าว่า


    •        “กิจฺโฉ  มนุสฺสปฏิลาโภ       กิจฺฉํ  มจฺจาชีวิตํ
    •        กิจฉํ  ธมฺมสฺสวนํ        กิจฺโฉ  พุทฺธานํ  อุปฺปาโท” ดังนี้
  • เชิงอรรถ –
       อธิบายว่า บุคคลทั้งหลายที่เกิดมาในวัฏฏสงสารนี้ จักได้เป็นมนุษย์ยากนัก  อนึ่ง จักให้มีชีวิตและเลี้ยงชีวิตโดยชอบยากนัก  อนึ่ง จักได้ฟังพระสัทธรรมเทศนาและรู้ในธรรมนั้นยากนัก  อนึ่ง จักได้มาพบพระพุทธบาทศาสนานี้ก็ยากเย็นนัก  ด้วยเหตุว่าอุปนิสสัยแต่หนหลังมิได้มี

       บัดนี้เราเจ้าข่อยทั้งหลาย  ได้มาพบพระอรหันต์ ๕๐๐ และได้พร้อมกันก่ออุโมงค์ประดิษฐานพระอุรังคธาตุพระศาสดาครั้งนี้  เราเจ้าข่อยพี่น้องก็จะได้พ้นจากทุกข์ในวัฏฏสงสาร  จะได้ถึงซึ่งความสุขคือพระนิพพานในภายหน้านั้น บ่สงสัยแท้จริง

       พระยาจุลณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนคร พระยานันทเสน และพระยาคำแดง ได้ทรงสดับพระคาถาที่พระยาสุวรรณภิงคารทรงแสดง  มีพระทัยชุ่มชื่นประดุจดังบุคคลเอาน้ำอมฤตมาโสรจสรงฉะนั้น  พระยาจุลณีพรหมทัต ทรงนำเอาทองคำ ๕๐๐ แน่นไหนึ่งหนัก ๓๐๐  พระยาอินทปัฐนครทรงนำเอาเงินแป ๓๐๐,๐๐๐  พระยาคำแดงทรงนำเอาเงินด้วง ๓๐๐,๐๐๐  ท้าวพระยาทั้ง ๔ น้อมนำเอามายังเครื่องบรรณาการทั้งหลายนี้ เพื่อถวายบูชาพระคาถาที่พระองค์ทรงนำเอามาแสดงวันนั้น

       ขณะนั้น พระยาสุวรรณภิงคาร ทรงจูงพระหัตถ์พระยาทั้ง ๔ เป็นต้นว่า พระยาคำแดง พระยาจุลณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนคร

  • เชิงอรรถ –

และพระยานันทเสน แล้วต่างทูลลาซึ่งกันและกัน  เสด็จจากภูกำพร้าคืนสู่พระนครแห่งตนๆ  กล่าวตอนที่พระอรหันต์ทั้ง ๕๐๐ มีพระมหากัสสปเถระเจ้าเป็นประธาน พร้อมด้วยพระยาทั้ง ๕ ก่ออุโมงค์ประดิษฐานพระอุรังคธาตุไว้ที่ภูกำพร้าก็เสร็จสิ้นความแต่เท่านี้

       เมื่อท้าวพระยาทั้ง ๕ เสด็จจากกันไปแล้ว  พระยาอินทาธิราชพร้อมด้วยวิสสุกรรมเทวบุตร ก็เสด็จมากระทำสักการบูชาพระอุรังคธาตุพระพุทธเจ้า  วิสสุกรรมเทวบุตรจึงทันมายังเทวบุตรเทวดาทั้งหลายที่มีชื่อบัญญัติตามสกุลวงศา  เทวดาที่มีชื่อบ่มิได้ปรากฏให้มาชุมนุมกัน แล้วสั่งให้ถือเครื่องสักการบูชาและเครื่องอุปัฏฐากพร้อมกันสิ้น  ส่วนจตุรังคเทวบุตรทั้ง ๔ มีบริวาร ๑,๐๐๐  ให้เป่าหอยสังข์นำหน้า

       ถัดนั้น เทวดาทั้งหลาย เป็นต้นว่า ถือธง ๑,๐๐๐ ตน  ถือดอกสังกา ๑,๐๐๐ ตน  ถือดอกโกมุท ๑,๐๐๐ ตน  ถือดอกโกสุม ๑,๐๐๐ ตน  ถือทานตะวัน ๔๐ ตน  ถือเสวตรฉัตร ๔๐ ตน  ถือพัดโบก ๔๐ ตน  ถือจามร ๔๐ ตน  เทวดาทั้งหลายนี้ เมื่อเสด็จมาถึงภูกำพร้าแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระยาอินทร์ๆจึงให้บุปผาเทวบุตร นำไปบูชาอุโมงค์พระอุรังคธาตุทุกๆด้าน

       ส่วนเทวดาทั้งหลายอีกพวกหนึ่ง ถือประทีปทองคำ ๔๐๐ ตน  ถือพานเงินรองเทียนทองคำ ๔,๐๐๐ ตน  ถือพานนากรองเทียนทองคำ ๔๐๐ ตน  ถือพานทองรองเทียนทองคำ ๔๐๐ ตน  ถือพานทองคำ

  • เชิงอรรถ –

รองธูป ๔๐๐ ตน  ถือพานข้าวตอกทองคำ ๔๐๐ ตน  ถือโคมไฟ ๔๐๐ ตน  เครื่องทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อเทวดาทั้งหลายแห่ห้อมมาถึงภูกำพร้า แล้วก็นำไปถวายพระยาอินทร์ๆตรัสสั่งให้อัคคิหุตเทวบุตร นำไปตั้งเรียงรายบูชาให้เสมอกันทุกๆด้าน

       ส่วนอัสสวลาหกเทวบุตร มีบริวาร ๑,๐๐๐ ถือหางนกยูงทอง  นรคันธรรพเทวบุตร มีบริวาร ๑,๐๐๐ ถือเครื่องประโคม  ปัญจสิกขเทวบุตร มีบริวาร ๑,๐๐๐ ถือพิณทองคำ  อังกุรเทวบุตร มีบริวาร ๑,๐๐๐ ถือติบ  สุมิตตเทวบุตร ถือน้ำเต้าแก้วมณีฝาทองคำประดับเพ็ชร์  สุวรเทวบุตร ถือพานทองคำรองอูบเมี่ยงแก้วผลึก  สุปติฏฐิตเทวบุตร ถือพานแก้วไพฑูรรองพานแก้วมหานิล  นางสุจิตรา เป็นผู้ทรงตกแต่ง

       ถัดนั้น โธธนาคเทวบุตร ถือพานทองคำรองน้ำเต้าทองคำประดับเพ็ชร์  อุชชกเทวบุตร ถือพานทองคำรองอูบเมี่ยงทองคำ  สุเทพเทวบุตร ถือพานทองคำเครื่องแก้วผลึก  นางสุนันทา เป็นผู้ตกแต่ง

       ถัดนั้น มัณฑกเทวบุตร ถือพานเงินรองน้ำแก้ววรรณคำ  อุลุก

  • เชิงอรรถ –

เทวบุตร ถือพานทองคำรองอูบคำประดับแก้วมุกดาหาร  มัฏฐกุณฑลีเทวบุตร ถือพานหมากทองคำไป่รู้เหี่ยว เท่า ๕๐๐๐ พระวรรษา  เครื่องเหล่านี้  นางสุธรรมา เป็นผู้ตกแต่ง  สุปิยเทวบุตร ถือพานทองคำรองน้ำอบน้ำหอม  มาตลิเทวบุตร ถือพานทองคำรองข่ายดอกมะลิเทศ

       ถัดนั้น จตุรังคเทวบุตร ๔ ตน ถือขรรค์ไชยศรีด้ามแก้ววชิรเพ็ชร์ฝักทองคำ เดินตาม ๒ ตราบข้างพระอินทร์  ถัดนั้น อินทจิตตเทวบุตร ถือแส้แก้ววชิรแข่วคาจัดเตือนพระยาอินทร์ พระหัตถ์ขวาถือดอกมะลิทองคำ ๑๕ ดอก  จตุรังคาวุฒเทวบุตร ๔ ตน ถือดาบด้ามแก้วมรกตเดินตามทางขวาพระอินทร์  จตุรังคาวุทธเทวบุตร ๔ ตน ถือดาบด้ามแก้วไพฑูรเดินตามทางซ้ายพระอินทร์

       ถัดนั้น นางโรหิณี ถือพานเทียนแก้วมหานิล  นางสารวัตติเกสีถือพานธูปทองคำ  นางปติบุปผาถือพานดอกมะลิกาทองคำ  นางคันธาลวดีถือพานขวดจันทน์ทองคำ  นางสุชาดาถือดอกบัวทองคำ ๑๕ ดอก  นางสุจิตราถือดอกบุณฑริก ๑๕ ดอก  นางสุนันทาถือดอกนิลบล ๑๕ ดอก  นางสุธรรมาถือดอกจงกลนี ๑๕๐ ดอก  จตุรังคาวุทธเทวบุตร ๔ ตน ถือดาบด้ามแก้วผลึกฝักทองคำหมอบอยู่ข้างหลัง

       ถัดนั้น นางเทวดาทั้งหลาย ๓๐๐,๐๐๐ ตน ถือช่อธงดอกไม้และธูปเทียนตามปรารถนา  ถัดนั้น เทวทูตเทวบุตรและเทวทูต

  • เชิงอรรถ –

เทวดา มากกว่าชุมโถงและช่วงใช้เหล่านี้ ๓๐๐,๐๐๐ ตน ถือทวนดอก กางของต่างร่ม กางกั้นเทวบุตรและเทวดาทั้งหลายสิ้น

       ถัดนั้น มาตลิเทวบุตรและอนุมาเทวบุตร นังคสารถี แนบราชรถประคือไยย  ถัดนั้น เทวดาทั้งหลายถือเทียน ๑๐๐,๐๐๐ ถือธง ๑๐,๐๐๐ ถือดอกไม้ ๑๐,๐๐๐  ถัดนั้น พระยาทั้ง ๔ ถือระฆังทองคำ บริวาร ๑๐,๐๐๐ ถือช่อธงเทียนดอกไม้  ถัดนั้น สุริยเทวบุตรและจันทรเทวบุตร พระหัตถ์ซ้ายถือดอกเองเทศ พระหัตถ์ขวาถือสังข์  เทวดาทั้งหลาย ๓๐,๐๐๐ ถือดอกมัททวรีและธงเทียนตามความปรารถนา หมอบอยู่ข้างหลังทั้งสิ้น  วิสสุกรรมเทวบุตร เป็นผู้ดูแลตกแต่ง

       แล้วจึงให้สีสุนทเทวบุตรและสีมหามายาเทวบุตร วิสาขาเทวบุตร พร้อมด้วยบริวาร ๑๐,๐๐๐ ลงมาชำระกวาดแผ้วเปิดประตูอุโมงค์ไว้คอยท่า  วิสสุกรรมเทวบุตร พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัว พระหัตถ์ขวาถือมีดควัด๒ด้ามแก้วมรกตยาว ๙ วา  ธรรมกถิกเทวบุตร พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวทองคำ พระหัตถ์ขวาถือขวดแก้วน้ำมันทิพย์ ลงมาสู่ภูกำพร้าตั้งแต่เวลาเที่ยงไปถึงค่ำ  วิสสุกรรมเทวบุตรกระทำสักการบูชากราบไหว้และปทักษิณ ๓ รอบ แล้วจึงเอามีดด้ามแก้วมรกตยาว ๙ วา ควัด  ส่วนธรรมกถิกเทวบุตรนั้น ก็กระทำสักการบูชา

  • เชิงอรรถ ๑ “โถง” ในที่นี้หมายถึง โสด  ๒ “มีดควัด” ในที่นี้หมายถึงมีดสำหรับสลักหรือแกะลวดลายต่างๆ

กราบไหว้และปทักษิณ ๓ รอบแล้ว จึงควัดลายดินสุกเบื้องทิศตะวันออกเวียนไปเบื้องขวา แล้วกล่าวคาถามงคลโลกไว้ว่า “พุทฺธสฺส  มงฺคลโลเก” ดังนี้ แล้วจึงควัดรูปพระยาติโคตรบูรทรงม้าพลาหก รูปพระยาสุวรรณภิงคารทรงม้าอาชาไนยเสด็จไปทางอากาศ  ควัดรูปพระยา ๒ องค์นี้ก่อน  ธรรมกถิกเมวบุตรจึงเอาน้ำมันให้กับ สีสุนันทเทวบุตร สีมาหามายาเทวบุตร และวิสาขาเทวบุตร ทาลวดลาย  แล้วจึงได้ควัดรูปพระยาจุลณีพรหมทัตทรงช้าง รูปราชบุตรทรงม้า และรูปเสนาอำมาตย์เจือปนไปด้วยลายดอกไม้

       ส่วนด้านใต้นั้น ควัดรูปพระยาอินทปัฐนครทรงช้าง รูปพระอนุชาทรงม้า รูปเสนาอำมาตย์และบริวารเจือปนไปด้วยลายดอกไม้  ด้านตะวันตก ควัดด้วยรูปพระยาคำแดงทรงช้าง รูปเสนาอำมาตย์ขี่ม้า รูปบริวารเจือปนไปด้วยลายดอกมัททวรี  ด้านเหนือ ควัดรูปพระยานันทเสนทรงช้าง รูปพระอนุชาทรงม้า รูปบริวารเจือปนไปด้วยลายดอกไม้  ส่วนรูปพระยาสุวรรณภิงคารนั้น ควัดไว้ทุกๆด้าน  ส่วนบน ควัดรูป สีสุนันทเทวบุตร สีมหามายาเทวบุตร และวิสาขาเทวบุตร เรียงรายไว้ทุกด้าน

       แล้วจึงให้วิสสุกรรมเทวบุตรเข้าไปในอุโมงค์ ควัดรูปพระยาอินทรผินพักตรไปทางเหนือ พระหัตถ์ขวาถือดอกมะลิทองคำร่วง พระหัตถ์ซ้ายถือพัด  แล้วควัดรูปนางสุชาดา พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นประณม พระหัตถ์ขวาถือดอกบัว  รูปนางสุจิตรา พระหัตถ์ขวายกขึ้น

  • เชิงอรรถ -

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น