วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

ตำนานอุรังคธาตุ ๑๒



ตำนานอุรังคธาตุ ๑๒


    • “อถ  ปาปานิ  กมฺมานิ       อกโรนฺโต  น  พุชฺฌติ
    •  เสมิ  กมฺเมหิ  ทุมฺเมโธ    อคฺคิทฑฺโฒว  ตปฺปติ”

       อธิบายว่า บุคคลไป่ได้กระทำกรรมอันเป็นบาป ก็ไป่ตรัสรู้ยังวิบากกรรมแห่งตนว่าเป็นบาปโทษใดๆ  บุคคลดังที่ได้กล่าวมาแล้วแต่ก่อนนั้น  ได้ไปเกิดในนรกทนทุกขเวทนาจึงได้รู้จักยังกรรมวิบากแห่งตน  แล้วคนทั้งหลายจึงทูลว่า  จะกระทำสิ่งใดจึงจะหายจากกรรมวิบากนั้นๆ  พระยาจันทบุรีจึงตรัสเป็นคาถาว่า

    •        “อปฺปมาโท  อมตํ  ปทํ     ปมาโท  มจฺจุโน  ปทํ
    •        อปฺปมตฺตา  น  มียนฺติ       เย  ปมตฺตา  ยถา  มตา
    •        สทฺโท  สีเลน  สมฺปนฺโน   ยโสโภคสมปฺปิโต
    •        ยํ  ยํ  ปเทสํ  ภชติ             ตตฺถ  ตตฺเถว  ปูชิโตติ”


       อธิบายว่า บุคคลเหล่าใดบ่ประมาทหลงลืมในกุศลบุญและคุณแก้วทั้ง ๓ ประการนั้น  เป็นคลองอันจักได้ถึงยังพระนิพพาน  บุคคลเหล่าใดมีความประมาทในคุณแก้ว ๓ ประการนั้น หากเป็นคลองแห่งความตาย และผู้ที่มิได้ประมาทนั้น  ถึงแม้ว่าตายแล้วก็ได้ชื่อว่ายังมีชีวิตอยู่  บุคคลที่มีความประมาท ถึงแม้ว่ามีชีวิตอยู่ก็ได้ชื่อว่าตายแล้ว  บุคคลที่ประกอบไปด้วยศรัทธาในพระรัตนตรัยและเป็นผู้ตั้งอยู่ในศีลนั้น  ข้าวของเงินทอง ลูกเมีย ช้างม้า ยศศักดิ์ก็มิได้ละเสีย  แม้ว่าบุคคลผู้นั้นไปตกประเทศใดก็ดี คนทั้งหลายก็เทียรย่อมสักการบูชามิได้ขาด  เปรียบประดุจดังฝนที่ตกลงมาแต่ที่สูง ย่อมไหล

  • เชิงอรรถ –

ลงไปสู่มหาสมุทรทั้งสิ้น ฉันใด

       พระยาจันทบุรีตรัสคาถาทั้งหลายจบลงแล้ว  พระองค์ทรงหล่อเทียนเงินเทียนทองหนักเล่มละ ๑๐๐,๐๐๐ ตำลึง  ดอกไม้ทองเงินหนักต้นละ ๑๐,๐๐๐ ตำลึง พร้อมด้วย ขันเงิน ขันทอง และพระขรรค์ไชยศรีด้ามแก้ว ดาบด้ามแก้ว ทั้งสิ้น ที่เป็นของเจ้าสังขวิชกุมารนั้น  ทรงจารึกพระนามติดเทียนทั้ง ๒ เพื่อนำไปถวายพระยาสุมิตตธรรมให้ทรงทราบในความนอบน้อม  แล้วพระองค์จึงตรัสสั่งให้นายช่าง เอาไม้รังมากระทำเป็นปราสาทหลังหนึ่ง บุให้แล้วไปด้วยเงิน และให้เอาผ้าสาฎกมุงหลังคา  ทรงกระทำเป็นดอกบุณฑริก ๑๐ ดอก แล้วไปด้วยเงินไว้ในปราสาท ประดับประดาไปด้วยเครื่องประดับสวยงามยิ่งนัก เพื่อบอกข่าวว่ามีพระอรหันต์ ๑๐ องค์อยู่ในพระนคร แล้วให้ช่างเอาทองคำมาแผ่ออกให้เป็นแผ่นขนาดยาว ๓ วา กว้างวาหนึ่ง ให้เขียนเป็นรูปมหาสมุทรและรูปสะพาน พร้อมด้วยพระสังฆเถระ และรูป อินทร์พรหม เทวบุตร เทวดา พร้อมด้วยรูปชาวพระนครไต่สะพานข้ามไปมาอยู่มิได้ขาด  เพื่อให้แจ้งในสภาวะของพระองค์ว่าปรารถนาพระโพธิญาณ

       แล้วพระองค์จึงเอาเครื่องราชบรรณาการนั้นๆพระราชทานให้แก่พราหมณ์ทั้ง ๕ และหมื่นนันทอารามพร้อมด้วยบริวาร  ฝ่ายใต้มีหมื่นหลวงกลางเมือง หมื่นเชียงสา หมื่นแก่ นำไปถวายพระยาสุมิตตธรรม

  • เชิงอรรถ –

คนทั้งหลายที่ออกนามมาแล้วนั้น ก็พร้อมกันกราบทูลลาไปสู่ที่อยู่แห่งตนๆ

       ส่วนพราหมณ์ทั้ง ๕ นั้น เมื่อกลับไปถึงเมืองมรุกขนครแล้ว ก็นำเครื่องราชบรรณาการนั้นๆเข้าไปถวายพระยาสุมิตตธรรม  เมื่อพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นวัตถุข้าวของทั้งหลายนั้นๆ ทรงรับเอาแผ่นทองที่มีรูปสะพานและรูปมหาสมุทรพร้อมทั้งดอกบุณฑริก ยกขึ้นเหนือพระเศียรถึง ๓ ครั้ง แล้วจึงตรัสว่า หน่อพุทธังกูรเกิดแล้ว พระอรหันต์ก็มีขึ้นแล้ว ณ ที่นั้นถึง ๑๐ องค์ กล่าวคือดอกบุณฑริกนั้น

       ครั้นแล้ว พระองค์ตรัสเป็นคาถา ดังที่พระองค์ทรงได้เป็นอุปนิสัยมาแต่เมืองร้อยเอ็จประตูติดกับพระองค์มาว่า


    •        “ทุลฺลโภ  ปุริสาชญฺโญ        น  โส  สพฺพตฺถ  ชายติ
    •        ยตฺถ  โส  ชายติ  ธีโร         ตํ  กุลํ  สุขเมธติ”

       อธิบายว่า  บุคคลผู้เกิดมาเป็นบุรุษผู้อาชาไนยนั้น หาได้ยาก  บุรุษที่เป็นอาชาไนยนี้ บ่ห่อนเกิดในที่ทั่วไป เป็นบางแห่งที่จะมีบังเกิดขึ้น  เมื่อว่าบุรุษผู้อาชาไนยเกิดมีในที่ใด คนทั้งหลายอยู่ในที่นั้นก็มีความสุขในโลก

       แล้วพระองค์จึงตรัสถามพราหมณ์ทั้ง ๕ ถึงเหตุการณ์ประเทศบ้านเมืองของพระยาจันทบุรี  พราหมณ์ทั้ง ๕ จึงทูลถวายโฉลกว่า  “อินทสิริเจียมบาง ส่างสอง หนองสาม ล่ามสี่ ศรีห้าแห่ง แจ่ง๑สี่อัน

  • เชิงอรรถ “แจ่งสี่อัน” ในที่นี้หมายถึง กงจิตร์แก้วมีอยู่ในที่นั้นทั้ง ๔ ทิศ หรือ ๔ มุม

ดังนี้”  พระยาสุมิตตธรรมมีพระประสงค์จะใคร่ให้พราหมณ์ทั้ง ๕ แต่งลักษณะโฉลกเมือง พระองค์จึงได้พระราชทานดาบด้ามแก้วฝักทองคำที่พระยาจันทบุรีถวายมานั้นแก่พราหมณ์คนละเล่ม

       ทันใดนั้น พราหมณ์ทั้ง ๕ จึงบอกแก่กันว่า พระองค์ทรงพระราชทานดาบแก่เราทั้งหลายนี้ ด้วยพระองค์ทรงเลื่อมใสและพอพระทัยจะทรงทราบ จึงกราบทูลว่า  อินทสิริเจียมบางนั้น เป็นชื่อของเทวดาตนหนึ่ง อยู่รักษาราชสมบัติของพระยาจันทบุรี  เทวดาตนนั้นสถิตอยู่ปราสาทโรงหลวงเป็นใหญ่กว่าเทวดาทั้ง ๕ ดังที่ข้าพเจ้าทั้งหลายจะได้ทูลถวายต่อไปข้างหน้านี้

       ชื่อที่ข้าพเจ้าทั้งหลายปงราชนามนั้น ด้วยเหตุแห่งขวดไม้จันทน์ของพญานาค และชื่อที่พระอรหันต์ตั้งให้ว่าบุรีจันอ้วยล้วยเมื่อครั้งเป็นพ่อนาว่าเป็นผู้บำเพ็ญบุญนั้นเป็นต้น  ข้าพเจ้าทั้งหลายจึงได้เอาชื่อเทวดา ๒ ตนที่รักษาน้ำมงคลมาสระสรงราชาภิเษก ประสมกันเข้าตามเพสแห่งครูกล่าวนั้น ด้วยมีแท้  ส่างสองนั้น เทวดาตนหนึ่งชื่อว่าปรสิทธิสักกเทว  อีกตนหนึ่งชื่อรัตนเกสีรักษาน้ำลินมงคลตนละลิน และลินน้ำอันนั้น พญานาคเป็นผู้คุ้ยควักออกมาแต่บ่อแก้ว ๗ ประการ อันเป็นมงคล  ให้ไหลออกเป็นร่องน้ำไปก้ำหัวเมือง มาตกแม่น้ำของเลยโรงหลวง และหนอง ๓ อันนั้น มีเทวดาตนหนึ่งชื่ออินทผยองมีผมอันหยิกอยู่ในบึงก้ำใต้เวียงนั้น  อีกตนหนึ่งชื่อสราสนิท อยู่รักษาสระน้ำที่เตียนเวียงก้ำเหนือ เทียรย่อมรักษาคนทั้ง

  • เชิงอรรถ –

หลายและดูแลยังคุณและโทษของอาณาประชาราษฎรในพระนครนั้น  เทวดาอีกตนหนึ่งชื่อมัจฉนารี รักษาพระยาจันทบุรีพร้อมด้วยข้าทาสบริวารในพระราชสำนักทั้งสิ้น

       ล่าม ๔ นั้น มีนาค ๔ ตัวเป็นผู้วินิจฉัยไตร่ตรองดูยังคุณและโทษของอาณาประชาราษฎรทั้งหลาย  ตัวหนึ่งชื่อเอกจักขุ อีกตัวหนึ่งชื่อว่ากายโลหะ  นาค ๒ ตัวนี้อยู่นอกเวียง ตัวหนึ่งชื่อสุคันธนาคอยู่หาดทรายกลางแม่น้ำ อีกตัวหนึ่งชื่ออินทจักกนาคอยู่ปากห้วยมงคล

       ศรี ๕ นั้น มีนาค ๕ ตัวอยู่รักษาศรีเมือง เป็นใหญ่กว่าเงือกงูทั้งหลาย ด้วยมีแท้  พุทโธปาปนาคนั้นเป็นใหญ่กว่านาคทั้งหลายที่ได้บอกชื่อมาแล้วข้างต้นนั้น

       ส่วนพญาสุวรรณนาคนั้นเป็นใหญ่กว่านาคทั้งหลาย แต่ทว่าท่านได้ตั้งอยู่ในสรณคมน์ รักษากงจิตร์แก้วพระพุทธเจ้าที่ภูกูเวียน เหตุนี้จึงได้กล่าวถึงท่าน  ท่านมาในที่นี้ก็แต่ในเวลาที่มาเนรมิตบ้านเมืองไว้ให้แก่พระยาจันทบุรีเท่านั้น แล้วก็กลับไปอยู่หาความสุขของท่านตามเดิม

       ส่วนนาคทั้งหลาย ๙ ตัว ที่มีนามมาแล้วข้างต้นนั้น เทียรย่อมอยั่กษาค้ำชูบ้านเมืองและพระพุทธศาสนา และแจ่งที่มีแก้ว ๔ ลูกนั้นคือพระพุทธเจ้าได้เสด็จมายืนพักที่ริมหนองคันแทเสื้อน้ำ ทรงไว้กงจิตร์แก้วที่นั้นแห่งหนึ่ง แล้วพระพุทธเจ้าเสด็จข้ามน้ำของไปประทับ

  • เชิงอรรถ -

ฉันข้าวในร่มไม้ปาแป้งที่ภูเขาหลวง  ที่นั้นเป็นกงจิตร์แก้วอีกแห่งหนึ่ง แล้วพระพุทธเจ้าเสด็จกลับข้ามแม่น้ำของไปซ้าย ไว้รอยบาทลักษณ์กงจิตร์แก้วและฉันเพลที่เวินหลอดนั้นแห่งหนึ่ง  ข้าน้อยทั้งหลายก็เห็นโดยลำดับ เมื่อกลับมาจึงได้ไหว้กงจิตร์ที่เวินพีน

       แล้วข้าน้อยทั้งหลายจึงได้พิจารณาดูตามคลองพระเนตรพระพุทธเจ้าเปล่งไปตกหนองหานทั้ง ๒ แล้วพระองค์เสด็จจากเวินพีนมาอธิษฐานรอยบาทลักษณ์ไว้ที่ก้อนหินเหนือเมืองเรานี้ แล้วจึงเสด็จไปสถิตภูกำพร้าเสมอเมืองเก่าศรีโคตรบอง ทรงอิงต้นรังเปล่งพระเนตรไปเมืองโคตรบองๆจึงได้รุ่งเรืองเป็นใหญ่ในชมพูทวีป  พระพุทธองค์ซ้ำเปล่งพระเนตรไปที่บาทลักษณเรือนปลา แล้วเสด็จกลับคืนมายังที่ใต้นั้น  ภายหน้าโพ้นเมืองมรุกขนครก็จะย้ายกลับคืนไปตั้งที่นั้น  เจดีย์อันหนึ่งก็จักบังเกิดในที่ของพระองค์พระราชทาน  จึงกล่าวคาถาที่ได้มาแต่สำนักพระอรหันต์ สืบคำพระพุทธเจ้าว่า

       “สจฺจํ  ภเณน  กุชฺเฌยฺย  ทชฺช  อปฺปสมี  ยาจิโต  เอเตหิ  ฐาเนหิ  คจฺเฉยฺย  เทวานํ  สนฺติเก”

บุคคลพึงกล่าวยังคำสัตย์เที่ยง  ท่านให้ข้าวของน้อยก็ดี พึงใจรับเอา แม้ว่าตัวมีน้อย ก็พึงใจให้เป็นทานแก่ผู้มาขอด้วยตน ๓ ประการนี้  เทียรย่อมไปสู่สวรรค์เทวโลก “ทานสีลญฺจ  สกฺกจฺจํ  สุตฺวาธมฺมํ  ปสีทติ  สจฺจํ  ขนฺติ  จ  กตญฺญู  ติณฺณานํ  รตนํ  สริ  อิมานิ

  • เชิงอรรถ –

สตฺตปุญฺญานิ  สมฺมา  สมฺพุทฺธวณฺณิติ  มหปฺผลํ  จ  สพฺเพสํ  อสงฺเขยฺย  อนนฺตํ”

       บุคคลกระทำบุญให้ทานรักษาศีลควรคารวะ ฟังธรรมะควรยินดี มีคำสัตย์อดทน และรู้คุณท่านได้กระทำไว้แล้วแก่ตน และระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย  บุคคลทั้งหลายที่ได้กระทำนั้นๆ พระพุทธเจ้าย่อมทรงสรรเสริญว่าดี มีอานิสงส์ผลได้อสงไขยหาที่สุดมิได้แก่บุคคลผู้นั้นจริง

    •        “อโกเธน  ชิเน  โกธํ    อสาธุ  สาธุนา  ชิเน
    •        ชิเนกทริยํ  ทาเนน    สจฺเจนาลิกวาทีนํ”

       บุคคลผู้บ่มักโกรธ ย่อมแพ้ผู้มักโกรธ  บุคคลนั้นเป็นสัปบุรุษ ย่อมแพ้บุคคลผู้อสัปบุรุษ  บุคคลผู้มักให้ทาน ย่อมแพ้ผู้ตระหนี่ในการให้ทาน  บุคคลผู้มีสัตย์ ย่อมแพ้บุคคลผู้บ่มีสัตย์ “ปาตถฺเก  สุคตา  พีชฺชา  ปรหตฺเถ  คตํ  ธมฺมํ  ยถา  อิจฺเจ  น  ลพฺภติ”  พระพุทธเจ้าต่าวกลับคืนมายังที่นั้น  เหตุนี้ เมืองมรุกขนครเท่าจักได้เป็นใหญ่สมัยเมื่อมหาราชเจ้าตนมีบุญสมภารนี้แหละ  แม้ว่าพระพุทธศาสนาก็จะเป็นมัชฌิมศาสนา ด้วยว่าพระพุทธองค์ได้อธิษฐานรอยพระบาทไว้ที่ก้อนหินในน้ำก้ำเหนือเมือง แล้วจึงเสด็จมาประดิษฐานกงจิตร์แก้วไว้ที่ภูกำพร้า ทรงประทับอิงต้นรังที่นั่น

       ส่วนเมืองหนองหานทั้ง ๒ นั้น ก็หามีเหมือนแต่ก่อนไม่  ด้วยเหตุพระพุทธเจ้าทอดพระเนตรไปทางเมืองพระยาจันทบุรีๆนั้นและ

  • เชิงอรรถ –

ประเสริฐยิ่งนัก  เหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากภูกำพร้าไปเมืองหนองหาน แล้วพระองค์เวียนกลับคืนไปไว้กงจิตร์แก้วที่ภูกูเวียน จึงเสด็จไปดอยนันทกังรี ไว้กงจิตร์แก้ว ณ ท่ามกลางแม่น้ำของ ไหลผ่าเมืองพระยาจันทบุรีไปที่ดอยนันทกังรีนั้นก็จักบังเกิดเป็นเมืองขึ้น รุ่งเรืองไปด้วยพระพุทธศาสนา แต่ทว่าจะต้องเข้าไปอ่อนน้อมขึ้นแก่เมืองที่พญานาคเนรมิตให้แก่พระยาจันทบุรีนั้น  ถึงแม้ว่าเมืองมรุกขนครก็ฉันเดียวกัน  ด้วยเหตุว่าพระพุทธเจ้าได้มาไว้กงจิตร์แก้วที่ริมหนองคันแทเสื้อน้ำนั้นก่อน พระองค์จึงได้เสด็จกลับคืนไปทางข้างขวา ไว้กงจิตร์แก้วและพงศ์เสมอกันทุกแห่ง  ข้าน้อยทั้งหลายได้พิจารณาดูโฉลกเมืองตามคัมภีร์ศาสนานครนิทานที่ได้เรียนมา และได้เอาพื้นเมืองทั้ง ๓ มาประสมกันดู ตามที่พระพุทธองค์ได้เสด็จมาสู่เมืองสุวรรณภูมินั้น  เอาตั้งเป็นอธิปติเข้าแพด๑กันดู  เมืองมรุกขนครถูกมัชฌิมนครเศษอัปปราชาภายหน้ามีฉันนี้

       ท้าวพระยาองค์ใดจักมาเป็นใหญ่ บ่มีอาณาคมบุญสมภารน้อย จักได้เป็นอนุแก่เมืองที่กว้างขวาง คือเมืองที่พระยาจันทบุรีกินอยู่ ณ ท่ามกลางบัดนี้  เมืองที่ตั้งขึ้นที่ดอยนันทกังรีนั้น ก็ถูกโชติราชาเอาส่วนสังฆโชติมาสับ  ภายหน้าท้าวพระยาตนใดมาเสวยราชสมบัติชอบกระทำยุทธกรรมมากนัก แต่ภายหลังก็จะเสื่อมศูนย์เสียด้วยเหตุว่าเศษสูญราชา มีในคัมภีร์ศาสนานคร แต่ทว่าจักรุ่งเรืองแต่

  • เชิงอรรถ – ๑ “แพท” เทียบเคียง

สังฆเถรเป็นใหญ่ยิ่ง  เหตุว่าโฉลกศาสนานครนิทานในคัมภีร์สังฆราชาอธิปติพระพุทธศาสนา ถูกข้าน้อยทั้งหลายฝูงเป็นพราหมณ์เวทคูได้แจ้งในคัมภีร์เพศดังนี้ ขอถวายแก่มหาราชเจ้าก็ข้าแล

       ขณะนั้น พระยาสุมิตตธรรมพระองค์ทรงยินดีจึงตรัสว่า สาธุ สาธุ  แล้วจึงพระราชทานบำเน็จรางวัลแก่พราหมณ์ทั้ง ๕ เป็นอันมาก จึงตรัสสั่งให้แต่งโฉลกเมืองและรูปรอยกงจิตร์แก้วกับทั้งรูปแม่น้ำใหญ่ มีน้ำของ เป็นต้น พร้อมทุกสิ่งดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น เขียนลงในแผ่นผ้าขาวด้วยเส้นหมึกพร้อมทั้งรูปสิ่งที่เป็นมงคลไว้ให้บุคคลที่มีปัญญาพิจารณาดูแปน๑แม่น้ำและรูปนั้นๆเทอญ


ว่าด้วยพราหมณ์ทั้ง ๕ กลับคืนสู่เมืองมรุกขนครจบแต่เพียงเท่านี้

        ต่อแต่นี้ไปจะได้กล่าวถึง เจ้าพุทธรักขิต ธรรมรักขิต สังฆรักขิต เถระที่นำสัทธิงวิหาริกทั้ง ๕ มีมหารัตนเถระเป็นต้น ไปสู่เมืองราชคฤห์ นำเอาพระบรมธาตุหัวเหน่าพระพุทธเจ้า ๒๙ พระองค์ ธาตุเขี้ยวฝาง ๑ องค์ พระธาตุฝ่าตีนขวา ๙ องค์ มายั้งอยู่ที่เมืองคอนราชนั้นคืนหนึ่ง  พระอรหันต์ทั้ง ๘ รู้แจ้งในพฤติการณ์ว่า  ครั้งเมื่อพระศาสดายังทรงทรมานอยู่ พระองค์ได้เสด็จมาสถิตถ้ำแก้ววชิรปราการระหว่างภู ๒ ลูกถัดละโว้นั้น  พระอรหันต์ทั้ง ๘ จึงได้พร้อมกันไปจารึกพื้นบ้าน

  • เชิงอรรถ ๑ “แปน” แผนผัง

พื้นเมืองและอุปเท่ห์นิทานทั้งมวลไว้ในแผ่นหินและพื้นพระธาตุพระพุทธเจ้า ที่จะได้ไปประดิษฐานในชมพูทวีป และพื้นรอยพระบาทลักษณพร้อมทั้งศาสนานครนิทานไว้พร้อมสรรพ

       ส่วนพระอรหันต์ทั้ง ๓ ที่เป็นอาจารย์จึงสั่งศิษย์ทั้ง ๕ ไว้ว่า  ให้นำพระบรมธาตุที่ได้มานั้น คือพระธาตุหัวเหน่า ให้เอาไปประดิษฐานไว้ที่ภูหลวงนั้น  ส่วนพระธาตุฝ่าตีนขวานั้น ให้นำไปประดิษฐานไว้เมืองลาหนองคาย  พระธาตุเขี้ยวฝางนั้น ให้นำไปประดิษฐานไว้ที่เวียงงัว ๓ องค์ และที่หอแพ ๔ องค์  ครั้นสั่งเสียเสร็จแล้ว พระอรหันต์ผู้อาจารย์ทั้ง ๓ ก็กลับคืนสู่เมืองราชคฤห์

       ขณะนั้น พระอรหันต์ทั้ง ๕ จึงนำเอาพระบรมธาตุพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ที่ร่มไม้ปาแป้งที่ภูเขาหลวง  ครั้งนั้น พระยาจันทบุรีพระองค์ได้ทรงทราบความจากหมื่นกลางโรงว่า  พระอรหันต์ ๕ องค์กลับจากเมืองราชคฤห์ ได้นำเอาพระบรมธาตุพระพุทธเจ้ามา  พระองค์ทรงชื่นชมยินดียิ่งนัก จึงตรัสสั่งอำมาตย์ให้ไปรับนางอินทสว่างราชเทวีรัตนเกสี  พระนางทรงทราบในการบุญ จึงได้เอาทองคำหล่อเป็นรูปสิงห์ ๔ ตัว หนักตัวละ ๑๐,๐๐๐ ตำลึง แล้วพระนางให้นำสิงห์ ๔ ตัวมาตั้งรวมติดกันเข้า หันหน้าออกตัวละทิศ แล้วเอาทองคำ ๒๐,๐๐๐ ตำลึง หล่อเป็นรูปอุโมงค์ประดับด้วยแก้ว  ครั้นเสร็จแล้ว พระนางจึงให้เอาสิงห์ ๔ ตัวนั้นพร้อมด้วยอุโมงค์ ลงสู่เรือพระที่นั่ง เสด็จยาตราไปสู่ที่ศาลจอดพระสวามี

  • เชิงอรรถ –

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น