วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

ตำนานอุรังคธาตุ ๙



ตำนานอุรังคธาตุ ๙

ขึ้นไว้ที่โพนทางใต้หลังหนึ่งแล้วไปด้วยทองคำ 

       ครั้นถึงเวลาเช้า พระอรหันต์พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เดินตามสะพานนั้นเข้าไปบิณฑบาตในพระนครเป็นปกติมิได้ขาด  เมื่อถึงวันพระเป็นต้นว่า วันขึ้น ๗, ๘, ๑๔, ๑๕ ค่ำ วันแรม ๗, ๘, ๑๔, ๑๕ ค่ำ บุรีจันออกไปรักษาศีลอยู่ปราสาทหลังหนึ่งที่โพนทางใต้พระนครมิได้ขาด  ครั้นรุ่งเช้าใส่บาตรเวนข้าวสงฆ์เสร็จแล้วก็ไปกระทำสักการพระพุทธรูปในพระอารามวัดสวนอ้วยล้วย และฟังพระธรรมเทศนาซึ่งพระอรหันต์เป็นผู้แสดง  ครั้นเสร็จแล้วออกมากระทำสักการะ และอุทิศส่วนกุศลไปให้พญานาคและเทวดาที่น้ำส่างไม้ดู่นั้นเป็นปกติมิได้ขาด

       ครั้งนั้นมหาพุทธวงศา ให้มหาสัชชดีอยู่สั่งสอนพระภิกษุสงฆ์ที่วัดสวนอ้วยล้วย  ส่วนตัวมหาพุทธวงศานั้น ไปนำเอาพระธาตุพระอรหันต์ขีณาสพที่เป็นวงศ์แห่งพระศาสดา มารวมไว้ในที่อยู่แห่งตน แล้วจึงบอกกับบุรีจันว่า จะบรรจุพระธาตุพระอรหันต์ไว้ ณ ที่นี้  ให้ขุดดินลงลึก ๕ วา กว้าง ๓ วา  ก่อด้วยอิฐให้เป็นรูปปราสาทเจดีย์ แล้วเอาแผ่นเงินเรียงปูรองในภายในปราสาทนั้น แล้วจึงเอาพระธาตุพระอรหันต์นั้นๆเข้าบรรจุไว้ในที่นั้น  จึงเอาหินหมากคอมถมให้แน่นหนาเรียบร้อย จึงหมายสีมาเสมอยอดปราสาทนั้น  สูง ๓ วา  กว้าง ๑ วา  คนทั้งหลายจึงได้เรียกที่นั้นว่า “ป่ามหาพุทธวงศา”  มีฉันทะพร้อมกัน พันท่อง หนองจัน วัดสวนอ้วยล้วย สัชชดี แต่นั้นมา
  • เชิงอรรถ –
       ครั้งเมื่อพระมหากัสสปเถระเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย  เมื่อเสร็จการก่ออุโมงค์และประดิษฐานพระอุรังคธาตุที่ภูกำพร้าแล้ว ก็กลับไปสู่เมืองราชคฤห์  พระมหากัสสปเถระเจ้ามองเห็นสามเณร ๓ องค์เป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในการปฏิบัติถูกต้องตามคำสั่งสอน  มีความเพียรในการกระทำสมถะวิปัสสนา  สามเณรทั้ง ๓ องค์นี้  เมื่อบวชเป็นภิกษุก็ได้สำเร็จพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง ๓ องค์  องค์หนึ่งมีนามว่าพุทธรักขิต  องค์หนึ่งมีนามว่าธรรมรักขิต  อีกองค์หนึ่งมีนามว่าสังฆรักขิต  พระอรหันต์ทั้ง ๓ องค์นี้มาแต่เมืองราชคฤห์ มาอยู่ “หนองกก” ใกล้กับภูเขาหลวง

       พุทธรักขิต จึงไปนำเอามหารัตนกุมารพี่น้องแต่เมืองอินทปัฐนครมาบวชในพระพุทธศาสนา แล้วไปอยู่ที่ริมเมืองฟากฝั่งแม่น้ำของฝ่ายตะวันออก สอนวิปัสสนาภาวนาอยู่ในที่นั้น  หมื่นกลางโรงจึงสร้างหอแพให้อยู่ ที่นั้นจึงได้เรียกว่า “หอผา” มาแต่ครั้งนั้น

       ส่วนเจ้าธรรมรักขิต ก็ไปนำเอามหาสุวรรณปาสารทกุมารพี่น้องแต่เมืองจุลณีพรหมทัตมาบวช แล้วสอนวิปัสสนาภาวนาอยู่ในเวียงงัวใต้ปากห้วยคุคำ หมื่นกลางโรงสร้างวิหารให้อยู่ในที่นั้น

       พระสังฆรักขิตนั้น ไปนำเอาเจ้าสังขวิชกุมารมาบวชอยู่ที่เมืองลาหนองคาย น้าเลี้ยงพ่อนมสร้างวิหารให้อยู่  เจ้าทั้ง ๕ องค์นี้เมื่อได้เรียนวิปัสสนาภาวนากับด้วยพระอาจารย์ทั้ง ๓ ของตนๆ  ครั้นบวชเป็นภิกษุก็ได้ถึงพระอรหันต์ทั้ง ๕ พระองค์โดยลำดับ
  • เชิงอรรถ –
       พระอรหันต์ทั้ง ๕ องค์นี้มีนามว่า มหารัตนเถระหนึ่ง จุลรัตนเถระหนึ่ง มหาสุวรรณปาทเถระหนึ่ง จุลสุวรรณปาทเถระหนึ่ง สังขวิชเถระหนึ่ง  พระพุทธรักขิต, ธรรมรักขิต, สังฆรักขิตเถระ, ผู้อาจารย์จึงนำเอาสานุศิษย์ทั้ง ๕ นี้ไปสู่เมืองราชคฤห์

       อยู่มากาลวันหนึ่งเป็นฤดูหนาว บุรีจันออกไปจำศีลเวนข้าวและให้อัคคิทาน กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้พญานาคและเทวดา ครั้นถึงเวลาเย็นก็เข้าไปนอนในปราสาท  พอเวลาจะใกล้รุ่งพญานาคเนรมิตเป็นมนุษย์นุ่งขาวห่มขาว นำเอาแก้ว ๗ ประการใส่พานทองแล้วใส่ถุงแพรขาว พร้อมด้วยรูปกงจิตรแก้วและรูปท้าวรูปนาง กับทั้งพานดอกไม้ธูปเทียนคุกเข่าเข้ามาให้

       ส่วนรูปจิตร์แก้วนั้นแล้วไปด้วยทองคำ รูปท้าวรูปนางนั้นแล้วไปด้วยเงินเรียง  ผ้าขาวจึงบอกกับเจ้าบุรีจันว่า  เจ้าได้นางอินทสว่างลงฮอดซึ่งท้าวคำบางผู้เป็นบิดามารดา ท่านมีความปรารถนาจะนำไปถวายให้เป็นมเหษีพระยาสุมิตตวงศามรุกขนคร อย่าได้โทษแก่พญานาคทั้งเทวดาที่ยินดีกับด้วยบุรีจันๆท่านจงเอาถุงจิตร์แก้วอันนี้ไปคารวะพระยาสุมิตตวงศานั้นเทอญ  บุรีจันคิดถึงความหลังของตนจึงรับว่า สาธุ สาธุ  พญานาคซ้ำให้ทองคำ ๑,๐๐๐ ตำลึง แล้วก็อันตรธานหายไป

       เมื่อบุรีจันกลับมาจากจำศีลไปสู่พระราชฐานแล้ว จึงตกแต่งเครื่องบรรณาการ พร้อมทั้งข้าวของอันพญานาคนำมาให้นั้น ให้หมื่น
  • เชิงอรรถ –
สาร หมื่นนาใต้ หมื่นนาเหนือ หมื่นสองเมือง หมื่นเชียงชู และพันนาเมือง นำไปถวายพระยาสุมิตตวงศามรุกขนคร  เมื่อพระองค์ทรงแล้วยังเครื่องบรรณาการ  ขณะนั้นปราสาทหลังหนึ่งก็บุ๑จากพื้นดินขึ้นมา พร้อมทั้งพระราชโรงหลวงหลังหนึ่งกว้าง ๑๙ ห้องล้วนแล้วด้วยทองคำประดับประดาไปด้วยแก้ว มีทั้งพระราชอุทยานประกอบไปด้วยพืชผลเป็นต้นว่า ข้าวโพด, สาลี, พร้าว, ตาล, หวาน, ส้ม, กล้วย, อ้อย, หมาก, พลู, ถึงแม้ว่าพืชข้าวกล้าก็บังเกิดมีขึ้นในพระราชอุทยานนั้นทุกประการ

       อันนี้ก็ด้วยอานิสงส์ผลที่พระองค์ได้ใส่บาตรพระศาสดาเมื่อครั้งเป็นพระยาติโคตรบูรครั้งโน้น  ความอันนี้ก็ลือชาปรากฏไปถึงท้าวพระยาร้อยเอ็จพระนครๆมีความชื่นชมยินดี และมีความปรารถนาจะใคร่เห็น  อันนี้ก็ด้วยอานิสงส์ที่ได้อุ้มบาตรไปส่งพระศาสดาดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น

       ครั้งนั้นพระยาร้อยเอ็จพระนคร จึงพร้อมกันนำราชธิดาเมืองละองค์พร้อมทั้งบริวารนางละ ๕๐๐ คน  ช้างพลาย ๑๐ เชือก  ช้างพัง ๑๐ เชือก  ม้า ๑๐ ม้า  พร้อมทั้งควาญและนายม้า กับทั้งทองคำอีกเมืองละ ๑๐๐,๐๐๐ ตำลึง เป็นเครื่องราชบรรณาการนำเข้ามาถวาย แล้วพร้อมกันราชาภิเษกขึ้นเป็นพระยาสุมิตตธรรมิกราชาธิราชเอกราชมรุกขนคร  ครั้นเสร็จการราชพิธีแล้ว พระยาร้อยเอ็จพระนครจึง
  • เชิงอรรถ “บุ” ผุด
พร้อมกันกลับไปสู่พระนครของตนๆ

       ครั้นถึงฤดูกาลออกพรรษาสังขารปีใหม่  พระยาร้อยเอ็จพระนครจึงแต่งให้อำมาตย์จำทูลพระราชสาสน์พร้อมทั้งเครื่องราชบรรณาการดอกไม้เงินทอง เข้ามาถวายพระยาสุมิตตวงศาธรรมิกราชาธิราชเอกราช

       ครั้งนั้นพระยาสุมิตตวงศาพระองค์พระราชทานคนใช้แก่อำมาตย์บุรีจันมี หมื่นจรศ เป็นต้น กับทองคำอีกหนัก ๑,๐๐๐ ตำลึง และเสื้อผ้าให้ครบถ้วนทุกคน แล้วพระองค์ทรงจัดนาง ๒ นางไปประทานบุรีจัน  นางหนึ่งชื่อมงคลกตัญญู เป็นเชื้อวงศ์ชาวจุลณี  อีกนางหนึ่งชื่อมังคลทปาลัง เป็นเชื้อวงศ์ชาวราชคฤห์ พร้อมด้วยข้าทาสบริวารนางละ ๕๐๐ คน  ช้างพัง ๒๐ เชือก ช้างพลาย ๒๐ เชือก  ม้า ๒๐ ม้า พร้อมทั้งควาญและนายม้า  เงิน ๑๐,๐๐๐ ตำลึง ทอง ๑๐,๐๐๐ ตำลึง เสื้อผ้าสิ่งละ ๑๐,๐๐๐ พร้อมทั้งเครื่องปัญจราชกกุธภัณฑ์  มอบให้พราหมณ์ทั้ง ๕ ที่รู้จบไตรเพทเป็นหัวหน้า มีมังคลพราหมณ์หนึ่ง จุลมังคลพราหมณ์หนึ่ง ไชยพราหมณ์หนึ่ง สิทธิพราหมณ์หนึ่ง จิตตวัฒนพราหมณ์หนึ่ง  ทั้ง ๕ นี้ให้น้อมนำไปราชาภิเษกบุรีจัน  ครั้นถึงวันมหาพิไชยฤกษ์อันดี จึงตรัสสั่งให้ออกเรือขึ้นมาสู่เมืองบุรีจัน

       ครั้นมาถึงแล้ว พราหมณ์ทั้ง ๕ จึงให้จอดเรือที่ท่าหอแพ  หมื่นกลางโรงจึงไปบอกหมื่นนันทอารามน้าเลี้ยงพ่อนมให้มาพร้อมกัน แล้วสร้างแปงราชสำนักที่พักที่อาศัยขึ้น ๒ หลัง พร้อมทั้งหอขวาง
  • เชิงอรรถ –
หลังหนึ่งให้นางทั้ง ๒ อยู่ และสร้างขึ้นสำหรับเก็บข้าวของหลังหนึ่งสำหรับให้พราหมณ์ทั้ง ๕ อยู่อีก ๒ หลัง  ถ้อยคำอันนี้จึงได้ลือชาปรากฏไปว่า “หอผา ท่าแขก พราหมณ์มา”

       พระยาสุมิตตธรรมเจ้าพระองค์จึงให้หมื่นนันทะผู้เป็นปราชญ์มาบอกเขตต์แดนเมืองให้แต่ปากสดิง๑มาโดยลำดับ  คนทั้งหลายที่แตกตื่นอพยพหนีมาแต่เมืองร้อยเอ็จประตูครั้งนั้น ก็มาขึ้นกับด้วยหมื่นนันทะกลางโรงผู้เป็นปราชญ์นั้น มีหมื่นหลวงกลางเมืองเป็นต้นและหมื่นรามเมือง หมื่นประชุมนุมเมือง หมื่นพระน้ำรุ่ง หมื่นเชียงสา  ครั้นมาถึงราชสำนักก็ตั้งพักอยู่ ณ ที่นั้น

       ครั้งนั้นหมื่นแก่มาตั้งอยู่ที่ริมน้ำของแต่ปากห้วยคุคำไปเหนือ  คนทั้งหลายจึงชุมนุมพูดจากัน นางทั้ง ๒ จึงว่า “เขตต์แดนอย่าฟ้าวให้เราไซร้”  พันแก่ได้ยินดังนั้นจึงนำความไปบอกแก่พราหมณ์ทั้ง ๕ๆจึงนำเครื่องกกุธภัณฑ์พร้อมทง(อาจจะเป็น “ทั้ง”/ผู้พิมพ์)เครื่องบรรณาการนั้นๆไปราชาภิเษกบุรีจัน

       ครั้งนั้นบุรีจันจึงแต่งอำมาตย์ออกไปรับพราหมณ์เข้ามา  เมื่อเสร็จพิธีราชาภิเษกแล้ว พราหมณ์ทั้ง ๕ จึงทูลบุรีจันว่า  บัดนี้พระยาสุมิตตธรรมพระองค์มีอาชญาให้ข้าพเจ้าทั้งหลายนำนางทั้ง ๒ มาถวายพร้อมเขตต์แดนบ้านเมือง ขอให้พระองค์ไปรับเอา  พระยาสุมิตตธรรมพระองค์เป็นใหญ่กว่าท้าวพระยาในชมพูทวีปๆเทียรย่อม
  • เชิงอรรถ ๑ บางแห่งเป็นกระดิง
นำเอาราชธิดามาถวาย  ผิว่าพระองค์จะเอานางทั้ง ๒ นี้มาพร้อม ณ บัดนี้ ก็เหมือนดังพระองค์เป็นผู้น้อยและมีอำนาจอ่อนกว่าบุรีจัน  อนึ่งก็ยังไป่ได้ราชาภิเษก  ถึงแม้ราชาภิเษกแล้วก็ไป่ควร นางทั้ง ๒ นี้ก็เป็นเชื้อวงศ์ใหญ่โต

       คำอันนี้อำมาตย์ทั้งหลายมี หมื่นกลางเมืองหนึ่ง หมื่นรามเมืองหนึ่ง หมื่นประชุมนุมเมืองหนึ่ง หมื่นพระน้ำรุ่งหนึ่ง หมื่นเชียงสาหนึ่ง หมื่นแก่หนึ่ง หมื่นกลางโรงหนึ่ง หมื่นนันทอารามหนึ่ง น้าเลี้ยงพ่อนม  เขาทั้งหลายเหล่านี้มีความวิตกตามปัญญาอันส่องแจ้งในธรรมอันเลิกแลบ๑ (...ตามต้นฉบับมีไม้ไต่คู้อยู่เหนือสระอิของ “เลิก” ด้วย.../ผู้พิมพ์)  ความจริงนั้นพระยาสุมิตตธรรมพระองค์ก็มิได้อาณัติแต่หากว่าเขาทั้งหลายมีความวิตก จึงมิได้ให้พราหมณ์นำนางทั้ง ๒ มา  พระองค์มีธรรมจินดารำพึงถึงคลองสาธุนรธรรมกตัญญูและในปุตตภริยบริจาคแท้จริง  ที่พระองค์ให้ชื่อนางที่นำมาถวายนั้นมีชื่อว่า “มังคลกตัญญูหนึ่ง” “มังคลทปาลังหนึ่ง” นั้นเป็นปัญหาคุณตอบแทนแก้วเพื่ออภัยโทษที่บุรีจันได้พาเอานางอินทสว่างลงฮอดมาเป็นภรรยา

       อีกอย่างหนึ่งพระองค์ชอบให้เป็นมงคลแก่บุรีจัน เพื่อจะได้ค้ำชูพระพุทธศาสนาไปภายหน้า เหตุนี้พันแก่จึงได้นำเอาข่าวสาสน์นั้นๆขึ้นมาทูลปฏิบัติให้บุรีจันๆคิดถึงในถ้อยคำนั้นๆจึงได้แต่งเรือให้ไปรับเอา
  • เชิงอรรถ ๑ “เลิกแลบ” ละเอียด สุขุม
พราหมณ์ขึ้นมา  เมื่อพราหมณ์ทั้ง ๕ มาถึงแล้ว จึงได้นำเครื่องบรรณาการพร้อมพระราชสารเข้าไปถวายบุรีจันๆก็กระทำการเคารพในพระราชสาร  ขณะนั้นพราหมณ์ทั้ง ๕ จึงได้พิจารณาดูลักษณะของบุรีจันตามคัมภีร์เพทที่ตนได้เล่าเรียนมานั้น จึงเห็นได้ว่าเป็นโพธิสัตว์ที่ได้รับลัทธพยากรณ์มาแล้ว  ทันใดนั้นพราหมณ์ทั้ง ๕ จึงได้ดูนามและโคตรของบุรีจันก็รู้ได้ว่าเป็นตระกูลพ่อนา  พระอรหันต์จึงได้ให้ชื่อว่า “บุรีอ้วยล้วย”

       แล้วพราหมณ์ทั้ง ๕ จึงพร้อมกันถวายโฉลกโคลงไว้คนละบท  มังคลพราหมณ์ผู้ใหญ่กว่าพราหมณ์ทั้ง ๔ จึงกล่าวว่า ผู้มีบุญอรหันตาจึงให้ชื่อรีพำบารมีธรรมถ้วนแล้ว อวยจันทนาคเทวดาผายโผด ลวยรูปลุลาภได้อินทสว่างโสรจ เสวยราชควรแลนา

       จุลมังคลพราหมณ์จึงกล่าวโฉลกโคลงปฏิโลมว่า ลวยตมตูปกระทำนำให้เป็นเหตุ อวยโพเสียเพศร้ายวิปาโก ปูมใหญ่รีบ่ใช่โยโสสามานย์ ท่านพึ่งบุญบุรพชาติเชื้อ แหม่นบาทโพธิญาณแลนา

       แล้วพราหมณ์ทั้ง ๕ จึงพิจารณาดูลักษณะของนางอินทสว่างลงฮอด เห็นว่านางนี้ถูกต้องตามอิตถีลักษณะ เป็นเมียบุราณทุติยิกาบุรีจันจึงได้เป็นผัว  ไชยพราหมณ์จึงได้กล่าวโฉลกโคลงว่า นางนารีปัญจกัลยาณีพร่ำพร้อม มีศรีอินทรสักกะปราณีทรงธรรมทอดไว้ ธเทวินทร์แต่งนำแนมให้บุรีจันเป็นใหญ่ส่างกระสัน ให้หายโภยภัยจริงแลนา
  • เชิงอรรถ –
       สิทธิพราหมณ์จึงกล่าวปฏิโลมว่า สว่างสนิทนิทแหน่งเนื้อนอนเนือง ทรงโฉลกธจึงแถลงภายโยค ให้เอาบุรีจันเป็นใหญ่ อินทรกร่างเกราแสรงเพศ เหตุแค้นคำเคือง นางนารีบุญเปืองลาภล้นเลยเรื่อเรืองงามแลนา

       ทันใดนั้น จิตตวัฒนพราหมณ์จึงเอาชื่อบุรีจันอ้วยล้วยและนางอินทสว่างลงฮอดนั้น มาเข้าประสมกันเป็น ๘ บทได้ ๒ โฉลกอธิบายดังนี้  “บุ, นาง, รี, อินทร์,” ๔ บท และ “อวย, ธ, ลวย, สว่าง” ๔ บท  ปุบขึ้นแหม่นผัวบุราณก่อน นางลุได้ทัวระการพ้นโลก รีชะอินทรสมภารมีบ่ห่อนเปล่า อินทร์วางให้บริโภค ทรงโฉมจริงแลนา อวยลวดให้คันธรสฟุ้งซ่าน ธทรงทอดเนื้อมรโฉมสายสะอาด ลวยลวดใค้ ลวดใค้ลือชา ทั้งเมืองสว่างแสลงเบื้อง ยอเมืองมอบให้จริงแล

       เมื่อพราหมณ์ทั้ง ๕ พิจารณารำพึงถึงพระยาสุมิตตธรรมเจ้าและบุรีจันเปรียบเทียบกันดูจึงกล่าวเป็นโฉลกว่า  สุ, มิต, ต, ธรรม, เอาวาทะ ๔ ตัวนี้  มังคลพราหมณ์อ่านเป็นโฉลกว่า “สุใจจงสว่างแจ้งโพธิญาณ มิตตทรงธรรมสมภารเสมอภาค ตติยชาติเชื้อสืบสร้างศาสนา ธรรมราชาอาชาไนยจิตต์คิดขอดจริงแล”

       จุลมังคลพราหมณ์จึงกล่าวเป็นคำโฉลกว่า “ธรรมราชาชาติเชื้อโคดม ตติยทัวระเทียวสมภารสืบสร้าง มิทธิไป่ได้ม้างเมือฟ้าห้าพันวัสสา ยังสุดเสี้ยงแล้วเมือฟ้าพร้อมเมตไตรยลงแลนา
  • เชิงอรรถ –
       ขณะนั้นไชยพราหมณ์จึงมารำพึงถึงนางเทวีแก้วจึงกล่าวเป็นโฉลกว่า  “นางนารีพร่ำพร้อมอัธยาศัย ธทรงกรรมเป็นปัจจัยตกแต่ง วีให้เย็นแอ้งแม่งบ่อร้อนแก่หัวใจ  แก้วเกิดเป็นมัทรีแทบเท่านีรพานจริงแลนา

       สิทธิพราหมณ์กล่าวโฉลกปฏิโลมว่า  “แก้วเกิดเป็นเมียแก้ว ใจผัวแผ้วในการบุญ มีคำรักชื่นช้อย วีวอนขึ้นเวหาปอมเมฆ ได้เป็นเอกภริยา เทพดาให้ลักขณะแวนยิ่ง นางนรทัพพาทรงแท่น แล้วจึงได้ชื่อว่าเทวีแก้วจริงแท้บ่สงสัยแลนา”

       จิตตวัฒนพราหมณ์จึงกล่าวเป็นคำโฉลกว่า  สุ, นาง, มิต, เท, เข้ากันเป็น ๔ บท  ต, วี, ธรรม, แก้ว, เป็น ๔ บท จึงกล่าวเป็นโฉลกว่า  “สุจิตตเสียวสวาสดิแจ้งในบุรพ นางคูนค้ำให้ทรงธรรมทานแจก มิตตจึงยกแยกขึ้นทูนทั่วสีสัง เททอดให้พุทธสงฆ์ชั่วเขตต์นิพพานแลนา ตะตัปปังจักให้แพ้ยังตัณหา วิวาจากรรมฐานังบ่อห่อนเคียดเดียดแก่ใจ ธรรมาเป็นอุปนิสสัยสังเขต แก้วอันให้แล้วเหตุนิพพานจริงแล

       เมื่อพราหมณ์ทั้ง ๕ กล่าวโฉลกเสร็จแล้ว จึงถามหาน้ำมงคลเพื่อจักเอามาราชาภิเษกบุรีจัน  คนทั้งหลายจึงไปเอาน้ำแม่ของและน้ำบ่อและน้ำสระพังที่ว่าเป็นมงคลนั้นมาให้ พราหมณ์ทั้งหลายไป่เอา  ให้คนทั้งหลายไปหาน้ำมงคลที่พญานาคได้กระทำไว้นั้นจึงจะเอา คนทั้งหลายบอกว่าไม่มี  จะสระสรงมหากษัตริย์ก็เทียรย่อมเอาน้ำแม่ของ
  • เชิงอรรถ –

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น