วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ตำนานการกวนเกษียรสมุทร

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และ สถานที่ในร่ม
ตำนานการกวนเกษียรสมุทร
  • เมื่อนานมาแล้วเทพและยักษ์ได้สู้รบกันเพื่อแย้งชิงสวรรค์อันเป็นพื้นที่เดิมของพวกยักษ์ ในสมัยนั้นทั้งเทพและยักษ์ต่างมีฤทธิ์พอๆกัน เนื่องจากต่างฝากก็มักจะได้รับพรจากพระศิวะและพระพรหมมาทั้งนั้น (ปกติแล้วถ้าใครบำเพ็ญเพียรจนเป็นที่น่าพอใจและไปขอพรจากพระศิวะ พระองค์ก็จะให้พรกับทุกๆคนโดยไม่เลือกว่าจะเป็นฝ่ายไหน ต่อมาจึงมีพระพิฆเนศวร คอยทำหน้าที่สร้างอุปสรรค ไม่ให้ใครเข้าไปขอพรกันได้ง่ายๆ “พระพิฆเนศวร แปลว่าเจ้าแห่งอุปสรรค”)
  • โดยฝ่ายเทพนำโดยพระอินทร์ ได้พยายามทุกวิธีทางเพื่อจะยึดสวรรค์มาให้ได้ แต่ไม่ว่าจะยังไงก็ยึดไม่ได้สักที ด้วยเหตุว่าพระอินทร์ถูกฤาษีตนหนึ่งสาปไว้ ให้หมดฤทธิ์อำนาจ เนื่องจากเอาดอกไม้ที่ฤาษีถวายไปให้ช้างเอราวัณเหยียบ (จะว่าไปพระอินทร์นี้ไม่ได้เก่งเรื่องการรบเอาซะเลย เก่งแต่เรื่องผู้หญิง เป็นผู้ที่สร้างปัญหาจากเรื่องผู้หญิงได้ตลอดๆ)
  • เมื่อสู้ยังไงก็สู้ไม่ได้ พระอินทร์ก็เลยไปขอความช่วยเหลือจากพระศิวะและพระพรหม แต่พระศิวะและพระพรหมไม่เล่นด้วย ด้วยถือว่าพรอันใดได้ให้ใครไปแล้วก็ให้ไปเลย พระอินทร์จึงเหลือที่พึงสุดท้ายคือพระนารายณ์ (พระวิษณุ) ให้ช่วย ซึ่งพระนารายณ์ก็แนะนำให้ไปทำพิธีกวนเกษียรสมุทรในทะเลน้ำนม เพื่อให้ได้น้ำอมฤตมาดื่มจะได้มีพลังและไม่มีวันตาย แต่การจะกวนกวนเกษียรสมุทรได้ จะใช้แค่ฝ่ายเทพก็ไม่พอเพราะต้องใช้กำลังพลเยอะมาก พระอินทร์เลยออกบุบายทำสัญญาสงบศึกกับพวกยักษ์ และชักชวนกันมาทำการกวนเกษียรสมุทร ได้น้ำอมฤตมาเท่าไรเราค่อยมาแบ่งกัน (ในใจลึกๆก็คิดว่าอย่าหวังว่าจะได้กินเลยไอ้ยักษ์) จากนั้นพระอินทร์ก็ให้นาควาสุกรีมาช่วยใช้ลำตัวเป็นเชือกเพื่อใช้ในการชัก (หลอกนาคมาอีกหรือเปล่าไม่รู้ รู้แต่ว่าสุดท้ายนาคก็ไม่ได้อะไร)
  • เมื่อเริ่มพิธีกวนเกษียรสมุทร ได้ใช้ภูเขามันทรคีรีมาตั้งบนทะเลน้ำนมที่อยู่ในไวกูณฑ์สวรรค์ โดยพระอิทร์คิดไว้อยู่แล้วว่าถ้าชักนาคเมื่อไร นาคจะต้องเจ็บปวดมากและต้องพ้นพิษออกมาแน่ๆ พระอินทร์จึงให้ยักษ์อยู่ทางหัวของนาค และให้เทพอยู่ทางหาง เมื่อเริ่มกวนนาคก็พ้นไฟพิษมาโดนยักษ์ ต่างก็ทรมานทั้งยักษ์ทั้งนาค จะมีสบายก็แต่เทพ ชักแบบชิวๆ พิธีกรรมนี้ใช้เวลาชักเป็นพันๆปีกว่าจะได้น้ำอมฤต และในระหว่างนี้ก็มีของวิเศษหลายอย่างที่ได้ออกมาก่อนน้ำอมฤตซะด้วยคือ
    • 1.ดวงจันทร์ (พระศิวะเอาไปปักผม)
    • 2.เพชรเกาสตุภะ
    • 3.ดอกบัวลอยขึ้นมาพร้อมพระลักษมี
    • 4.วารุณี เทวีแห่งสุรา
    • 5.ช้างเผือกเอราวัณ (พระอินทร์เอาไปใช้)
    • 6.ม้าอุจฉัยศรพ
    • 7.ต้นปาริชาติ
    • 8.โคสุรภี หรือ โคอุสุภราช พร้อมของหอม
    • 9.หริธนู
    • 10.สังข์
    • 11.ปวงเทพีอัปสรสวรรค์ (มีนางอัปสรออกมาเยอะมาก พระอินทร์เอาคนเดียวไม่แบ่งใคร)
    • 12.พิษร้าย ฝูงนาคและงูสูบพิษไว้
    • 13.ธันวันตริ แพทย์สวรรค์
    • 14.หม้อน้ำทิพย์อมฤต
  • เมื่อพากันกวนจนได้น้ำอมฤตแล้วพวกยักษ์เห็นนางอัปสรซึ่งสวยมักๆ ก็พากันไล่จับนางอัปสร จนลืมว่าที่ตัวเองมาเนี้ยมาเอาน้ำอมฤตนะเฟ้ย ในระหว่างที่พวกยักษ์ไล่จับนางอัปสร พวกเทพก็พากันมาต่อคิวดื่มน้ำอมฤต แต่ไม่ใช่ว่ายักษ์ทุกตนจะบ้าผู้หญิงนะ ยังมีพระราหูที่ไม่บ้าจี้ไปไล่จับนางอัปสร ก็มาต่อคิวดื่มน้ำอมฤตกับเค้าด้วย ในระหว่างที่พระราหูกำลังดื่มอยู่นั้น พระอาทิตย์กับพระจันทร์เห็นเข้าก็ไปฟ้องพระนารายณ์ พระนารายณ์เลยขว้างจักรมาตัดหัวพระราหู แต่ด้วยอำนาจของน้ำอมฤตที่ดื่มไปทำให้พระราหูไม่ตาย แต่ก็เหลือแต่หัวมาจนทุกวันนี้ และพระราหูก็โกรธพระอาทิตย์กับพระจันทร์มาก เจอที่ไหนจะต้องเอามาอมเล่นให้ได้
  • กว่าพวกยักษ์จะรู้ว่าตัวเองโดนหลอก น้ำอมฤตก็หมดแล้ว นางอัปสรก็จับไม่ได้ แถมยังต้องเสียพื้นที่บนสวรรค์ให้กับพวกเทพอีก น่าสงสารเป็นยิ่งนัก

ในภาพอาจจะมี 2 คน, ผู้คนอยู่บนเวที

วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ลักษณะนิสัยของคนเกิดแต่ละเดือน


ลักษณะนิสัยของคนเกิดแต่ละเดือน 
เดือนมกราคม

          คนที่เกิดในเดือนนี้มีปัญหาเรื่องระบบเผาผลาญอาหาร มีเรื่องหงุดหงิดรำคาญใจจากบุคคลแวดล้อมเสมอ ๆ แม้จะเป็นคนฉลาดไหวพริบดี แต่ก็อาจไปไม่ถึงดวงดาวได้ เนื่องจากมักมีศัตรูคอยขัดแย้งขัดขาอยู่เรื่อย

เดือนกุมภาพันธ์

          คนที่เกิดในเดือนนี้มักเป็นคนโลเลไม่ค่อยกล้าตัดสินใจ บางทีก็สับสนวุ่นวายใจบ่อย ๆ หลงเชื่อคนง่าย แต่มีข้อดี คือมีจินตนาการกว้างไกล สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง ส่งเสริมให้ชีวิตเจริญก้าวหน้าได้

เดือนมีนาคม

          คนที่เกิดในเดือนนี้เป็นคนสนุกสนาน เฮฮาอารมณ์ดี แต่มักจะเครียด และเก็บกดปัญหาบางอย่างไว้ในใจ มีความฉลาดรอบรู้แต่ไม่ค่อยแสดงออกถึงความเก่งกล้าสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ และที่สำคัญคือไม่ค่อยกล้าตัดสินใจอะไรให้เด็ดขาด

เดือนเมษายน

          คนที่เกิดเดือนนี้มักเป็นคนใจร้อน อดทนอดกลั้นแต่บางครั้งมากเกินไปจนเกินพอดี ส่งผลถึงอาการที่อาจเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อ และอาจทำให้สมองตื้อได้ง่าย ๆ

เดือนพฤษภาคม

          คนที่เกิดในเดือนนี้มักเป็นคนใช้ร่างกายมาก เพื่อทุ่มเทให้แก่การทำงานอย่างเต็มที่ แต่พักผ่อนน้อย แม้จะมีกำลังกายกำลังใจดีแต่บางครั้งอาจจะขาดชีวิตชีวาไปบ้าง

เดือนมิถุนายน
คนที่เกิดในเดือนนี้ค่อนข้างเพ้อฝัน และหลงใหลอะไรได้ง่าย ๆ แต่จะเป็นคนรักในการให้บริการและชอบพบปะผู้คนที่หลากหลาย

เดือนกรกฎาคม

          คนที่เกิดในเดือนนี้เป็นคนค่อนข้างคิดซับซ้อน วกไปวนมา บางครั้งคิดแล้ก็ไม่ลงมือทำ แต่กลับปล่อยเลยตามเลย อีกทั้งเป็นคนไม่ค่อยกล้ามีเรื่อง หรือไม่ชอบขัดแย้งกับคนอื่น

เดือนสิงหาคม

          คนที่เกิดในเดือนนี้เป็นคนที่มีบุคลิกโดดเด่น มีความเป็นผู้นำสูง และชอบให้คนอื่นเห็นคุณค่า ความสามารถคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายควรใช้กลิ่นยูคาลิปตัส เปเปอร์มินต์ ในการสูดดมจะช่วยให้ระบบทางเดินหายใจทำงานได้ดี

เดือนกันยายน

          คนที่เกิดในเดือนนี้เป็นคนรักบ้าน รักครอบครัว รักความสะอาด แต่อาจจะจู้จี้จุกจิกกับคนรอบข้างมากไปหน่อย มักเอาเรื่องของคนอื่นมาคิดให้ตัวเองไม่มีความสุข

เดือนตุลาคม

          คนที่เกิดในเดือนนี้ส่วนใหญ่เป็นคนมีไหวพริบ มีสติปัญญาดี แต่เมื่อมีปัญหาไม่ค่อยชอบการเผชิญหน้า หรือไม่กล้าตัดสินใจ และมักจะอมความทุกข์ไว้คนเดียว

เดือนพฤศจิกายน

          คนที่เกิดในเดือนนี้เป็นคนมีความเป็นตัวของตัวเองสูง มักครอบงำความคิดและการตัดสินใจของคนอื่น แต่ค่อนข้างอยากรู้อยากลองและมักหลงใหล หรือตื่นเต้นกับสิ่งเร้นลับได้ง่าย ๆ

เดือนธันวาคม

          คนที่เกิดในเดือนนี้เป็นคนไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบการเดินทางและมีปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจเป็นโรคภูมิแพ้และมักเกิดอาการปวดเมื่อยอยู่เสมอ รวมถึงเป็นคนไม่ค่อยรักหรือผูกพันกับใครแบบจริงจังนัก

ตำนานการสร้างโลกของผานกู่มีอยู่ว่า

ในภาพอาจจะมี มหาสมุทร, ท้องฟ้า, เมฆ, สถานที่กลางแจ้ง, ธรรมชาติ และ น้ำ
เกาะซึ่งเป็นปฐมบทของโลก
  • ปี่เจี้ยซาน (笔架山) พื้นที่กึ่งเกาะกึ่งภูเขาริมทะเล ที่อ่าวเหลียวตง เมื่อน้ำลดจะเกิดปรากฎการณ์ทะเลแหวกทำให้มีเส้นทางเชื่อมต่อไปยังเกาะภูเขา เชื่อกันว่าเป็นจุดปที่ผานกู่ (盘古) สร้างโลกมนุษย์ขึ้นมา ตามคติเทพปกรณัมของจีน

ตำนานการสร้างโลกของผานกู่มีอยู่ว่า
  • เมื่อแรกเริ่มไม่มีสิ่งใดในจักรวาลเลยนอกจากความสับสนวุ่นวาย ต่อมาความวุ่นวายนั้นรวมตัวกันเข้าเป็นไข่จักรวาลใบหนึ่งเป็นเวลา 18,000 ปี ภายในนั้นคือหยินและหยางที่สมบูรณ์แบบและสมดุล ผานกู่ถือกำเนิดในไข่ใบนั้น คำพรรณนาถึงผานกู่มักว่าเป็นยักษ์มีขนดก มีเขาอยู่บนศีรษะ ร่างคลุมไปด้วยขน ผานกู่เริ่มต้นสร้างโลกโดยแยกหยินและหยางออกโดยการจามด้วยขวานยักษ์ของเขา หยินกลายเป็นโลก และหยางกลายเป็นท้องฟ้า เพื่อให้ทั้งสองแยกกันตลอดไป ผานกู่จึงยืนขวางระหว่างทั้งสองส่วนไว้แล้วดันท้องฟ้าขึ้นไป ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 18,000 ปี แต่ละวันท้องฟ้าสูงขึ้น 10 เชียะ (3 เมตร) และโลกก็กว้างขึ้น 10 เชียะ ผานกู่ก็สูงขึ้น 10 เชียะ เรื่องเล่าบางแห่งบอกว่าในระหว่างการสร้างโลกนี้มีสัตว์ใหญ่ 4 ชนิดมาช่วย คือ เต่า, กิเลน, หงส์ และมังกร
  • หลังผ่านไป 18,000 ปี ผานกู่เหน็ดเหนื่อยมาก จึงล้มลงขาดใจตาย ลมหายใจกลายเป็นสายลม เสียงกลายเป็นสายฟ้า ตาซ้ายเป็นดวงอาทิตย์ ตาขวาเป็นดวงจันทร์ ร่างกายกลายเป็นเทือกเขาและที่ราบสูงส่วนใหญ่ของโลก เลือดกลายเป็นแม่น้ำ กล้ามเนื้อเป็นผืนดินอันอุดมสมบูรณ์ หนวดเคราเป็นดวงดาวและทางช้างเผือก ขนเป็นพุ่มไม้และป่าไม้ กระดูกเป็นแร่ธาตุมีค่า ไขกระดูกเป็นเพชร เหงื่อกลายเป็นฝน และเหลือบไรบนขนตามร่างกายกายไปเป็นปลาและสัตว์ต่าง ๆ บนแผ่นดิน ทุกสิ่งของผานกู่ได้กลายเป็นสิ่งต่าง ๆ บนโลกหมด จากนั้น เมื่อผ่านไปเนิ่นนาน เทพธิดาหนี่ว์วา แห่งดวงจันทร์ได้ลงเยี่ยมชมโลก นางได้เอาดินโคลนมาปั้นเป็นรูปมนุษย์ มนุษย์เหล่านี้ฉลาดหลักแหลมเพราะถูกประดิษฐ์ขึ้นทีละคน แต่ต่อมาหนี่ว์วาเหน็ดเหนื่อยในการสร้างทีละคน นางจึงเอาเชือกมาจุ่มน้ำโคลนและสะบัดออกไป โคลนเหล่านี้กลายเป็นมนุษย์อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ฉลาดเหมือนกลุ่มแรก
  • ตำนานผานกู่นำมาจากวิกิพีเดีย อ้างจากหนังสือ สนุกกับเทศกาลเฉลิมฉลอง แปลและเรียบเรียงโดย แสงจินดา กันยาทิพย์, (พ.ศ. 2541) สำนักพิมพ์ดอกหญ้า ISBN 974-604-217-3

เจ้าหญิงพิษณุโลก

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังนั่ง

...เจ้าหญิงพิษณุโลก...
...เจ้าหญิงเมงอทเว หรือ เจ้าหญิงเจ้าภุ้นชิ่ เป็น พระราชธิดา ใน พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง กับ พระสุพรรณกัลยา ซึ่งพระสุพรรณกัลยาเป็นพระพี่นางในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ เนื่องจากพระสุพรรณกัลยาทรงเป็นองค์ประกันในพม่า พระสุพรรณกัลยาจึงมีพระนามภาษาพม่าว่า "อเมี๊ยวโหย่ว" และเชื่อว่าเป็นมเหสีที่พระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดปราน ส่วนพระนามของพระราชธิดา โดยได้รับพระราชทานพระนามว่า "เจ้าภุ้นชิ่" ซึ่งมีความหมายว่า ผู้มีสติปัญญาและพระบารมี แต่โดยมากจะรู้จักกันในพระนาม "เมงอทเว (เมง-อะ-ทเว)" พระนามพระองค์นี้อันมีความหมายว่า "พระธิดาองค์สุดท้อง" (และเป็นพระธิดาองค์สุดท้ายของพระเจ้าบุเรงนองด้วย)
...หลังจากงานบูชามหาเจดีย์ชเวดากองจบสิ้นลง พระเจ้าบุเรงนอง ได้นิมนต์พระสงฆ์พม่า มอญ เชียงใหม่ และไทใหญ่ 3,500 รูป เจริญพระพุทธมนต์ และทำพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำ เงิน สำริด และปัญจโลหะ อย่างละองค์ ในการนี้พระเจ้าบุเรงนองได้ทำการเฉลิมพระยศพระราชโอรส และพระราชธิดา โดยในการนี้ เจ้าหญิงเจ้าภุ้นชิ่ พระราชธิดาในพระสุพรรณกัลยาได้รับพระราชทานตำแหน่งเป็น "พิษณุโลกเมียวซา" เนื่องจากทรงได้รับสิทธิ์ในภาษีประจำปีที่ได้จากพิษณุโลก นับแต่นั้นมาทุกคนจึงขานพระนามพระราชธิดาพระองค์นี้ว่า "เจ้าหญิงพิษณุโลก"
...มิกกี้ ฮาร์ท (Myin Hsan Heart) นักประวัติศาสตร์ชาวพม่าได้นำเสนอข้อมูลที่กล่าวถึง เจ้าหญิงเจ้าภุ้นชิ่ หรือ เจ้าหญิงพิษณุโลก ได้ปรากฏว่าได้ตามเสด็จพระราชมารดาออกมาประทับนอกพระราชวังกัมโพชธานี โดยเจ้าหญิงเจ้าภุ้นชิ่ได้เสกสมรสกับ เจ้าเกาลัด พระโอรสของเจ้าอสังขยา เจ้าเมืองตะลุป ซึ่งเป็นชาวไทใหญ่ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของพระเจ้ามังรายกะยอชวา โอรสองค์ที่สองของพระเจ้านันทบุเรง และมีพระธิดาด้วยกันคือ เจ้าหญิงจันทร์วดี ซึ่งหมายความว่าในช่วงสงครามยุทธหัตถี พ.ศ. 2135 พระสุพรรณกัลยาซึ่งเป็นพระมารดามิได้ประทับอยู่ในหงสาวดีแต่ทรงประทับอยู่ในอังวะ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2137 พระเจ้าตองอู พระเจ้านยองยัน และพระเจ้าเชียงใหม่ ต่างแยกตัวเป็นอิสระจากหงสาวดี พระเจ้านยองยันจังได้เข้าครองกรุงอังวะที่เจ้าหญิงพิษณุโลก และพระมารดาอาศัยอยู่ อีกทั้งยังเป็นผลดีแก่ทั้งสองพระองค์ด้วย เนื่องจากพระเจ้านยองยันนั้นเป็นพระโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าบุเรงนอง ทั้งยังมีความคุ้นเคยกับเจ้าอสังขยาบิดาของเจ้าเกาลัด ภายหลังเจ้าเกาลัดจึงได้นำทหาร 3,000 นายออกจากหงสาวดีไปสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้านยองยันด้วยเหตุนี้ พระสวามีในเจ้าภุ้นชิ่จึงได้รับพระราชทานนามเป็น เจ้าโกโตรันตรมิตร และได้รับพระราชทานตำแหน่งเสนาบดีเช่นเดียวกับเจ้าอสังขยาผู้เป็นพระบิดา
...ภายหลังจากการสวรรคตของพระเจ้านยองยัน พระเจ้าสุทโธธรรมราชาพระราชโอรสจึงได้ครองราชย์ต่อ โดยพระองค์ได้แต่งตั้งให้เจ้าโกโตรันตรมิตรเป็นที่ปรึกษาของพระนางอดุลจันทร์เทวี พระอัครมเหสีของพระองค์ โดยพระอัครมเหสีได้มีความรักใคร่เอ็นดูเจ้าหญิงจันทร์วดีเป็นอันมาก เมื่อเจ้าหญิงจันทร์วดีมีพระชนมายุได้ 20 พรรษาก็ได้เสกสมรสกับเจ้าจอสูร์ จากเมืองส้าในไทใหญ่ ในปี พ.ศ. 2168 และได้ให้พระประสูติกาลพระโอรสพระนามว่า เจ้าจันทร์ญี และพระธิดา นามว่า เจ้ามณีโอฆ
...ภายหลังเจ้าหญิงมณีโอฆได้เสกสมรสกับมหาเศรษฐีชาวอังวะ (พ.ศ. 2191-2192) และมีบุตรชายด้วยกันนามว่า กุลา โดยนายกุลาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ในสมัยพระเจ้าศรีมหาสีหสูรสุธรรมราชา เป็น "เจ้ารูปลังกา" และท่านผู้นี้ก็เป็นผู้แต่งพงศาวดารมหาราชวงษ์ หรือพงศาวดารพม่าที่มีชื่อเสียงที่สุดฉบับหนึ่งในปี พ.ศ. 2257...

วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เผยที่มาชื่อในตำนานของ “ร้อยเอ็ด”



เผยที่มาชื่อในตำนานของ “ร้อยเอ็ด”
  • จังหวัดร้อยเอ็ด มีนามเต็มในตำนานว่า เมืองร้อยเอ็ดประตู
  • หมายถึงเมืองที่อำนาจทางการเมืองและการค้าแผ่ขยายกว้างไกลออกไปทุกสารทิศ เสมือนมีร้อยเอ็ดประตูเมือง ประดุจกรุงทวารวดีในมหากาพย์ของอินเดีย (ไม่ใช่เมืองสิบเอ็ดประตูตามที่เข้าใจคลาดเคลื่อนสืบมานาน)



  • บรรพชนชาวร้อยเอ็ด เป็นพวกเดียวกับบรรพชนคนอีสานและสองฝั่งโขง เชื่อมโยงถึงดินแดนลาว มีหลายชาติพันธุ์ และมีชื่อเรียกตัวเองต่างกันไป เช่น ลาว, เขมร, จาม, ส่วย, ข่า ฯลฯ
  • มีความเป็นมาไม่น้อยกว่า 5,000 ปีมาแล้ว ประกอบด้วยคนพื้นเมืองดั้งเดิม และคนที่โยกย้ายจากภายนอก แล้วประสมประสานทางเผ่าพันธุ์
  • ร้อยเอ็ดอยู่บนเส้นทางการค้าภายในข้ามภูมิภาค บริเวณขอบทุ่งกุลาร้องไห้ ด้านทิศเหนือ มีชุมชนมั่งคั่งจากการแลกเปลี่ยนทรัพยาการสำคัญกับชุมชนห่างไกล ได้แก่ เกลือและเหล็ก ตั้งแต่ราว 2,500 ปีมาแล้ว (หรือราวหลัง พ.ศ. 1)
  • เส้นทางการค้าเกลือและเหล็กทำให้ชุมชนเติบโตเป็นบ้านเมือง แล้วแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากรัฐใกล้ทะเล เช่น รัฐทางลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฯลฯ รับศาสนาจากอินเดีย ราว หลัง พ.ศ. 1000 ร่วมสมัยรัฐเจนละ ที่มีเมืองสำคัญอยู่ทางยโสธรและอุบลราชธานี ต่อเนื่องถึงจำปาสักในลาว
  • นับแต่นี้ไป ร้อยเอ็ดยุคแรกเริ่มก็ขุดคูน้ำสร้างคันดินล้อมรอบ เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า มีบึงขนาดใหญ่อยู่ตอนกลาง เรียกภายหลังว่าบึงพลาญชัย
  • ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นขุมทรัพย์ยิ่งใหญ่ทั้งในแง่การเกษตร ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ และในแง่การท่องเที่ยว แต่ยังถูกมองข้าม

 รวมภาพเก่าๆ ในอดีตของจังหวัดร้อยเอ็ด
ภาพกำลังก่อสร้างบึงพลาญชัย

ภาพเจ้านายระดับสูงเมืองร้อยเอ็ด ออกเยี่ยมชาวเมืองร้อยเอ็ด

ภาพกองคาราวานจากต่าง เมืองพักแรมนอกเมืองร้อยเอ็ด

ภาพการขุดลอกบึงพลาญชัย จังหวัดร้อยเอ็ด ในอดีต

ภาพการทำบุญทอดกฐินของ ชาวเมืองร้อยเอ็ดในอดีต

ภาพเจ้านายระดับสูงเมืองร้อยเอ็ด พักผ่อนขณะออกตรวจพื้นที่

ภาพสะพานข้ามมายัง จังหวัดร้อยเอ็ด

ภาพเครื่องแบบข้าราชการ ในอดีต
ชื่อเมือง  ร้อยเอ็ดประตู เป็นมงคลนามที่ผู้ตั้งต้องการให้หมายถึงว่าเป็น ? เมืองที่มีอำนาจแผ่ขยายกว้างไกลออกไปทุกทิศทาง? ซึ่งคงไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีประตูจริงๆถึง 101 ประตู
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ อ้างอิงจากเอกสารประกอบนิทรรศการฯของกรมศิลปากรเรื่องชื่อบ้านนามเมือง? ร้อยเอ็ด ผลิตเผยแพร่โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด เมื่อ พ.ศ. 2552

"เมืองดงละคร"



"เมืองดงละคร" เมืองลึกลับที่ รัชกาลที่ 5 ทรงสนพระทัยยิ่ง !! ทั้งยังนำน้ำศักดิ์สิทธิ์จากเมืองนี้ ไปประกอบพิธีในพระราชพิธีมากมายสมัย ร.9

"ที่ภูเขาหรือที่ชายป่าตีนเขาในวันพระ หากใครกล้าท้าพิสูจน์ แนะนำช่วงเวลาค่ำคืน ไปด้อมๆ มองๆ จะได้ยินเสียงผู้คน หญิงชาย เด็กเล็ก อีกทั้งมโหรีปี่แตรก้องสนั่นป่า กลิ่นดอกไม้ลอยลมมาแต่ไกล เหล่านางฟ้าหรือผีบังบด เก็บดอกไม้บูชาพระ" นี่เป็นส่วนหนึ่งของคำบอกเล่าชาวบ้านในบริเวณ
แต่เดิมชาวบ้านเรียกเมืองนี้ว่าเมืองลับแล ส่วนชื่อเมืองว่าดงละครนั้นไม่ทราบที่มาแน่ชัด บางแห่งกล่าวว่า เวลากลางคืน ได้ยินเสียงดนตรีวงมโหรีแว่วมาจากในเมืองกลางป่า คล้ายกับมีการเล่นละครในวัง จึงเรียกว่าดงละคร หมายถึงมาเล่นละครในดง ส่วนอีกแห่งก็กล่าวว่า เดิมเมืองนี้น่าจะเรียกว่า ดงนคร หมายถึงนครที่อยู่ในดง แต่นานเข้าจึงเรียกเพี้ยนกลายเป็น ดงละคร แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับที่มาของชื่อเมืองดงละครนี้

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองปราจีนบุรี ได้มีพระบรมราชาธิบายเกี่ยวกับเมืองดงละครไว้ว่า เป็นเมืองที่สร้างขึ้นโดยเจ้าแผ่นดินเขมรโบราณซึ่งเป็นสตรี หรืออาจเรียกว่าราชินีแห่งแผ่นดินเขมรโบราณนั่นเอง โดยเมื่อราชินีองค์นี้ขึ้นครองแผ่นดินเขมร ได้เฟ้นหาชายรูปงามจากแคว้นต่างๆ เพื่อเป็นคู่ครอง โดยได้พบชายชาวเขมรสองคนก่อน จึงได้รับเลี้ยงไว้ แต่ต่อมาได้พบกับชายอีกคนจากแผ่นดินเขมรเก่า (ปัจจุบันเป็นแผ่นดินไทย) ราชินีเขมรพอพระทัยในชายผู้นี้มากจึงอยากจะรับเลี้ยงไว้อีกคน แต่ชายสองคนก่อนไม่ยอม ราชินีเขมรจึงสร้างเมืองใหม่ชายอีกคนคือเมืองดงละครซึ่งอยู่ใกล้กับอาณาจักรเขมร แต่ต่อมาราชินีเขมรองค์นั้นก็ได้ประชวรและสิ้นพระชนม์ไป ไม่ได้มีราชบุตรสืบพระวงศ์ต่อไป ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระราชวินิจฉัยไว้เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรีไว้ว่าเมืองนี้เป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินโบราณ


เมืองโบราณดงละคร เป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดี ตั้งอยู่ในเขตตำบลดงละคร อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ห่างจากตัวจังหวัดนครนายกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร จุดสูงสุดของเมืองอยู่ที่เนินดินทางด้านทิศตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 34 เมตร
เมืองโบราณดงละครเป็นเมืองรูปไข่เกือบกลม มีคูน้ำและคันดินโดยรอบ มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่ และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 700-800 เมตร เดิมมีแนวกั้นเป็นคันดินสองชั้นแต่ปัจจุบันเหลือเพียงชั้นนอกชั้นเดียว คันดินชั้นนอกมีความสูงกว่าคันดินชั้นใน แต่คันดินชั้นในมีความหนามากกว่า ลักษณะการสร้างเมืองนั้นติดกับแม่น้ำนครนายกสายเดิม ซึ่งติดต่อกับชายฝั่งทะเลได้ เหมาะแก่การค้าขายทางทะเล และยังสามารถทำการเกษตรได้โดยรอบ เป็นลักษณะเดียวกับเมืองโบราณสมัยทวาราวดีในบริเวณใกล้กันของประเทศไทย คาดว่ามีผู้อยู่อาศัยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-18 และอยู่ในเครือข่ายการค้าขายทางทะเลในสมัยโบราณ


การล่มสลายของเมืองเก่า
ภายหลังพุทธศตวรรษที่ 18 คาดว่ามีการเปลี่ยนเส้นทางการไหลของแม่น้ำนครนายกซึ่งแต่เดิมไหลผ่านทางทิศตะวันตกของเมืองดงละคร กลายเป็นไหลอย่างปัจจุบันนี้ ทำให้เมืองที่เคยเจริญกลับไม่ได้รับความนิยมเพราะขาดน้ำ ทำให้เมืองดงละครกลายเป็นเพียงเมืองเล็กๆ มีประชากรอยู่ไม่กี่คน เพราะคนส่วนใหญ่ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ตามการไหลของแม่น้ำ เป็นเมืองนครนายกในปัจจุบันนี้
ในช่วงที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 คาดว่าชาวบ้านได้ย้ายเมืองหนีไปอยู่บริเวณเขาใหญ่เพื่อหนีการรุกรานของพม่า ทำให้เมืองร้างไปอีก
ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ มีพวกลาวพวน ลาวเวียง และมอญ มาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ โดยยึดอาชีพทำนาเป็นหลัก ซึ่งมักมีช้างป่าลงมากินข้าวในนาเสมอๆ แต่ต่อมาชาวบ้านย้ายมาอยู่เยอะเข้า ช้างป่าเลยหนีไปอยู่ที่บริเวณเขาใหญ่แทน

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
บ่อน้ำนี้ตั้งอยู่ในแนวของแม่น้ำนครนายกสายเก่าซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนทิศทางการไหลไปแล้ว บ่อนี้คาดว่าเป็นบ่อที่ขุดเอาศิลาแลงไปใช้สร้างโบราณสถานต่างๆ ในเมืองดงละครสมัยโบราณ ต่อมาได้ถูกทิ้งร้างไปพร้อมกับการล่มสลายของเมืองดงละคร จนกระทั่งปี 2533 มีการเปิดโรงเจสว่างอริยธรรมสถาน มีเรื่องเล่าว่าทางโรงเจได้เชิญร่างทรงมาประทับ ร่างทรงได้มายังบ่อน้ำนี้และให้น้ำไปประกอบพิธี ตั้งแต่นั้นชาวบ้านก็ได้นำน้ำจากบ่อไปกินบ้าง อาบบ้าง เชื่อว่าเป็นสิริมงคงและทำให้หายจากโรคได้ ซึ่งชาวบ้านหลายคนก็ยืนยัน แต่ก็ไม่ได้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มายืนยัน ในปี 2542 ทางสำนักพระราชวังได้นำน้ำจากบ่อนี้ไปประกอบพิธีในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

เมืองโบราณดงละคร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478


อ้างอิงข้อมูลจาก - th.wikipedia.org , sites.google.com , sanookpost.blogspot.com