วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เผยที่มาชื่อในตำนานของ “ร้อยเอ็ด”



เผยที่มาชื่อในตำนานของ “ร้อยเอ็ด”
  • จังหวัดร้อยเอ็ด มีนามเต็มในตำนานว่า เมืองร้อยเอ็ดประตู
  • หมายถึงเมืองที่อำนาจทางการเมืองและการค้าแผ่ขยายกว้างไกลออกไปทุกสารทิศ เสมือนมีร้อยเอ็ดประตูเมือง ประดุจกรุงทวารวดีในมหากาพย์ของอินเดีย (ไม่ใช่เมืองสิบเอ็ดประตูตามที่เข้าใจคลาดเคลื่อนสืบมานาน)



  • บรรพชนชาวร้อยเอ็ด เป็นพวกเดียวกับบรรพชนคนอีสานและสองฝั่งโขง เชื่อมโยงถึงดินแดนลาว มีหลายชาติพันธุ์ และมีชื่อเรียกตัวเองต่างกันไป เช่น ลาว, เขมร, จาม, ส่วย, ข่า ฯลฯ
  • มีความเป็นมาไม่น้อยกว่า 5,000 ปีมาแล้ว ประกอบด้วยคนพื้นเมืองดั้งเดิม และคนที่โยกย้ายจากภายนอก แล้วประสมประสานทางเผ่าพันธุ์
  • ร้อยเอ็ดอยู่บนเส้นทางการค้าภายในข้ามภูมิภาค บริเวณขอบทุ่งกุลาร้องไห้ ด้านทิศเหนือ มีชุมชนมั่งคั่งจากการแลกเปลี่ยนทรัพยาการสำคัญกับชุมชนห่างไกล ได้แก่ เกลือและเหล็ก ตั้งแต่ราว 2,500 ปีมาแล้ว (หรือราวหลัง พ.ศ. 1)
  • เส้นทางการค้าเกลือและเหล็กทำให้ชุมชนเติบโตเป็นบ้านเมือง แล้วแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากรัฐใกล้ทะเล เช่น รัฐทางลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฯลฯ รับศาสนาจากอินเดีย ราว หลัง พ.ศ. 1000 ร่วมสมัยรัฐเจนละ ที่มีเมืองสำคัญอยู่ทางยโสธรและอุบลราชธานี ต่อเนื่องถึงจำปาสักในลาว
  • นับแต่นี้ไป ร้อยเอ็ดยุคแรกเริ่มก็ขุดคูน้ำสร้างคันดินล้อมรอบ เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า มีบึงขนาดใหญ่อยู่ตอนกลาง เรียกภายหลังว่าบึงพลาญชัย
  • ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นขุมทรัพย์ยิ่งใหญ่ทั้งในแง่การเกษตร ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ และในแง่การท่องเที่ยว แต่ยังถูกมองข้าม

 รวมภาพเก่าๆ ในอดีตของจังหวัดร้อยเอ็ด
ภาพกำลังก่อสร้างบึงพลาญชัย

ภาพเจ้านายระดับสูงเมืองร้อยเอ็ด ออกเยี่ยมชาวเมืองร้อยเอ็ด

ภาพกองคาราวานจากต่าง เมืองพักแรมนอกเมืองร้อยเอ็ด

ภาพการขุดลอกบึงพลาญชัย จังหวัดร้อยเอ็ด ในอดีต

ภาพการทำบุญทอดกฐินของ ชาวเมืองร้อยเอ็ดในอดีต

ภาพเจ้านายระดับสูงเมืองร้อยเอ็ด พักผ่อนขณะออกตรวจพื้นที่

ภาพสะพานข้ามมายัง จังหวัดร้อยเอ็ด

ภาพเครื่องแบบข้าราชการ ในอดีต
ชื่อเมือง  ร้อยเอ็ดประตู เป็นมงคลนามที่ผู้ตั้งต้องการให้หมายถึงว่าเป็น ? เมืองที่มีอำนาจแผ่ขยายกว้างไกลออกไปทุกทิศทาง? ซึ่งคงไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีประตูจริงๆถึง 101 ประตู
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ อ้างอิงจากเอกสารประกอบนิทรรศการฯของกรมศิลปากรเรื่องชื่อบ้านนามเมือง? ร้อยเอ็ด ผลิตเผยแพร่โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด เมื่อ พ.ศ. 2552

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น