วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560

รามเกียรติ์ ๒๕๕๐



คนไทยแทบทุกคนคงจะรู้จักกับรามเกียรติ์มาบ้าง ไม่ว่าจะโดยการรู้จากหลักสูตรการศึกษา
หรือ จากเรื่องราวใกล้ตัว สุภาษิต คือเปรียบเปรยต่างๆ หรือ จากการละเล่น
การแสดงโขนซึ่งเป็นการแสดงนาฎศิลป์และการดนตรีไทยชั้นสูงสุด

ซึ่งโขนจะเป็นนำเรื่องราวของรามเกียรติ์หรือ เรื่องที่เกี่ยวข้องหรือเป็นที่มาของรามเกียรติ์มาละเล่นเท่านั้น
หาได้นำเรื่องราวจากละครเรื่องอื่นมาแสดงไม่

เรื่องราวในรามเกียรติ์ จะว่าไปก็เป็นมหากาพย์การต่อสู้กันระหว่างมนุษย์
( แปลว่า ผู้มีใจสูง หรือ ผู้ที่มีมโนธรรม ) กับ
ยักษ์ ( ผู้ที่จิตใจมากไปด้วยความโลภ โกรธ หลง น้อยไปด้วยความสำนึกผิดชอบชั่วดี )
และเหล่าโคตรพงษ์วงศ์ยักษ์
ซึ่งกล่าวกันว่า ท่านฤษี วาลมีกิ ได้แต่งไว้เมื่อกว่า ๒๔๐๐ ปีมาแล้ว
และคนไทยได้รับการรู้เรื่องราวเรื่องรามเกียรติ์นี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยาต่อ เนื่องกันมาจนปัจจุบัน
ซึ่งถ้าเราๆท่านๆมิได้เป็นคนคิดมากอย่างข้าพเจ้าก็คงจะรู้แล้วก็ผ่านไป

แบบ ว่า “ รามเกียรติ์”ก็คือรามเกียรติ์ เป็นโขนเป็นวรรณคดีก็สนุกดี
มีลิงมียักษ์มากระโดดโลนเต้นสู้รบปรบมือสัพยุทธผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะจนสุดท้ายฝ่ายธรรมะก็เป็นฝ่ายชนะอธรรมไปในที่สุด
( แต่กว่าผ่ายธรรมะจะชนะฝ่ายอธรรมได้ก็ต้องสูญเสียบาดเจ็บล้มตายไปมากมาย )
ดูแล้วก็แล้วไป ไม่ได้นำมาวิเคราะห์คิดมากอย่างข้าพเจ้า( เวหา )

มูลเหตุจูงใจที่ข้าพเจ้า ( เวหา ) เกิดความคิดถึงเรื่องราว รามเกียรติ์
จนเป็นเหตุที่ต้องมาเขียนให้ท่านอ่านในวาระนี้ ( อันที่จริง ได้เคยเขียนบทความเล่านี้ไปแล้ว ในเวป Thaizodiac.org ) ก็เพราะเห็นว่า
คนไทยทั้งหลายอยู่ในอาการเครียดในสถานการณ์ปัจจุบันที่ก่อตัวมานานนับแต่มี ปี ๒๕๔๔ จนถึงปัจจุบัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับแต่ปี ๒๕๔๘ – ๒๕๔๙ มาจนปัจจุบัน และยังมองหาทางว่าจะยุติลงไปได้อย่างไร

มูลเหตุแรกเริ่มคือ เมื่อประมาณ ๑๐ กว่าปีมาแล้ว( ประมาณ ๒๕๔๒ )
ได้มีท่านสุภาพสตรีท่านหนึ่งได้มาสนทนาปราศัยแลกเปลี่ยนทัศนะกับ ข้าพเจ้า
แล้วท่านสุภาพสตรีท่านนั้นท่านได้พูดคุยถึงเรื่องสมมุติฐานอะไรบ้างอย่างของท่าน
ในเรื่องบุคคลที่มีบทบาททางการเมืองในปัจจุบันเกี่ยวโยงหรือเชื่อมโยง หรือถอดวิญญานมาจากตัวละครเด่นๆในรามเกียรติ์
มาเล่าสู่ให้ข้าพเจ้าฟัง ( ซึ่งท่านผู้นั้นคงจะดีใจมาก ที่มีพบข้าพเจ้าเพราะท่านคงไปพูดให้ใครฟังไม่ได้ เพราะถูกหาว่าสติเฟื่อง)

แต่ข้าพเจ้ากลับให้ความสนใจเพราะข้าพเจ้าชอบที่จะรับรู้อะไรที่คนทั่วไปไม่ เคยได้รับรู้
และอยู่ในฐานะที่ว่า “ เรื่องของชาวบ้าน คือ งานของเรา”
และข้าพเจ้า ( เวหา ) ก็เฝ้าสังเกตุและติดตามดูพฤติกรรมและเหตุการณ์ตลอดมา จนย่างเข้าปี ๒๕๔๘ จวบจนถึงปัจจุบันก็ยิ่งมั่นใจในสมมุติฐานนี้มากขึ้น

สมมุติฐานของท่านผู้นั้นคือ ท่านเกิดความหยั่งรู้อะไรบ้างอย่าง ว่าคนที่บทบาททางการเมืองคนนั้นคนนี้ เป็นใคร หรือมีบทบาทคล้ายตัวละครอะไรในรามเกียรติ์มาเกิดเป็นคนนั้นคนนี้ โดยใช้วิธิ

๑ .สังเกตุพฤติกรรม บุคลิกภาพ / ความประพฤติ/ นิสัยใจคอ / สันดาน หรือ บทบาท
ว่าคนนี้น่าจะเป็นใครในรามเกียรติ์จำแลงตัวมาเกิด หรือ มีพฤติกรรมคล้ายตัวละครตัวใดในอมตะวรรณกรรมนี้ ประดุจว่า
ท่านฤษี วาลมิกีผู้แต่ง ท่านมีอนาคตญาณ หยั่งทราบเหตุการณ์ในอนาคต ว่าจะมีเหตุการณ์มาเกิดหลังจากท่านประพันธ์ไว้ ๒๔๐๐ ล่วงแล้ว
ในยุดสมัยที่พระอรหันต์ในสมัยปลายอยุธยาต้นกรุงรัตนโกสินทร์คือท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ( ลำไย )
ได้พยากรณ์เรื่อง ๑๐ ยุคในรัตนโกสินทร์ ว่า ยุคที่ ๙ คือ ยุดถิ่นกาขาว

๒. ตั้งสมมุติฐานที่มาจากชื่อของบุคคลผู้นั้นผู้นี้ ( โดยเฉพาะคนที่มีบทบาททางการเมือง )
โดยการนำอักษรที่มีอยู่ในตัวฅนนั้นทั้งหมด ( อาจจะเป็นอักษรไทย หรือ อักษรอังกฤษ ) ก็ได้
แล้วเขียนตั้งไว้ แล้วนำอักษรต่างๆในชื่อนั้น ดึงลงมา หรือ ไขว่กันไปมา แล้ว นำมาเรียงขึ้นมาใหม่
ก็จะได้รู้ว่า คนๆนี้เป็นใครในรามเกียรต์ของท่านฤษีวาลมีกิ มาเกิด หรือ ตัวละครตัวใดตัวหนึ่งในวรรณกรรมนั้น

อาทิ เช่น

เราเอาชื่อ + นามสกุล ( รวมทั้งยศและตำแหน่ง ) ของ

นช.ชายนายหน้าเหลี่ยมคนนั้น( ละไว้ในฐานะที่เข้าใจ )
ซึ่ง มีบทบาทและลีลาที่ต้องการเป็นใหญ่แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หมายจะครอบครองทุกสิ่งทุกอย่างให้ได้
ไม่ว่าจะทำร้ายทำลายประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของมันด้วยวิธีใดก็ตาม ฯลฯ

โดยการนำอักษรตัวแรกในชื่อของมันออกมาคือ
ตัว ท ( ท-ทหาร )
ตามมาด้วยตัวอักษร ษ ( ษ – ฤษี ) ที่มีอยู่ในลงมา แล้วแผลงเป็น ศ ( ศ- ศาลา ) เพราะพ้องเสียงกัน
ตามด้วย ก ( ก – ไก่ )
ตามด้วย ( ไม้หัดอากาศ )
ตามด้วย น ( น – หนู ) แต่แผลงเป็น ณ ( ณ –เณร ) เพราะ พ้องเสียง
ก็จะได้ตัวอักษรใหม่ ดังนี้คือ
ท+ ษ + กั +น ( แล้วเอาตัวอักษร ท ( ท. ทหาร ) อีกตัวที่เป็นตัวท้ายของยศ
แล้วแผลงรูปเป็น ฐ ( ฐ – ฐาน ) นำมาเรียงกันใหม่ ก็จะได้ ท + ศ + กั + ณ + ฐ์ หรือ ทศกัณฐ์

ยักษ์ตัวพ่อมารตัวเป้ง ในรามเกียรติ์ ซึ่งมาดูบทบาทหรือพฤติกรรมหรือสันดานของนช.นายหน้าเหลี่ยมคนนั้น กับ ทศกัณฐ์ ในรามเกียรติ์จะเหมือนกันอย่างน่าประหลาด
ไม่ว่าจะเรื่องรูปร่างหน้าตา ( คนพันธ์บ้าอะไรหน้าตาสี่เหลี่ยมอย่างกับหัวยักษ์ โดยไม่ต้องสวมหัวโขน )

ไม่ว่าเมืองที่ครองอยู่ก็คือ เมืองรังกา ( รัง + กา ) รังก็คือที่อยู่กา
“ กา” ก็คือ พวกที่อาศัยปากคอยจิกคอยตี เป็นที่น่ารังเกียจของผู้คน
( กาตัวนี้ ก็เป็นกาดำ ที่เวลาเพียงไม่กี่ปี ฝักตัวจนขาว จนเป็นกาขาว
เข้ากับยุคสมัยของยุดที่ ๙ ที่เรียกว่า ยุดถิ่นกาขาว )
รัง + กา ก็คือพรรคการเมืองนั้น หรือ สภา หรือ ทำเนียบรัฐบาล

ทศกัญฐ์ หมายปองในนางสีดา ซึ่งเป็นมเหสีของพระราม

นางสีดาก็เปรียบได้คือ ประชาชน ( ที่อ้างว่าประชาชนของพ้ม ) , รัฐธรรมนูญ ,อำนาจการปกครอง ตลอดจน ,ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างมหาศาลทั้งบนแผ่นดินแผ่นน้ำและใต้แผ่นดิน แผ่นน้ำ

ซึ่งเป็นของฅนไทยทุกฅน ( ที่เทวดาท่านจะรักษาไว้ให้ลูกหลานไทยได้ใช้ เมื่อไอ้ทศกัณฐ์จำแลงตัวนี้และโคตรพงษ์วงศาคณาญาติ ของพวกมันได้วิบัติฉิบหายไปแล้วเท่านั้น )

ซึ่งทศกัณฐ์จับนางสีดาไปไว้หมายจะเป็นสมบัติของตัว แต่ไม่สามารถจะเข้าใกล้หรือแตะต้องนางสีดาได้่ หากยิ่งเข้าใกล้เท่าไรก้จะยิ่งร้อนรนกระวนกระวาย

ก็เปรียบเสมือนประชาชนและความจงรักภักดีที่นางสีดา ( ประชาชน ) มีต่อพระราม
ซึ่งเป็นที่พระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิศราชธรรมได้ปกครองมานานแสนนาน

ทศกัณฐ์จำแลงตัวนี้ ถึงกับตั้งตัวเป็นศัตรูมุ่งร้ายพระรามทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะโดยการกระทำของตัวมันเอง หรือ โดยสมุนบริวารของมัน เป็นตัวทำเกมส์ ก่อกวนสร้างความปั้นป่วนต่อความสงบไม่เว้นวัน

ทศกัณฐ์ มันถอดหัวใจไว้นอกตัวตามคำแนะนำของฤาษีโคบุตร ( คือผู้ที่แนะนำวิธีการซุกหุ้นซ่อนเร้นเส้นทางการเงิน คือ คนที่นามสกุล จังไรเสถียร นั้นแหละ )

เหมือนดั่งที่มันได้โอนเงินโอนหุ้นไว้ที่เร้นลับยากที่สืบทราบได้ และ ที่มันยังหวังจะได้คืนทรัพย์สินที่มันโกงไปจากแผ่นดินเกิดคืนจากการถูกอายัต ไว้

ทศกัณฐ์ มี ๑๐ หน้า ๒๐ มือ ฉันท์ใด มันก็มี ๑๐ หน้า ๒๐ มือ แบบเดียวกัน
คือ หน้าหนึ่งเป็นนักธุรกิจ หน้าหนึ่งเป็นนักการเมือง หน้าหนึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาล ฯลฯ
( ลองไปใส่หน้าให้ครบกันเองครับท่านผู้ชม )
มี ๒๐ มือ มือหนึ่งคว้าสัมปทานธุรกิจผูกขาดของชาติ มือหนึ่งสร้างอำนาจทางการเมือง
ส่วนมืออื่นๆคว้าอะไรบ้างพี่น้องช่วยกันเติมให้เต็มด้วยครับพี่น้องครับ
( ถ้าเกินก็ไม่เป็นไรครับ แต่อย่าลืมใส่มือที่คว้านักร้องสาวไว้หนึ่งมือด้วยนะครับพี่น้องครับ )

ทศกัณฐ์ มีเมียที่เป็นทางการชื่อ นางมณโฑ

ลองเอาชื่อของเมียมันมาถอดดูตามสูตรที่ ๑ ก็จะได้อักษร ๒ ตัวในชื่อนั้นออกมาว่า
ม ( ม –ม้า ) กับ น ( น – หนู )
ก็เอามาเรียงกันเป็น ม + น แผลงเห็น ม + ณ + ...+... เติมให้เต็ม
ก็จะได้ เป็น มณโฑ

อ้า เริ่มจะเข้าท่าแล้วใช่ไหมครับพี่น้องครับ คราวนี้ลองสูตรที่ ๓ นะครับ

สูตรที่ ๓

คือ สูตรที่ใช้การผวนคำ + พฤติกรรมของตัวละครนั้นๆ เช่น อีเพ็ญ ผวนมาจาก นางเบญจกาย
( เป็นยักษ์ตัวเมีย ขอเน้นว่าเป็นยักษ์ตัวเมีย ไม่ว่าชาตินี้มันจะมาเกิดเป็นเพศใด ก็ยังคงคืนสภาพเป็นยักษ์ตัวเมียอยู่นั่นเอง )

อีกตัวหนึ่ง ชื่อ ชะ+วา+ลิต ผวนมาจาก อินทรชิต
ยักษ์ตัวลูกของทศกัณฑ์ที่มีฤกษ์มาก เต็มไปเจ้าเล่ห์เพททุบาย แปลงร่างเป็นพระอินทร์จนดูเหมือนมาก
แต่สุดท้ายก็ไม่วายถูกกระชากหน้ากากที่ภายนอกดูหวานเจี๊ยบ
แต่ภายในยอมรับใช้ ยักษ์ตัวพ่อ ทำทุกอย่างแม้กระทั้งออกไปเอาไฟภายนอกมาเผาบ้านเผาเมืองก็ยังทำ

ทีนี้ลองมาดูยักษ์แก่อีกตัวที่มีฤทธิ์สูสีกับทศกัณฐ์
โบราณท่านจึงจับมาเฝ้าประตูวัดคู่กับทศกัณฐ์ เป็นยักษ์แก่เก๋าเกมส์ ครองอีกเมืองหนึ่งคือเมืองหรือมีอีกพรรคหนึ่ง แต่มาเป็นนอมินี่ให้กับทศกัณฐ์ เพราะทศกัณฐ์รบกับพระรามจนหมดตัวชน
เอาโคตรพงษ์วงศ์ยักษ์ ๑๑๑ ตัว ไปตายจนหมดตัวเล่น เลยไปเอายักษ์แก่ตัวนี้มาชนกับพระราม

เจ้ายักษ์ตัวนี้คือ สหัสเดชะ มาจากอักษรหน้าสุดของชายคนหนึ่ง ดึงลงมา แล้วก็ผสมคำตามสูตรที่หนึ่ง
จะได้เป็น ส + ท +ไม้หันอากาศ + ส + เ + ค + ช
ตัว ท ( ท – ทหาร เต็มหัวที่หลัง ก็จะได้เป็น ห – หีบ )
ตัว ค ( ค – ควาย พลิกหัว จะได้เป็น ด – เด็ก )
เต็ม สระ อะ ไปที่หลัง ด –เด็ก
ก็จะได้เป็น ส+หั+ส+เ+ด+ช หรือ สหัสเดชะ

ยักษ์พันหน้าตัวนี้มีฤทธิ์มาก ตัวใหญ่เสียงดังฟังชัด มักพูดจาหยาบช้าโอ้อวด กระเหี้ยนกระหือลือ
จะเอาให้เป็นตายกันไปข้างหรือไง อะไรกันนักกันหนา
( แต่จะชอบกินไปบ่นไป สวาปามไม่เลือกทุกสิ่งที่ขวางหน้า จนโรคห่ากินตับ หรือชอบแอบไปนั่งกินอาหารในส้วมนาน 45 นาที ตามวรรณคดีไม่ได้กล่าวไว้ )

มีกระบองวิเศษต้นชี้ตายปลายชี้เป็น ( ไม่ใช่หอกหัก) เป็นอาวุธ
ยกทัพย้ายพรรคมาเข้ารังกาพรรคของ ทศกัณฐ์ ถึงกับยอมทุบกำแพงประตูเมือง เพราะตัวใหญ่ราชรถใหญ่มากเข้าเมืองรังกาไม่ได้ ( สมกับคำโบราณที่ว่า ราชรถมาเกย )

พอได้เวลาก็หมายมาดจะยกทัพไปจัดการกับทหารพระราม ที่รบด้วยอาวุธมือตบที่ยกพล มาจากทั่วสารทิศ
จองถนนอยู่แถวๆราชดำเนิน เตรียมบุกเข้ายึดเมืองรัง+กา

สหัสเดชะ ๒๕๕๐ ก็พบกับหนุมานแปลงตัวมาเป็นลิงน้อย นั่งหย่องๆอยู่แถวริมฟุตบาท เห็นน่ารักน่าสงสารก็ถามว่าเจ้ามานั่งร้องไห้ตรงนี้ทำไม
ลิงน้อยก็หลอกว่า ( ลิงหลอกเจ้า ) ข้าอยากจะช่วยท่านรบกับทหารพระราม เพราะแค้นที่เจ้านายตัวคือพาลีถูกฆ่า จึงอยากมาของอาศัยท่านไปทำศึกครั้งนี้ด้วย เจ้ายักษ์บ้าหน้าโง่ก็หลงเชิ่อ
เอาหนีบไปด้วยไม่ว่าจะไปเสนอหน้าหาผลประโยชน์จากบ้านเมืองอื่นก็หนีบไป ด้วย
และถูกหนุมานปลอมหลอกว่าจะขออาวุธสักอย่างติดตัวไว้ ยักษ์หน้าโง่ก็ถามว่าหน้าอย่างเอ็งจะเอาอาวุธอะไร ลิงน้อยก็ตอบว่า 
“ หอกหักไม่เอา ขอแค่กระบองอันเดียวก็พอ”
เจ้ายักษ์บ้าก็เอากระบองอาญาสิทธิ์ ต้นชี้ตายปลายชี้เป็นมอบให้ ผลก็ปรากฎว่า หนุมาณก็หักกระบองนั่นเสีย แล้วสุดท้าย ก็จับสหัสเดชะไปจัดการ

เมื่อสหัสเดชะแพ้ต่อทหารพระราม ทศกัณฐ์ ๒๕๕๐

ก็ให้น้องเขย ชื่อว่า ชิวหา ขึ้นมารักษาเมืองรัง+กาให้
ชิวหา น้องเขยทศกัณฐ์ เป็นผัวของนางสำมนักขาและมีลูกด้วยกัน ๓ ตัว

น้องสาวตัวแสบของทศกัณฐ์ นางสำมนักขามีรูปร่างอย่างไร หน้าจะเหมือนลูกซาลาเปาใส่หมูแดงหรือเปล่าก็ไม่ทราบ ทราบแต่ว่า นางยักษ์หน้าซาลาเปาตนนี้ กินทุกสิ่งที่ขวางหน้า

และชิวหา ซึ่งแปลว่าลิ้น ( ไม่ทราบใช้ลิ้นไปทำอะไรอย่างอื่นนอกจากรักษาเมืองให้ทศกัณฑ์
และจะไปหิ้วยักษ์ตัวเมียตัวอื่นไปซื้อตู้เย็น หรือพาไปเที่ยวป่าที่ไหน ในหนังสือไม่ได้กล่าวไว้ )

เมื่อทศกัณฐ์ ๒๕๕๐ หนีคดีไปอยู่ที่อื่น
ส่งนอมินี้ตัวแรกคือ สหัสเดชะ มารบกับทหารพระรามจนสหัสเดชะแพ้ยับเยิน
ก็ส่งน้องเขยลิ้นยาวมาทำหน้าที่รักษาตำแหน่งแทน

ชิวหาก็เอาใจพี่เขยเพราะอาจกลัวเมียคือนางสำมนักขา ( ก็สมควรกลัวอยู่หรอก รูปร่างหน้าตาอย่างนั้น )
คอยรักษาเมืองรัง+กาไว้ ไม่ให้ทหารพระรามบุกได้ ทำหน้าที่อยู่หลายวัน จนกระทั้งวันที่ ๗
( โปรดสังเกตุว่า เป็นวันที่ ๗ พอดี )

ชิวหาหลับไปเพราะเหนื่อยมาหลายวันแต่เอาลิ้นล้อมเมืองไว้ ทศกัณฑ์กลับมาไม่เห็นเมืองรัง+กา คิดว่า ถูกยึดไปแล้ว ก็โกรธขว้างจักรไปตัดลิ้นชิวหาขาดใจตาย
แสดงว่า ชิวหาต้องมาตายเพราะรักษาเมืองให้กับทศกัณฑ์แท้ๆ

ทศกัณฐ์ก็ยังพยายามจะครอบครองนางสีดาให้ได้ และ พยายามสร้างความเดือดร้อนไปทั้ง ๓ โลก
ต่อไปอย่างต่อเนื่องไม่หยุดไม่สิ้น จนถึงกับ ได้พยายามแบ่งภาค ( โฟนลิ้งค์ ) มาบงการให้ลิ้วล้อยักษ์กเฬวราก ออกมาสร้างความปั่นป่วนวุ่นวายไม่เว้นวาง และกำลังนี้ได้สั่งการให้อินทรชิตและสหายยักษ์ดำเนินการต่อไป

หากจะกล่าวไปแล้ว หากทศกัณฐ์ไม่ตาย รามเกียรติ์ก็ไม่จบใช่ไหมครับ ท่านผู้ชม

( หมายเหตุ )

เขียนเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๒

เวหา

"หลักฐานการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า" ที่ "พระนครศรีอยุธยา"

ในภาพอาจจะมี สถานที่ในร่ม

ข้อสมมติฐาน "หลักฐานการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า" ที่ "พระนครศรีอยุธยา" ที่ใครๆ อาจไม่รู้จัก
  • วันนี้ ผมมีความยินดี จะนำเสนอ หลักฐานการเสด็จมาของพระพุทธเจ้าที่ "พระนครศรีอยุธยา" ที่ใครๆ อาจไม่รู้จัก จาก “ตำนานพระสิขีพุทธปฏิมา” ดังปรากฏใน “ชินกาลมาลีปกรณ์” ซึ่งท่านรัตนปัญญาเถระ ชาวเมืองเชียงใหม่ ได้แต่งไว้เป็นภาษาบาลี เมื่อระหว่าง พ.ศ. ๒๐๖๐-๒๐๗๑ หรือเมื่อเกือบ ๕๐๐ ปีที่แล้ว ตอนหนึ่งว่า
  • .....ในปีกุนนั้น กษัตริย์อโยชฌปุระ ( หมายถึง พระนครศรีอยุธยา ตรงในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ครองกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๐๗๒ ) ยกพลนิกายมานครเขลางค์ จริงอยู่ กษัตริย์อโยชฌปุระนั้น เสด็จมานครเขลางค์ เมื่อวันอังคาร เดือนอ้าย แล้วยึดเอาพระพุทธปฏิมา ชื่อ "สิขี" ไปจากวัดกู่ขาว ขอเล่าเรื่องการอุบัติของพระพุทธปฏิมา ชื่อ "สิขี" ซึ่งสถิตอยู่ในวัดกู่ขาวต่อไป
  • .....ได้ยินว่า ยังมี "หินดำ" ก้อนหนึ่ง ทางด้านฝั่งตะวันตกแม่น้ำ ไม่ไกลจาก "อโยชฌปุระ" ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคของเรา เมื่อดำรงพระชนม์อยู่ แวดล้อมด้วยพระขีณาสพทั้งหลาย เสด็จมาทางอากาศแล้วลงมายังที่นั้น ประทับนั่งบน "ก้อนหินดำ" นั้น ตรัส "ทารุกขันธูปมสูตร" แก่พระภิกษุทั้งหลาย 
  • ตั้งแต่นั้นมา หินดำก้อนนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายกราบไหว้บูชาเป็นนิตย์ตลอดมา เพราะฉะนั้น หินดำก้อนนั้นจึงมีชื่อปรากฏว่า อาทรสิลา และหินดำก้อนนั้น ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวรัมมนะประเทศ ( หมายถึงเมืองรามัญ ) ทั้งหลายเรียกด้วยภาษาของตนว่า สิลาธิมิ แปลว่าพระหิน เพราะเล็งเอาเหตุที่ศิลานั้นมีผู้นับถือบูชา 
  • ต่อจากนั้นมา มีพระราชาธิราชองค์หนึ่ง ในรัมมนะประเทศ เป็นใหญ่แก่เจ้าประเทศราชทั้งหลาย ทรงดำริอย่างนี้ว่าหินก้อนนี้ แม้เพียงมีฐานะเป็นเครื่องใช้สอย แต่ก็ยังเป็นไปเพื่อบุญใหญ่หลวงแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายได้ 
  • อย่ากระนั้นเลย เราจะทำหินก้อนนั้นให้เป็นพระพุทธปฏิมา และพระพุทธปฏิมาองค์นี้ จะได้เป็นไปเพื่อบุญใหญ่หลวงยิ่งๆ ขึ้นไปแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจนกว่าศาสนาจะอันตรธาน 
  • ครั้นทรงดำริอย่างนี้แล้ว จึงตรัสสั่งให้ประชุมช่างปฏิมากรรมทั้งหลาย แล้วโปรดให้ช่างทำหินก้อนนั้นให้เป็นพระพุทธรูปจำนวน ๕ องค์ ครั้นทำเสร็จแล้ว 
    • องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในมหานคร องค์หนึ่งอยู่ในลวปุระ ( หมายถึง ลพบุรี ) 
    • องค์หนึ่งอยู่ในเมืองสุธรรม ( อาจจะหมายถึงเมืองสะเทิม ) 
    • อีก ๒ องค์ประดิษฐานอยู่ในรัมมนะประเทศ ทรงสักการบูชาพระพุทธรูป ๒ องค์เสมอมาจนสวรรคต
  • ......ในตำนานยังจะได้กล่าวถึงการอัญเชิญ “พระสิขีพุทธปฏิมา” ไปสักการะตามเมืองต่างๆ ซึ่งองค์ที่อัญเชิญมาที่เขลางค์นครนั้น ถูกอัญเชิญไปจากลวปุระ ในสมัย พระนางจามเทวี ราว พ.ศ. ๑๒๐๐
  • ......ซึ่งในพระไตรปิฎก และอรรถกถา ได้บันทึกไว้ ใน ๒ พระสูตร คือ "ทารุกขันธูปมสูตร" กับ "เผณปิณฑูปมสูตร"
  • ......โดยใน "ทารุกขันธูปมสูตร" ซึ่งตรงกับ "ตำนานพระสิขีพุทธปฏิมา" ที่ว่า พระพุทธองค์บนก้อนหินดำ ตรัส "ทารุกขันธูปมสูตร" แก่พระภิกษุทั้งหลาย มีว่า..
  • .......สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่ง "แม่น้ำคงคา" แห่งหนึ่งพระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอยมาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแสน้ำพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ
  • พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น จักไม่จมเสียในท่ามกลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้ ไม่ถูกน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภายในไซร้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ.....

......ส่วนใน "เผณปิณฑูปมสูตร" ได้บันทึกไว้ว่า...
  • ......สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้อยุชฌบุรี ณ ที่นั้นแล
  • พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคานี้ พึงนำกลุ่มฟองน้ำใหญ่มา บุรุษผู้มีจักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณากลุ่มฟองน้ำใหญ่นั้น โดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย กลุ่มฟองน้ำนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่าหาสาระมิได้เลย สาระในกลุ่มฟองน้ำ พึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็นเพ่ง พิจารณารูปนั้นโดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย รูปนั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในรูปพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกัน.
  • ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเมล็ดหยาบตกอยู่ในสรทสมัย ฟองน้ำในน้ำ ย่อมบังเกิดขึ้นและดับไป บุรุษผู้มีจักษุ พึงเห็น เพ่ง พิจารณาฟองน้ำนั้นโดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย ฟองน้ำนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้เลยสาระในฟองน้ำนั้นพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคายเวทนานั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในเวทนาพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกัน.
  • ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนยังอยู่ พยับแดด ย่อมเต้นระยิบระยับในเวลาเที่ยง บุรุษผู้มีจักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณา พยับแดดนั้นโดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย พยับแดดนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า ฯลฯ สาระในพยับแดดพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล.
  • ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีความต้องการด้วยไม้แก่น เสาะหาไม้แก่น เที่ยวแสวงหาไม้แก่นอยู่ ถือเอาจอบอันคม พึงเข้าไปสู่ป่า บุรุษนั้นพึงเห็นต้นกล้วยใหญ่ ตรง ใหม่ ยังไม่เกิดแก่นในป่านั้น พึงตัดโคนต้นกล้วยนั้นแล้วจึงตัดปลาย แล้วจึงปอกกาบใบออก บุรุษนั้นปอกกาบใบออก ไม่พึงได้แม้กระพี้ในต้นกล้วยใหญ่นั้น จะพึงได้แก่นแต่ที่ไหน บุรุษผู้มีจักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย ซึ่งต้นกล้วยใหญ่นั้น เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย ต้นกล้วยใหญ่นั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นมิได้ แก่นในต้นกล้วยพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาสังขารนั้นโดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นเห็นเพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย สังขารนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในสังขารทั้งหลายพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกันแล.
  • ดูกรภิกษุทั้งหลาย นักเล่นกลหรือลูกมือนักเล่นกล พึงแสดงกลที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง บุรุษผู้จักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณากลนั้นโดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย กลนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในกลพึงมีได้อย่างไรแม้ฉันใด. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย เมื่อภิิกษุเห็น เพ่งพิจารณาวิญญาณนั้นโดยแยบคาย วิญญาณนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้สาระในวิญญาณพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้.
  • พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
    • พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้วว่า
    • รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ เวทนาอุปมาด้วยฟองน้ำ สัญญาอุปมาด้วย
    • พยับแดด สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย และวิญญาณอุปมาด้วยกล.
    • ภิกษุย่อมเพ่งพิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นโดยแยบคายด้วยประการ
    • ใดๆ เบญจขันธ์นั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า
    • ด้วยประการนั้นๆ ก็การละธรรม ๓ อย่าง อันพระพุทธเจ้า ผู้มี
    • ปัญญาดังแผ่นดิน ปรารภกายนี้ทรงแสดงแล้ว ท่านทั้งหลาย
    • จงดูรูปอันบุคคลทิ้งแล้ว. อายุ ไออุ่น และวิญญาณย่อมละ
    • กายนี้เมื่อใด เมื่อนั้น กายนี้อันเขาทอดทิ้งแล้วย่อมเป็นเหยื่อ
    • แห่งสัตว์อื่น หาเจตนามิได้ นอนทับถมแผ่นดิน. นี้เป็น
    • ความสืบต่อเช่นนี้ นี้เป็นกลสำหรับหลอกลวงคนโง่ เบญจขันธ์
    • เพียงดังว่าเพชฌฆาตผู้หนึ่ง เราบอกแล้ว สาระย่อมไม่มีใน
    • เบญจขันธ์นี้. ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีสัมปชัญญะ มีสติ
    • พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน. ภิกษุเมื่อ
    • ปรารถนาบทอันไม่จุติ (นิพพาน) พึงละสังโยชน์ทั้งปวง พึงกระทำ
    • ที่พึ่งแก่ตน พึงประพฤติ ดุจบุคคลผู้มีศีรษะอันไฟไหม้ ดังนี้.
  • ซึ่งจาก "ตำนาน" และ ความใน "พระไตรปิฎก" ข้างต้นได้ทำให้เรา "ผูกปมขมวดเชือก" ได้ทราบถึงการเสด็จมาของพระพุทธองค์ ณ พื้นที่แถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นี้นั่นเอง ไม่ใช่ "อโยธยาที่อินเดีย"
ธนบดี วรุณศรี 
https://www.facebook.com/groups/1490033434592210/permalink/1950536245208591/
ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยืน และ สถานที่กลางแจ้ง

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เมืองลับแลแห่งกรุงเก่า

ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, สถานที่กลางแจ้ง และ ธรรมชาติ

เมืองลับแลแห่งกรุงเก่า
  • เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง บ้างก็เห็นภาพผ่านตา เรื่องราวของเมืองปริศนาที่ยังคงค้างคา เป็นคำถามแก่ชนรุ่นหลังว่าเมืองปริศนามีจริงหรือไหม หรืออีกชื่อหนึ่งที่เรียกว่า “เมืองลับแล” นั่นเอง
  • สำหรับเรื่องเมืองลับแลแห่งกรุงเก่าหรืออยุธยานี้เป็นที่เล่าขานกันอยู่พักหนึ่งถึงเรื่องที่มีคนโบราณเดินออกมาจากบริเวณเมืองเก่าหรือพื้นที่ของวังโบราณเพื่อนำข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ กลับไปยังเมืองลับแลและเรื่องราวต่างๆ ก็ถูกเปิดเผย
  • ได้มีผู้ชายคนหนึ่งนุ่งโจงกระเบนเปลือยท่อนบนและมีผ้าขาวม้าผูกเอวเดินถือห่อผ้าเข้ามาในตลาด ถามหาของใช้บางอย่างที่จำเป็นจะต้องใช้ในครัวเรือน เช่น พริก เกลือ เป็นต้น โดยใช้เงินพดด้วงแบบโบราณมาแลกซื้อของ แต่พวกพ่อค้าแม่ค้าไม่รับเพราะในสมัยนี้ใช้ธนบัตรกันหมดแล้ว ชายโบราณคนดังกล่าวจึงแก้ปัญหาโดยการใช้ต่างหูทองคำแลกเปลี่ยนสินค้า แต่ก็ไม่มีใครกล้าแลกเปลี่ยนด้วยเพราะกลัวจะเป็นต่างหูทองคำปลอม แต่ยังโชคดีที่ยังมีพ่อค้าคนหนึ่งที่ยอมแลกเปลี่ยน เมื่อเลือกสินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วพ่อค้าก็ขนของมาส่งให้ยังท่าน้ำ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นคลองที่ตัดเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้ เมื่อส่งของเสร็จก็ไม่ทันได้สังเกตว่าชายโบราณผู้นั้นไปทางไหนหรือมีใครมาช่วยหรือเปล่า
  • พ่อค้าที่ยอมแลกข้าวของเครื่องใช้กับชายโบราณคนนั้นก็ได้ต่างหูทองคำมาก็ได้นำไปขายให้ร้านทอง พ่อค้าร้านทองเมื่อตีราคาทองนั้นออกมาต้องประหลาดใจเมื่อพบว่าต่างหูทองคำชิ้นนั้นเป็นของโบราณ จึงได้ถามพ่อค้าแม่ค้าว่าเอามาจากไหน พ่อค้าโกหกว่าเป็นของเก่าของแก่ที่เก็บกันมานานตั้งแต่รุ่นปู่แล้ว ตกลงวันนั้นพ่อค้าคนนั้นขายต่างหูได้กำไรอย่างงามจึงกลับไปเล่าสู้กันฟังในกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าว่า ต่างหูที่ได้มานั้นเป็นของแท้และมีอายุเก่าแก่มากด้วย ทำให้ทุกคนที่ได้ยินต่างรอคอยชายลึกลับผู้นั้นกลับมาขอแลกซื้อข้าวของเครื่องใช้อีกครั้ง
  • จนกระทั้งเวลาผ่านไปหลายปี ซึ่งหลายๆ คนเกือบจะลืมเรื่องนี้กันหมดแล้ว แต่จู่ ๆ ก็ได้มีชายแปลกหน้าปรากฏขึ้นพร้อมกับผู้หญิงติดตามมาด้วย 2 คน แต่งตัวแบบโบราณเหมือนพวกเล่นหนังย้อนยุค ภาษาที่พูดกันก็เหมือนคนโบราณคุยกัน พ่อค้าแม่ค้าที่เคยเห็นชายโบราณที่มาคราวก่อนได้สังเกตดูและสิ่งที่ทำให้พวกเขาตกใจคือหน้าตาของชายผู้นั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลย
  • ซึ่งต่างจากพวกเขาที่แก่ลงตามวัยของสังขาร คราวนี้ก็เหมือนกับครั้งที่ผ่านมา เมือชายโบราณซื้อของเสร็จก็เดินทางกลับโดยรอบนี้มีพ่อค้าแม่ค้าขนของไปส่งหลายคนและส่งยังจุดเดิม หลังจากขนส่งสิ้นค้าเสร็จพวกพ่อค้าแม่ค้าได้มีการแอบซุ่มดูว่ากลุ่มคนลึกลับจะไปทางไหน เมื่อเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวพ่อค้าแม่ค้าต่างคิดว่าเป็นผีมาหลอกกันตอนกลางวัน กลุ่มคนลึกลับกลุ่มนั้นพวกเขาได้ขนของลงแม่น้ำแล้วก็เดินลงน้ำหายไปต่อหน้าต่อตา
  • เมือเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้แพร่กระจายไป จากปากต่อปากก็เลยกลายเป็นที่เล่าลือกันต่างๆ นานา บางก็ว่าเป็นผี บางก็ว่าเป็นเทวดา บางก็ว่าเป็นชาวลับแล จนกระทั้งมีคุณตาท่านหนึ่งอายุประมาณ 70 กว่า ได้ยินเรื่องนี้เข้าก็เกิดความสนใจได้มาสอบถามเรื่องราวที่เกิดขึ้นเพื่อที่จะหาข้อสรุปได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นตรงกับตำนานที่แกเคยได้ยินได้ฟังกันจากพวกผู้ใหญ่เล่าลือเมื่อสมัยที่แกยังเป็นเด็กๆ อยู่ว่า
  • ในสมัยอยุธยาตอนปลายที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะแตกนั้น บรรดาขุนศึกถูกส่งไปรบและล้มหายตายจากกันไปเยอะมาก ส่วนพวกที่มีวิชาอาคมก็ยังพอเอาตัวรอดกันได้และรวมตัวกันมาปกป้องพระนครกันอย่างแข็งขัน แต่เหตุการณ์สงครามกลับทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน ผู้คนล้มตายกันเป็นใบไม้ร่วง
  • ส่วนคนที่พอจะป้องกันตัวเองได้ต่างอพยพหนีภัยสงครามเข้าไปดงไปก็เยอะมาก ประชาชนที่ติดค้างอยู่ในเมืองก็ได้รับความเดือนร้อนแสนสาหัส ข้าวยากหมากแพง กำลังทหารก็เหลือน้อย ในขณะนั้นมีครอบครัวของนายทหารขุนศึกท่านหนึ่ง ซึ่งขุนศึกท่านนั้นเป็นคนดีมีวิชาอาคมที่แกร่งกล้ามาก
  • ดังนั้นเมื่อถึงคราวที่ต้องออกจากบ้านไปรบกับข้าศึกศัตรูนั้นก็เกรงว่าทางบ้านจะเดือนร้อนจากโจรผู้ร้ายมาปล้นสะดมและการรุกรานย่ำยีของพวกพม่า เพราะลูกชายทั้งหมดก็ต้องไปเป็นทหาร คงเหลือแต่ภรรยาและลูกสาวอีกสองสามคนคอยควบคุมดูแลบ่าวไพร่ชายหญิงตามลำพัง และด้วยความที่เป็นคนดีมีฝีมือ ทั้งอาคมก็เข้มแข็งแกร่งกล้า จึงได้ทำการเสกเป่าพระคาถาอำพรางบริเวณบ้านเรือนและไร่นาทั้งหมดและกำชับลูกเมียให้อยู่แต่ภายในบ้าน ส่วนเสบียงอาหารก็ให้กักตุนเอาไว้ให้มากพอที่จะเลี้ยงดูผู้คนได้หลายปี ระหว่างที่การศึกสงครามยังไม่จบก็ให้ทำไร่ทำนาเลี้ยงดูตัวเองกันไปก่อน และที่สำคัญคือห้ามละเลยคำสั่งที่บอกไว้
  • คือห้ามแก้ไขอาคมที่ลงไว้เด็ดขาดให้รอผู้เป็นพ่อเสร็จศึกกลับมาเสียก่อนแล้วจะทำการแก้ไขให้ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ให้ออกมานอกเขตทางแม่น้ำแล้วใช้คาถาปิดบังตาคนภายนอกไว้เหมือนเดิม ซึ่งทุกคนในบ้านก็รับปากรับคำเป็นอย่างดี และหลังจากนั้นผู้เป็นพ่อออกไปรบแล้วก็ไม่ได้กลับมาอีกเลย ทำให้อาณาเขตที่ตนเองได้ทำการล้อมด้วยพระคาถาอาคมปกปิดไว้ให้เป็นดินแดนที่เร้นลับเหมือนเข้าไปอยู่อีกมิติหนึ่งยังคงอยู่แบบนั้นตลอดมา
  • จนกระทั้งเวลาล่วงเลยไปนานมาก ตัวขุนศึกผู้เป็นพ่อและลูกชายก็ไม่ได้กลับเข้าบ้านมาอีกเลย ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเสียชีวิตไปนานแล้ว แต่ภายในบ้านที่ปกคลุมด้วยอาคมยังอยู่กันอย่างเป็นปกติสุข และทุกชีวิตก็ยังคงอยู่สภาพเดิมด้วยพระเวทอันศักดิ์สิทธิ์ที่ได้กำกับไว้ในครั้งนั้นยังไม่ถูกถอนออก
  • ด้วยเหตุที่ผู้ซึ่งทำการกำกับอาคมนั้นไม่อยู่เสียแล้ว ครั้นเวลาผ่านไปความเจริญเข้ามากมากมายมีการตัดถนนหนทางและสิ่งปลูกสร้างใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่สรรพชีวิตในบ้านเร้นลับนี้ก็ยังคงดำรงอยู่อย่างนั้น
  • จนบางครั้งเกิดขาดแคลนอาหารบางอย่างที่จำเป็นจริงๆ จึงต้องหาทางออกมาจากบ้านหาซื้อของและเสบียงอาหารนำไปเก็บตุนไว้ในยามจำเป็น จึงต้องส่งคนที่เป็นข้าทาสบริวารออกมาในเมืองเพื่อหาซื้อของกินของใช้กลับเข้าไปในบ้านที่อยู่อีกมิติหนึ่ง จนกระทั้งเป็นที่ฮือฮาแตกตื่นของผู้คน
  • ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่ว่าเพิ่งเกิดขึ้น เพราะเคยได้มีผู้พบเห็นกลุ่มคนลึกลับนี้เข้ามาเดินซื้อของในตลาดในเขตจังหวัดอยุธยาหลายครั้งด้วยกัน ตั้งแต่โบราณนับอายุคนก็หลายรุ่นแล้ว และได้เล่าขานสืบต่อกันมา

"ตำนานรักพญานาคแห่งบึงโขงหลง"

ในภาพอาจจะมี สถานที่ในร่ม

"ตำนานรักพญานาคแห่งบึงโขงหลง"
ความเป็นมาของปู่อือลือ จ.บึงกาฬ

  • บึงโขงหลง อยู่ใน อ.บึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ เป็นบึงขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของเมืองบึงกาฬ มีพื้นที่ประมาณ 11 ตารางกิโลเมตร ชาวบึงโขงหลงใช้บึงนี้เพื่อประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม ประมง กสิกรรม
  • สมัยก่อน บริเวณที่เป็นตัวบึงโขงหลงนั้นไม่ได้เป็นพื้นน้ำ แต่เป็นพื้นดินที่ตั้งเมือง ชื่อว่ารัตพานคร มีผู้ปกครองนคร คือพระอือลือราชา มีมเหสีชื่อนางแก้วกัลยา มีพระธิดาชื่อพระนางเขียวคำ (ต่อมาอภิเษกกับพระเจ้าสามพันตา) มีพระโอรสชื่อเจ้าชายฟ้าฮุ่ง
  • ตามตำนานเล่าว่า เจ้าชายฟ้าฮุ่ง เป็นผู้มีความเฉลียวฉลาด มีความรอบรู้และมีรูปเป็นสมบัติ ต่อมาเจ้าชายฟ้าฮุ่งได้อภิเษกสมรสกับ นาครินทรานี ซึ่งเป็นพระธิดาของพระยานาคราชแห่งเมืองบาดาล ซึ่งจำแลงแปลงกายเป็นมนุษย์ การจัดงานอภิเษกสมรสได้จัดทำกันใหญ่โตมโหฬารมากทั้งเมืองรัตพานครและเมืองบาดาล(๗วัน๗คืน)
  • เพื่อให้สมกับการแต่งงานอันยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ และเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธไมตรีระหว่างพระยานาคกับพระเจ้าอือลือ พระยานาคราชได้มอบเครื่องราชกุฎภัณฑ์ซึ่งเป็นของมีค่าประจำตระกูลให้กับพระเจ้าอือลือราชาในโอกาสนี้ด้วย พร้อมกับฝากฝังลูกสาวของตนให้เมืองรัตพานครดูแล โดยที่ไม่มีใครล่วงรู้ว่า นางคือลูกของพญานาคแห่งเมืองบาดาล
  • เจ้าชายฟ้าฮุ่งกับเจ้าหญิงนาครินทรานี อยู่กินร่วมกันมา ๓ ปี ก็ไม่สามารถที่จะมีผู้สืบสายโลหิตได้(เพราะธาตุมนุษย์กับนาคเข้ากันไม่ได้) จึงทำให้เกิดความเศร้าโศกเสียใจกับทั้งสองเป็นอันมาก ซึ่งต่อมาทำให้เจ้าหญิงนาครินทรานีล้มป่วยลง ทำให้ร่างกายของนางกลับกลายร่างเป็นนาคตามเดิม
  • ข่าวนี้แพร่สะพัดไปทั่วกรุงรัตพานคร แม้ต่อมาพระนางจะร่ายมนต์กลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้งก็ตาม เมื่อทุกคนทราบความจริงว่านาครินทรานีเป็นนาค ประชาชนชาวรัตพานครและพระเจ้าอือลือราชาไม่พอใจอย่างมาก จึงได้แจ้งให้พระยานาคราชมารับลูกสาว พร้อมขับไล่นางนาครินทรานีกลับคืนสู่เมืองบาดาลโดยไม่ใยดี แม้กระทั้งการจะไปส่งด้วยน้ำใจก็ไม่มี ไม่เหมือนกับครั้งที่นางมาในพิธีอภิเษกสมรส
  • พระยานาคราชกริ้วโกรธกับการกระทำของเมืองรัตพานครที่ได้กระทำต่อลูกสาวของตน แต่ด้วยความรักที่มีต่อพระธิดาของตน จึงมารับพระธิดากลับโดยดี แต่ก่อนกลับสู่เมืองบาดาล พระพระยานาคราชได้ขอเครื่องราชกุฎภัณฑ์ที่เป็นเครื่องประดับยศ และสมบัติที่มอบให้พระธิดาเมื่อครั้งแต่งงานคืน แต่พระเจ้าอือลือราชาไม่สามารถคืนได้ เนื่องจากได้นำไปแปรสภาพเป็นอย่างอื่นแล้ว พระยานาคราชกริ้วโกรธมาก เพราะธิดาของตนถูกขับไสไล่ส่งก็เจ็บใจมากพอแล้ว อีกทั้งยังขอรับเครื่องราชกุฎภัณฑ์ของตนกลับเมืองบาดาลไม่ได้
  • พระยานาคราชแห่งบาดาลจึงได้ประกาศว่าจะกลับมาพร้อมกับไพร่พลแห่งเมืองบาดาล เพื่อถล่มเมืองรัตพานครให้สิ้นสภาพความเป็นเมือง หลังจากพระยานาคราชกลับเมืองบาดาล ตกในคืนวันเดียวกันนั้น ไพร่พลแห่งพระยานาคราชได้ยกมาถล่มเมืองรัตพานครจนราบคาบเป็นหน้ากลอง ไม่มีใครรอดพ้นจากฤทธิ์ของนาคได้ จนพื้นดินที่เคยเป็นเมืองรัตพานครในอดีต กลายเป็นผืนน้ำอันเวิ้งว้าง รัตพานครล่มถล่มลง ผู้คนแห่งเมืองล้วนล้มตายเพราะความโกรธของพระยานาคราชที่เกิดจากชาวรัตพานครกระต่อพระธิดาของตน
  • เนื่องจากนางนาครินทรานีไม่ทราบว่าพระบิดาจะมาถล่มเมืองรัตพานคร แต่พอทราบภายหลังก็ขึ้นมาตามหาเจ้าชายฟ้าฮุ่ง นางออกตามหาเจ้าชายฟ้าฮุ่งทั่วบึงของหลง ถึงแม่น้ำสงครามแต่ก็ไม่พบ จึงได้กลับเมืองบาดาล เมืองรัตพานครถูกถล่มจนกลายเป็นบึงของหลง และได้กลายมาเป็น “บึงโขงหลง”
  • ในปัจจุบันจากพื้นดินอันเป็นที่ตั้งของรัตพานคร กลายเป็นเวิ้งน้ำ แต่ในช่วงที่ไพร่พลพญานาคเข้าทำลายเมืองนั้นยังมีวัดที่ตั้งอยู่ในรัตพานคร ที่พระยานาคราชและไพร่พลไม่ทำลาย เหลือไว้เป็นที่สักการะของผู้คนที่จะมาพบเห็นในกาลต่อไป ซึ่งในกาลต่อมาวัดเหล่านั้นได้เสื่อมสภาพลง กลายเป็นเกาะและป่าขนาดเล็กที่มิได้จม หรือถูกทำลายให้กลายเป็นพื้นน้ำ วัดเหล่านั้นจึงปรากฏเป็นชื่อดอน หรือเกาะต่างๆ ในบึงโขงหลงในปัจจุบันดังนี้ วัดแก้วฟ้า หรือวัดดอนแก้ว ปรากฏเป็นดอนแก้วในปัจจุบัน วัดโพธิ์สัตว์หรือวัดดอนโพธิ์ มาเป็นดอนโพธิ์ และวัดแดนสวรรค์ กลายเป็นดอนสวรรค์ ซึ่งปัจจุบัน เป็นที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง
  • สิ่งหนึ่งที่มีชื่อปรากฏตามตำนานในปัจจุบันคือ เส้นทางที่พระธิดานาครินทรานีตามหาเจ้าชายฟ้าฮุ่งในเมืองรัตพานครไม่เจอ จึงออกตามหาต่อจากบึงโขงหลง ต่อไปยังน้ำสงคราม เส้นทางดังกล่าว กลายเป็นน้ำเมาที่เชื่อมต่อบึงโขงหลงและน้ำสงคราม
  • ส่วนคำว่าน้ำเมา หรือห้วยน้ำเมานั้น เป็นเพราะเกิดจากความลุ่มหลงในรักของพระธิดาของพระยานาคที่มีต่อเจ้าชายฟ้าฮุ่ง ซึ่งตกอยู่ในอาการที่เรียกว่ามัวเมาในความรัก จึงเป็นเส้นทางแม่น้ำที่เรียกว่า"น้ำเมา"นั่นเอง

วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2560

คัมภีร์สุวรรณโคมคำ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คัมภีร์สุวรรณโคมคำ

คัมภีร์สุวรรณโคมคำ
• •°*"˜¯`´¯˜"*°• •°*"˜¯` ´¯˜"*°´¯˜"*°• •*. ˛*.。˛
ความเป็นมาของคัมภีร์สุวรรณโคมคำ (โดยย่อ)
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......สุวรรณโคมคำ เป็นชื่อดินแดนในอดีต มีมาตั้งแต่สมัยพระกกุสันธพุทธเจ้า ในสมัยนั้นเรียกว่า “ถ้ำกุมภ์” เป็นสถานอันพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาฉันบิณฑบาต และทรงมีพุทธทำนายไว้ว่า พระ
สัมมาสัมะพุทธเจ้าที่เหลืออีก ๔ พระองค์ ในอนาคตจะมาฉันบิณฑบาตที่ถ้ำนี้เหมือนเช่นกับพระองค์ 
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......เพราะเป็นสถานที่ที่จะทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้อย่างมั่น คงในอนาคต ภายหลังสถานที่แห่งนี้ ได้มีชื่อว่า เมืองสุวรรณโคมคำ แปลว่า โคมทอง เมืองสุวรรณโคมคำมีอาณา เขตกว้างใหญ่ไพศาล (ดูในตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ) มีอาณาบริเวณสุดลูกหูลูกตา เป็นเมืองแห่งพุทธศาสนา มีพระ พุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมใจ
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......ครูบาอาจารย์ในสายสุวรรณโคมคำ เล่าสืบมาว่า ท่านผู้มีฤทธิ์ฌานและบรรลุธรรมขั้นสูงในพุทธศาสนาได้รจนาไว้ เพราะเห็นว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมก็จริง แต่จะรู้ได้เฉพาะผู้ที่มีบารมีธรรมและฤทธิ์ฌานแก่กล้า 
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......สำหรับปุถุชนคนธรรมดาทั่วไปไม่อาจจะรู้ได้ ทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความประมาท อย่างไม่รู้โลก 
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......ด้วยเหตุนี้ ท่านเหล่านั้นจึงได้รจนาคัมภีร์สุวรรณโคมคำขึ้น เพื่อใช้คำนวณบุญกรรมให้เห็นเป็นรูปธรรม 
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......คัมภีร์สุวรรณโคมคำจึงถืออุบัติขึ้นแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และเพราะเหตุว่า คัมภีร์นี้เกิดขึ้นในแผ่นดินสุวรรณโคมคำ 
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......บูรพาจารย์สุวรรณโคมคำจึงได้เรียกขานคัมภีร์นี้ว่า “คัมภีร์สุวรรณโคมคำ” หรือเรียกอีกชื่อว่า "คัมภีร์มหาจักรพรรดิราช"
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿


.......คัมภีร์นี้แสดงสูตรคำนวณบุญบาปที่ให้ผลตามกาลเวลาไว้  และยังรวมเอาศาสตร์อื่น ๆ ที่มีหลักการเดียวกันผนวกไว้อย่างครอบคลุม  รวมทั้งหมด  ๑๖  ส่วน  ได้แก่.......๑. ลคฺนา        ว่าด้วย สภาพชีวิต ความเป็นอยู่ รูปร่าง บุคลิก.......๒. โหรา         ว่าด้วย ความเจริญ ความเสื่อมฐานะ.......๓. ตรียางฺค    ว่าด้วยความสุข ทุกข์ทั้งหลาย.......๔. จตุรทฺสํส   ว่าด้วย ความรุ่งโรจน์สูงสุด.......๕. ตมสํส       ว่าด้วย อนาคตอันใกล้ (แบ่งออกเป็น ๗ ปกรณ์).......๖. นวางฺค      ว่าด้วย อุบัติกาลคู่.......๗. ทสมสํส   ว่าด้วย ตำแหน่ง อำนาจ อิทธิพล บารมี (แบ่งออกเป็น ๑๐ ปกรณ์).......๘. ทวาทสํส  ว่าด้วย ผู้อุปถัมภ์ บุพพการี วงศ์สกุล (แบ่งออกเป็น ๒๐ปกรณ์).......๙. โสทสํส    ว่าด้วย ทรัพย์อันเป็นมรดก ดินแดน การยึดครอง.......๑๐ วิมสํส      ว่าด้วย กรรมเก่า ( แบ่งออกเป็น ๒๐ ปกรณ์).......๑๑. จตุรวมสํส ว่าด้วยความสำเร็จในการศึกษาวิทยาการ (แบ่งออกเป็น ๒๐ ปกรณ์).......๑๒. ภงฺส   ว่าด้วยธาตุ ปราณ และสมุนไพร (แบ่งออกเป็น ๒๗ ปกรณ์).......๑๓. ตริมสํส  ว่าด้วยข้าศึก ศัตรู อุบาทว์ และอุปสรรค (แบ่งออกเป็น ๓๐ ปกรณ์).......๑๔. อคฺคเวทสํส   ว่าด้วยพฤติแห่งอาชีวะ (แบ่งออกเป็น ๑๕ ปกรณ์).......๑๕. ขวทสํส     ว่าด้วยการห้ามฤกษ์ และวางฤกษ์ตามกลุ่มนักษัตร
.......๑๖. ฉฎฺฐองฺส   ว่าด้วยอรรถย่อยทั้งหลาย
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿

.......ทั้ง ๑๖ ส่วนนี้ รวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  “โสฬส” เป็นการแบ่งวิชาเท่ากับจำนวนส่วนทั้ง  ๑๖  ของดวงจันทร์ตามคัมภีร์สุวรรณโคมคำนั้นเอง  
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......ผู้เรียนเจนจบครบสูตรทั้งหมดนี้เรียกว่า “สำเร็จโสฬส” กลายเป็นยอดคนครบถ้วนกระบวนยุทธ์   คัมภีร์สุวรรณโคมคำได้สืบต่อเรื่อยมารุ่นแล้วรุ่นเล่าโดยเหล่าศิษย์ผู้ได้รับการถ่ายทอด
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......ด้วยศักดานุภาพของคัมภีร์ที่มากล้นนี้  ล้วนเป็นที่หมายปองของผู้แสวงหาวิชายิ่งนัก (คล้าย ๆ คัมภีร์กลยุทธ์ซุ่นจื่อ ที่ได้รับการสืบทอดโดยซุนปิง)  ถึงกับยกทัพจับศึกแย่งชิงตามที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ 
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......คัมภีร์สุวรรณโคมคำได้ผ่านกาลสมัยมาช้านาน  ต่อมาคัมภีร์นี้ได้ตกทอดมาถึง  " สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีศรีรัตนลงกาทีปมหาสวามี" นามเดิม คือ  พระศรีศรัทธา   
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......เป็นโอรสของกมรเตงอัญรามคำแหง  ประสูติ  ณ  เมืองสองแคว  (พิษณุโลก) เมื่อเจริญชันษาได้ศึกษาศิลปวิทยา และเจนจบคัมภีร์มหาจักรพรรดิราช หรือคัมภีร์สุวรรณโคมคำ  สำเร็จโสฬสแต่ครั้งเยาว์วัย     
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......นอกจากนี้ ยังทรงเชี่ยวชาญในวิชาคชศาสตร์  และอัศวศาสตร์  (อันหนึ่งร้คุณช้าง  อันหนึ่งรู้คุณม้า  อันหนึ่งรู้คุณสีหะ  จารึกวัดศรีชุมว่างั้น) 
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......ในช่วงวัยหนุ่ม  พระศรีศรัทธาได้สู้รบกับขุนต่าง ๆ มากมาย  จนสุดท้าย ได้ทำยุทธหัตถีกับขุนจัง แทนพ่อขุนรามคำแหง ได้รับชัยชนะอย่างสง่างาม   
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......ต่อมาพระศรีศรัทธาเห็นภัยในการครองเรือน  ได้ทิ้งอาวุธ  นำทรัพย์สมบัติออกบริจาคทาน และได้ยกพระธิดา และพระชายาให้แก่ผู้ที่มาขอ  ได้เจริญรอยตามพระเวสสันดรโพธิสัตว์ เสด็จผนวชบวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา 
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......ครั้งหนึ่ง  สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาได้จาริกไปแสวงบุญที่เกาะลังกา  หลังจากที่กลับจากการแสวงบุญที่เกาะลังกา ด้วยสมเด็จพระธรรมราชาลิไทย ตรัสให้บัณฑิตไปอาราธนานิมนต์กลับสู่กรุงสุโขทัยแล้ว     
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......ครูบาอาจารย์สายสุวรรณโคมคำ  เล่าสืบมาว่า  "สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ  ได้ผนวกเนื้อหาของพระอภิธรรมเข้าไว้ในคัมภีร์สุวรรณโคมคำ (ซึ่งท่านชำนาญอยู่แล้ว) จนครบสมบูรณ์  
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......ซึ่งแต่เดิมนั้น  คัมภีร์สุวรรณโคมคำมีเนื้อหาธรรมะครบถ้วนอยู่แล้ว  แต่ด้วยผ่านกาลเวลามาช้านาน  ทำให้หลักธรรมกร่อนไปเป็นอันมาก  เหลือเพียงหลักการคำนวณ  และคำพยากรณ์เท่านั้น   
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......ดังนั้น  ผู้ที่ศึกษาวิชาในคัมภีร์สุวรรณโคมคำ  เพื่อให้สำเร็จในขั้นสูง จำเป็นต้องศึกษาธรรมะ และฝึกกสิณสมาธิควบคู่ไปด้วย"    
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......เมื่อบั้นปลายชีวิตของสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านเกิด คือ วัดจุฬามณี จนกระทั่ง  ละสังขารลาจากโลกนี้ไป  รวมอายุได้ประมาณ  ๘๓  ปี
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......เชื่อกันว่า  แม้พญาลิไทก็ได้รับการถ่ายทอดคัมภีร์นี้จากสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ด้วยเช่นกัน   ต่อมาในสมัยหลัง  คัมภีร์นี้ตกทอดมาจนถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช   
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿
.......คงประกอบด้วยเหตุนี้  พระองค์ท่านจึงปรีชาสามารถกอบกู้เอกราชได้สำเร็จภายในเวลาอันสั้น  และก่อนสวรรคต   โปรดให้คนนำคัมภีร์สุวรรณโคมคำไปคืนไว้ที่เมืองสุวรรณโคมคำเดิม (ประเทศลาว)
✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿ ✿•*`*•.¸ƸӜƷ✿¸•*`*•.¸ƸӜƷ✿

พิมาย-พนมรุ้ง


“พิมาย-พนมรุ้ง” ในตำนาน-นิทานท้องถิ่น เรื่องเล่าต่อเนื่องยืนยัน “คนไทยอยู่ที่นี่”

ในวัยเด็ก เคยได้ยินมาอย่างกระท่อนกระแท่น ไม่ปะติดปะต่อ เกี่ยวกับ “ตำนาน-นิทานท้องถิ่น” เรื่อง “ท้าวปาจิตต์และนางอรพิมพ์”
บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิท ในเขต จ.บุรีรัมย์ ไม่ว่าจะเป็น “เขากระโดง” หรือ “เขาพนมรุ้ง” มีต้นไม้ชนิดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกชื่อในภาษาเขมรแถบนั้นว่า “ต้นกะนูย ขะม้อยต” แปลเป็นไทยได้ว่า “ต้นหีผี”
ภายหลัง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานชื่อใหม่ว่า “ต้นโยนีปีศาจ”
เป็นไม้ยืนต้น ที่ภายหลังมีการผูกเข้ากับตำนาน-นิทานเรื่องดังกล่าว
“โยนีปีศาจ”ในตำนาน-นิทานพื้นบ้าน
ใครเคยปีนเขากระโดง เขาพนมรุ้งขึ้นไปไหว้พระ ชมปราสาทหิน ถ้าสังเกตสักหน่อยจะพบไม้ยืนต้นชนิดนี้
เก็บผลมาพลิกดู น่าจะเข้าใจได้ว่าทำไมชาวบ้านถึงเรียก “หีผี” หรือ “กะนูย ขะม้อยต”
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Schrebera swietenioides Roxb ส่วนชื่อสามัญนั้นเรียก มะกอกโคก, มะกอกดอน เป็นไม้เปลือกแข็ง ต้นสูงใหญ่ ออกดอกเป็นช่อช่วงหน้าร้อน มีผลคล้ายลูกมะกอก ขนาดก็พอๆ กัน เมื่อผลสุกจะแตกออกเป็น 2 ซีก คล้ายอวัยวะเพศหญิง
จึงเป็นที่มาของชื่อตามคำปากชาวบ้านนั่นเอง
ไม้ยืนต้นชนิดนี้ พบในประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตภูเขาไฟที่ดับแล้ว อย่างเช่น จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็น “ถิ่นภูเขา” (พบมากที่สุดในประเทศไทย)
ความต่อเนื่องของการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของผู้คนในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเมืองพนมรุ้งใน จ.บุรีรัมย์ หรือเมืองพิมาย ใน จ.นครราชสีมา ทำให้เรื่องราวของต้นโยนีปีศาจถูกผนวกรวมเข้ากับ “ตำนาน-นิทานท้องถิ่น”
กลายเป็นชื่อบ้านนามเมือง แม่น้ำ ลำคลองต่างๆ ซึ่งแม้จะไม่ตรงกับหลักฐานทางโบราณดดีที่ค้นพบ แต่ทั้งหมดก็เป็นสิ่งยืนยันว่า “คนไทยอยู่ที่นี่” มีความสืบเนื่อง ไม่เคยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไตแต่อย่างใด
“เรื่องท้าวปาจิตต์และนางอรพิมพ์” เล่าสืบต่อกันไว้หลายสำนวน
โดยย่อๆ สำนวนที่ต้นโยนีปีศาจเข้าไปเกี่ยวข้องนั้น เล่าไว้ว่า โอรสกษัตริย์เมืองพระนครกัมพูชา เดินทางออกหาคู่ครองตามคำทำนาย ได้มาพบกับหญิงท้องแก่คนหนึ่ง มีลักษณะตรงตามคำโหราจารย์ที่ว่า คู่ครองของตนจะคลอดออกมาจากหญิงคนนี้ ซึ่งต่อมาเมื่อคลอดแล้วก็ให้ชื่อว่า “นางอรพิมพ์”
ท้าวปาจิตต์ดูแลนางอรพิมพ์ สร้างปราสาทให้อยู่บนภูเขา คือ “ปราสาทหินพนมรุ้ง” จนเมื่อถึงออกเหย้าเรือน ก็กลับเมืองพระนครกัมพูชาไปตั้งขบวนขันหมากมาสู่ขอ
แต่ระหว่างนั้นนางอรพิมพ์ถูกท้าวพรหมทัตที่ครองเมืองพิมายชิงตัวไป ท้าวปาจิตต์เข้าช่วยเหลือ ฆ่าท้าวพรหมทัตตาย แต่ทว่า ระหว่างทางทั้งสองต้องพลัดพรากกันอีก เพราะเหตุแห่งความสวยของนางอรพิมพ์
เมื่อนางอรพิมพ์รู้ว่าความเป็นหญิงงามนำภัยมาให้ จึงอธิษฐานพระอินทร์ขอเป็นผู้ชาย นางโยนอวัยวะเพศหญิงของตนทิ้ง กลายเป็นต้น “โยนีปีศาจ” โยนนมทิ้ง กลายเป็นต้น “นมนาง” แล้วเดินทางต่อไปยังเมืองหนึ่ง ได้ช่วยเหลือธิดาเจ้าเมืองไว้ จนผู้ครองเมืองจะยกธิดาให้เป็นคู่ครอง (นางอรพิมพ์อยู่ในร่างผู้ชาย) แต่นางปฏิเสธ ขอออกบวช
ขณะบวช ได้สร้างศาลาการเปรียญไว้ เขียนจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องราวของตนเองและท้าวปาจิตต์ วันหนึ่ง ท้าวปาจิตต์เดินทางมาถึงเมืองแห่งนี้ เห็นจิตรกรรมฝาผนังแล้วจำได้ นางจึงกลับเป็นผู้หญิงดังเดิม แล้วทั้งสองจึงเดินทางกลับไปครองเมืองพระนคร และครองรักกันอย่างมีความสุข
ชื่อบ้านนามเมืองที่ปรากฏในตำนาน-นิทานท้องถิ่นเรื่องนี้ยังมีอยู่อีก
อาทิ เมืองนางรอง (จ.บุรีรัมย์) เป็นเมืองที่ “นางร้องไห้” หลังถูกท้าวพรหมทัตจับตัว, ลำปลายมาศ (ลำน้ำสาขาแม่น้ำมูล) จุดที่ท้าวปาจิตต์ทิ้งขันหมากก่อนปลอมตัวเข้าไปช่วยนางอรพิมพ์
“ชัยวรมันที่ 7” เป็น “ท้าวพรหมทัต”ความต่อเนื่องของเมืองโบราณ
ตํานาน-นิทาน “ท้าวปาจิตต์และนางอรพิมพ์” แพร่หลายอย่างมากในท้องถิ่นเมืองพิมาย จ.นครราชสีมา
เกี่ยวกับเมืองพิมายและปราสาทหินพิมาย จากการขุดค้นทางโบราณคดี ทำให้ทราบว่าบริเวณ “เมืองพิมาย” มีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นบ้านเรือน ชุมชนราว 3,000 ปีมาแล้ว
เรียกกลุ่มวัฒนธรรมทุ่งสัมฤทธิ์เทียบอายุได้ว่าอยู่ในยุคเดียวกับกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียง จ.อุดรธานี โดย แหล่งโบราณคดีบ้านธานปราสาท อ.โนนสูง คือหลักฐานยืนยันการตั้งถิ่นฐานของผู้คน
รวมถึงบริเวณท่านางสระผม ห่างไปทางตะวันออกของปราสาทพิมายราว 1 กิโลเมตร อาจารย์มานิต วัลลิโภดม เชื่อว่าเคยเป็นชุมชนมาตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์ เนื่องจากพบเครื่องปั้นดินเผาอยู่กระจายอย่างหนาแน่น
สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 เมืองพิมายได้กลายเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนามหายาน รวมทั้งมีการติดต่อเมืองในที่ราบลุ่มภาคกลาง รับเอาพุทธศาสนาของวัฒนธรรมทวารวดีเข้ามาผนวกด้วย
ขณะที่อีกด้านหนึ่งติดต่อสัมพันธ์กับทางอาณาจักรขอม ทำให้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นไป เมืองพิมายจะกลายเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนามหายานที่เข้มแข็งมาก จนมีการสร้างปราสาทหินพิมาย ขึ้นเป็นศูนย์กลางทางศาสนาและพิธีกรรม
ครั้นถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สร้างปราสาทนครธม (หรือ บายน) นักวิชาการศึกษาพบว่า พระองค์มีบรรพชนอยู่บริเวณถิ่นฐานแถบเมืองพิมาย ต้นลุ่มแม่น้ำมูล จึงเป็นเหตุให้มีการบูรณะปราสาทหินพิมาย รวมทั้งสร้างปรางค์องค์ใหญ่ทางด้านซ้ายของปราสาท
นั่นก็คือ “ปรางค์พรหมทัต”
 

ในการขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อปี พ.ศ.2497 ภายในปรางค์องค์ดังกล่าว พบประติมากรรมสลักจากหินทราย 3 รูป ชาวบ้านเรียกกันต่อมาว่า รูปท้าวพรหมทัต รูปท้าวปาจิตต์ และรูปนางอรพิมพ์
โดยเฉพาะรูปของท้าวพรหมทัตนั้น มีบรรยายลักษณะว่า นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ประนมอยู่เหนือพระอุระ (ปัจจุบันหักหายไป) นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นประติมากรรมของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แบบเดียวกับที่พบในกัมพูชา
ตำนาน -นิทานพื้นบ้านเรื่อง “ท้าวปาจิตต์และนางอรพิมพ์” ซึ่งคาดว่าน่าจะเริ่มผูกเรื่องหลังการล่มสลายของอาณาจักรขอมโบราณ เล่าสืบต่อกันมาในแถบถิ่นนี้ ได้ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กลายเป็น “ท้าวพรหมทัต” ในที่สุด
ตํานาน-นิทานท้องถิ่นเรื่อง “ท้าวปาจิตต์และนางอรพิมพ์” ในสมัยพระเจ้าตากสิน (กรุงธนบุรี) มีผู้นำมาผูกแต่งเป็น “นิทานกลอนอ่าน” บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
สุจิตต์ วงษ์เทศ เคยตั้งข้อสังเกตไว้ว่า เป็นนิทานกลอนอ่านที่ส่งพลังให้สุนทรภู่สร้างสรรค์กลอนสุภาพหรือกลอนแปด ที่ใช้แต่งเรื่องพระอภัยมณี
นั่นเพราะครั้งหนึ่ง “กรมพระราชวังหลัง” ซึ่งเป็นเจ้านายของสุนทรภู่นั้น เคยเป็นเจ้าเมืองอยู่นครราชสีมา น่าจะรับรู้ และได้ต้นฉบับกลอนอ่านนี้มาไว้ที่วังหลัง ทำให้สุนทรภู่ซึ่งเป็นผู้ดี อยู่บางกอกน้อย เข้านอก-ออกในได้สะดวก มีโอกาสได้อ่าน
ซึ่งนี่ก็คือความต่อเนื่องที่ยืนยันว่า “คนไทยอยู่ที่นี่” ไม่เคยอพยพมาจาก “เทือกเขาอัลไต” ด้วยเช่นกัน