วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ตำนานเจ้าฟ้านางหลวงศรีอโนชา ขัตติยนารี

ตำนานเจ้าฟ้านางหลวงศรีอโนชา ขัตติยนารี

ในภาพอาจจะมี 1 คน, ภาพระยะใกล้

เล่าขานตำนานเจ้าฟ้านางหลวงศรีอโนชา ขัตติยนารี ผู้ปิดทองหลังพระ


  • เจ้าศรีอโนชา หรือเจ้าหญิงศรีอโนชา หรือโนจา ประสูติเมื่อปีมะเมีย พ.ศ.2293 เป็นขนิษฐาหรือน้องสาวของพญากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นธิดาองค์ที่ 5 ในจำนวนบุตรธิดา 10 คน ของเจ้าฟ้าชายแก้ว มารดาคือเจ้าแม่จันทรามหาเทวี จึงมีศักดิ์เป็นหลานสาวของหนานทิพย์ช้าง หรือพญาสุลวฤาชัยสงคราม แห่งนครลำปาง
  • เจ้าศรีอโนชาเป็นประดุจโซ่ทองคล้องสายสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรล้านนากับกรุง รัตนโกสินทร์ มีบทบาทอย่างสำคัญในการเสริมสร้างพระบารมีและพระเกียรติราชวงศ์จักรี ดังปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ว่า พ.ศ.2317 เมื่อพญากาวิละพร้อมด้วยพญาจ่าบ้าน ได้คบคิดกันต่อต้านพม่าที่ปกครองเมืองเชียงใหม่ โดยได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพของพระเจ้า ตากสิน ซึ่งมีเจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพ จนสามารถขับไล่พม่าออกไปจากเมืองเชียงใหม่ได้ ในครั้งนั้น พญาจ่าบ้านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระยาวิเชียรปราการ เจ้าเมืองเชียงใหม่ และเจ้ากาวิละได้เป็นพระยานคร (ลำปาง) เจ้าเมืองลำปาง เมื่อพญากาวิละเห็นว่าเจ้าพระยาสุรสีห์ มีใจรักใคร่เจ้าศรีอโนชา ประกอบกับเห็นว่าจะเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีอันดีต่อไปในภาย ภาคหน้า จึงได้ยกเจ้าน้องนางให้เป็นภรรยาเจ้าพระยาสุรสีห์ 
  • พ.ศ.2324 เกิดเหตุจลาจลที่กรุงธนบุรี โดยพระยาสิงห์ และพระยาสรรค์คิดกบฏฆ่าพระเจ้าตาก หวังจะขึ้นเป็นกษัตริย์แทน จึงยุยงขุนอนุรักษ์มนตรี.shยกพวกเข้าปล้นบ้านพระยาสุริยอภัย ผู้ซึ่งเจ้าพระยาจักรี กับเจ้าพระยาสุรสีห์ มอบหมายให้รักษาราชการที่กรุงเทพฯ ในระหว่างที่เจ้าพระยาทั้งสองไปราชการสงครามที่ญวนและเขมร เมื่อท่านผู้หญิงเจ้าศรีอโนชา หรือศิริรจนา ซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ที่บ้านปากคลองบางลำภู รู้ข่าว จึงร่วมมือกับพระยาเจ่ง พระยาราม นายกองมอญ นำกำลังไปต่อสู้กับพวกกบฏ สามารถฆ่าพระยาสิงห์ พระยาสรรค์ได้ เหตุการณ์ก็สงบลง 
  • ภายหลังเมื่อเจ้าพระยาจักรีได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(ทองด้วง) หรือที่เรารู้จักกันว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ จึงได้สถาปนาเจ้าพระยาสุรสีห์ ผู้เป็นพระอนุชาและได้ร่วมออกศึกสงครามเคียงบ่าเคียงไหล่กันมาโดยตลอด ให้เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช (บุญมา) มีพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มหาอุปราชวังหน้า ในขณะที่ท่านผู้หญิงเจ้าศรีอโนชา สุรสีห์พิษณุวาธิราช ก็ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าครอกฟ้าศรีอโนชา (เจ้าครอก = เจ้าโดยกำเนิด ชั้นพระเจ้าลูกเธอ)
  • ท่านผู้หญิงเจ้าศรีอโนชา มีธิดา 1 คน คือ เจ้าฟ้าหญิงพิกุลทอง ซึ่งนับเป็นพระราชธิดาองค์ ที่ 1 หรือพระองค์แรกของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ที่มีศักดิ์เป็น “เจ้าฟ้า” เพราะมารดาเป็นน้องของเจ้าประเทศราช ต่อมารัชกาลที่ 1 ได้ทรงสถาปนาเป็นกรมศรีสุนทร 
  • ท่านผู้หญิงเจ้าศรีอโนชานับเป็นพระราชวงศ์ล้านนาอีกผู้หนึ่งที่ได้มีส่วนสำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างอาณาจักรล้านนากับกรุงรัตนโกสินทร์
  • ท่านผู้หญิงเจ้าศรีอโนชาสิ้นชีวิตเมื่อใดไม่ปรากฏ แต่ปรากฏกู่บรรจุอัฐิของท่านตั้งอยู่ทางทิศใต้ ติดกับกำแพงด้านนอกของวัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง​

เสียงจาก ขัตติยนารีศรีล้านนา วีรสตรีที่โลกลืม

แม้แต่กู่ก็ไม่มีใครไหว้สา แม้แต่ข้าก็ไม่มีใครรู้ชื่อ
แม้แต่มื้อก็ไม่มีใครให้กิน แม้แต่ถิ่นก็ไม่มีใครให้นอน
แม้แต่ฟอนก็ไม่มีใครเผาผี แม้ปฐพียังเป็นหนี้ข้า 
แม้จะเสาะหาว่าข้าอยู่ไหน ใช่ว่าข้าจะทำโทษ
โจทย์นั้นมันเป็นใคร ใยจึ่งทำเช่นนี้
มีหรือจะยื้อแย่งแบ่งกันที่ชนชั้น วันนี้ปฐพีร่ำไห้ 
ใยลูกหลานจัญไร ไล่ข้าไปจากปฐพี 
มีหนี้เวรนี้กรรมทำกันได้ลงคอ แม้ต่อภพต่อชาติ 
อาจขาดกันภพหน้า ถ้ามาอีกภพนี้ 
วลีใดกล่าวบอกออกมา ถ้าช้า

  • ท่านลองอ่านคำกล่าวดูช้าๆทุกๆประโยคแล้วท่านจะพบ ในความละเอียดของการบรรลุธรรมชั้นสูงได้นั้น เจ้าฟ้านางหลวงศรีอโนชา ท่านติดห่วงอยู่เพียงเรื่องเดียวคือ แผ่นดินที่กำลังทุกข์ร้อน คนในชาติขาดความสามัคคี เหตุเกิดเพราะอาเภทอาถรรพ์บางอย่าง ที่คนโบราณได้ทำกันไว้ ท่านจึงต้องมาอีกเพื่อคลายบางสิ่งบางอย่างให้ เพียงแต่ลูกหลานไทยที่ระลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์ท่านและเหล่าบรรพชนที่กล้าหาญกู้แผ่นดินมาให้อยู่ตราบจนทุกวัน สมควรที่จะเทิดพระเกียรติท่าน และขอสุมาลาโทษในสิ่งที่เคยพลั้งพลาดไปต่อท่านทั้งที่จำได้และมิได้ ด้วยกายวาจาใจอันแท้จริง (วลีใดกล่าวบอกออกมา) ในความรู้สีกลึกๆจากใจเรากระทำเพื่อวัตถุประสงค์เดียวตอบแทนพระคุณผู้มีคุณต่อแผ่นดินเรานับถือท่านและยกย่องพระองค์ท่านเปรียบประดุจดั่ง "พระแม่ธรณีแผ่นดินสยาม"
  • ขอเริ่มต้นท้าวความจากประวัติต้นตระกูล ของแม่เจ้าครอกฟ้าศรีอโนชา ว่า สืบเชื้อสายเป็นมาอย่างไร ให้ผู้ติดตามได้รู้ถึงเค้าความจริงและเป็นมา สืบเนื่องมาจาก พระเจ้าทิพย์จักรสุลวะฤๅไชยสงคราม หรือ พ่อเจ้าทิพย์ช้าง หรือ พ่อเจ้าหนานทิพย์ช้าง (บ้านปงยางคก) เจ้าผู้ครองนครลำปางในสมัยเป็นเอกราชไม่ขึ้นกับกษัตริย์พม่า กษัตริย์ไทย (กรุงศรีอยุธยา) หรือเจ้าเมืองนครเชียงใหม่ นับว่าเป็นต้น "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์" ต้นสกุลวงศ์ของ "เจ้าเจ็ดตน" สมรสกับแม่เจ้าปิมปามหาเทวี (บ้านป่าหนาดดำ ต.บ้านเอื้อม) ครองนครลำปาง พ.ศ. 2275-2306 (จ.ศ.1124)
  • ระหว่าง พ.ศ.๒๒๗๒ - ๒๒๗๕ คือสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายดินแดนล้านนาไทยได้รับความเดือดร้อนจากการรังควานของฝ่ายพม่า ราษฎรมีความเป็นอยู่อย่างลำบาก ทั้งนี้เพราะอาหารการกินขาดแคลน ทรัพย์สมบัติ เรือกสวนไร่นาก็ถูกพม่าริบ ชายฉกรรจ์ถูกเกณฑ์ไปทำศึกสงคราม ทำให้เดือดร้อนกันโดยทั่วไป ขณะนั้นพม่าได้เข้ายึดเมืองลำพูน เชียงแสน เชียงราย 
  • ส่วนทางเชียงใหม่มีเจ้า องค์ดำ (องค์นก) พยายามรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่า แต่ทางลำปางนั้นยังไม่มีเจ้าเมืองปกครองมีแต่ ขุนเมืองรักษาเมืองไว้ ๔ คน คือ แสนหนังสือ แสนเทพ นายเรือนและจเรน้อย ขุนเมืองทั้ง ๔ ไม่มีความสามารถจะต่อสู้กับพม่า เพราะมุ่งแต่จะแก่งแย่งอำนาจกัน ความเดือดร้อนต่างๆ ของราษฎร
  • ร้อนถึงพระภิกษุเจ้าซึ่งในสมัยนั้นถือว่าพระภิกษุมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและเป็นผู้มีความรู้ ประชาชนให้ความเลื่อมใสนับถือเป็นอย่างมาก ได้แก่ พระภิกษุวัดนายาง (นายาบ อยู่ในเขตอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง) พระภิกษุรูปนี้กล่าวกันว่าแกร่งกล้าด้วยวิทยาคมมีความรู้ทางไสยศาสตร์ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ท่านมีลูกศิษย์ที่เลื่อมใสจำนวนมาก จึงได้เข้าร่วมกับพระภิกษุวัดสามขา วัดบ้านฟ่อนโดยการลาสิกขาออกมาเพื่อกู้บ้านกู้เมืองจากพม่า แล้วรวบรวมผู้คนตั้งตนเป็นอิสระซึ่งขุนเมืองทั้ง ๔ ที่รักษาเมืองลำปางอยู่ไม่สามารถจะปราบปรามได้.
  • ครั้นข่าวตั้งตนเป็นอิสระเป็นเหล่าเพื่อต่อสู้พม่าทราบไปถึงท้าวมหายศ ซึ่งเป็นชาวพม่าที่มาครองเมืองลำพูน ก็ได้ยกกองทัพมายังนครลำปาง เพื่อจะมาปราบปรามพระภิกษุที่ลาสิกขาบทออกมารวมทั้งพรรคพวก เมื่อทราบข่าวการศึกสมภารวัดนายาง วัดสามขา และวัดบ้านฟ่อน จึงได้คุมสมัครพรรคพวกออกต่อสู้กองทัพท้าวมหายศ เมืองลำพูนโดยมิได้ย่อท้อ
  • การรบครั้งนั้นดุเดือดจนถึงขั้นตะลุมบอน ที่ตำบลป่าตัน กองกำลังฝ่ายสมภารวัดนายาง สู้กองทัพท้าวมหายศไม่ได้ก็แตกหนีไปที่วัดพระธาตุลำปางหลวง พม่าตามไปล้อมไว้ ครั้นเวลาค่อนรุ่งสมภารวัดนางยางได้รวบรวมสมัครพรรคพวกที่เหลืออยู่หนีออกจากวัดลำปางหลวงไปทางทิศใต้ กองทัพท้าวมหายศไล่ติดตามไปทันจึงเกิดต่อสู้กันอีกสมภารวัดนายางถูกกระสุนปืนของชาวลำพูนตรงระหว่างคิ้วล้มลง เสนาซ้ายขวาเข้าประคองก็ถูกกระสุนปืนล้มลงทั้งคู่
  • เสนาวัดบ้านฟ่อนถูกกระสุนปืนที่หางตา เสนาวัดสามขาถูกที่หัวเข่า ถึงแก่กรรมทั้ง ๓ ท่านส่วนราษฎรที่เหลือ เมื่อเห็นหัวหน้าเกิดอันตรายจึงพากันหลบหนีไป พวกที่หนีไม่ทันก็ถูกทหาร ท้าวมหายศฆ่าตายจำนวนมาก เมื่อได้รับชัยชนะแล้วท้าวมหายศก็ยกทัพเข้ามาตั้งอยู่ในวัดพระธาตุลำปางหลวง แล้วจึงมีบัญชาให้ทหารออกไปเรียกเก็บเงินภาษีชาวบ้าน บังคับเอาข้าวของทรัพย์สินเงินทองเสบียงอาหาร เพื่อนำไปบำรุงกองทัพใครขัดขวางก็ลงโทษอย่างทารุณ
  • ส่วนผู้หญิงถูกฉุดคร่าไปเป็นนางบำเรอของทหารและแม่ทัพนายกอง ต่อมาท้าวมหายศหาทางเข้าปกครองเมืองลำปาง โดยการคิดหาอุบายฆ่า ขุนเมืองลำปางทั้ง ๔ คน ดังนั้นจึงใช้ให้หาญฟ้าแมบ หาญฟ้าง้ำ และหาญฟ้าฟื้น นายทหารเอกซ่อนอาวุธเข้าไปเจรจาความเมืองกับขุนเมืองทั้ง ๔ ของเมืองลำปาง คือ แสนหนังสือ แสนเทพ นายเรือง และจเรน้อย รวมทั้งท้าวขุนทั้งหลาย พวกขุนเมืองที่รอดมาได้คือ ท้าวลิ้นก่าน จเรน้อย นายน้อยธรรม และชาวบ้านได้หนีไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ เช่น ประตูผา เมืองลอง เมืองจีบ เมืองต้า เมืองเมาะ เมืองจาง
  • เมืองลำปางครั้งนั้นจึงเป็นเมืองร้าง หาคนอยู่อาศัยไม่มีเพราะเกรงข้าศึกพม่าจะมาทำร้าย ในเวลาต่อมามีพระมหาเถรรูปหนึ่งอยู่วัดพระแก้วชมพู (วัดพระแก้วดอนเต้า) ขออาสาเข้าปราบพม่าจึงได้ปรึกษาหารือกับญาติโยม และสานุศิษย์ ทางญาติโยมทั้งหลายก็ขอนิมนต์ให้ท่านอยู่วัดก่อน และให้ดูตำราไสยศาสตร์ เพื่อหาคนที่มีความรู้ความสามารถเป็นหัวหน้าชาวบ้านแทน
  • พระมหาเถรวัด พระแก้วชมพูมองเห็นหนานทิพย์ช้างเป็นชาวบ้านคอกวัว มีอาชีพเป็นพรานป่า อยู่แถบข้างวัดศรีล้อม จังหวัดลำปาง (บางฉบับว่าเป็นชาวบ้านปงยางยก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง) เป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด กล้าหาญ มีกำลังฝีมือเข้มแข็ง ทั้งชำนาญในการใช้อาวุธปืนให้เป็นผู้นำกำลังเข้าต่อสู้พม่าแต่หนานทิพย์ช้างก็เกรงว่า ถ้าได้กู้บ้านเมืองแล้วจะมีปัญหาเรื่องการครองบ้านครองเมือง กับเจ้า ผู้ครองนครองค์เก่า จึงขอคำสัญญาจากชาวบ้านชาวเมืองและเจ้าผู้ครองนครองค์เก่าว่า ถ้าทำศึกชนะแล้วจะยกบ้านยกเมืองให้ครอง ชาวบ้านชาวเมืองก็พร้อมใจกันตกลง หนานทิพย์ช้างได้นำกำลังคน ๓๐๐ คน ไปล้อมทัพท้าวมหายศที่วัดพระธาตุลำปางหลวง
  • กองทัพเดินทางไปถึงก็เป็นเวลาดึกสงัดแล้ว หนานทิพย์ช้างจึงวางกำลังคนอยู่เฝ้าจุดสำคัญของพวกพม่าแล้วลอบเข้าทางท่อระบายน้ำทิศตะวันตกของวัดพระธาตุลำปางหลวง (ปัจจุบันนี้ยังมีอยู่) ปลอมตัวเป็นผู้ถือหนังสือจากเมืองลำพูนว่าเป็นหนังสือของชายาท้าวมหายศ และได้สืบถามจากทหารว่าท้าวมหายศเป็นผู้ใด ขณะนั้นท้าวมหายศ ทหารคนสนิทและนางบำเรอกำลังเล่นหมากรุกที่วิหารหลวง ในวัดพระธาตุลำปางหลวงอยู่
  • หนานทิพย์ช้างจึงทำทียื่นหนังสือให้แล้วถอนมาพอระยะจึงใช้ปืนยิงท้าวมหายศ ตายคาวงหมากรุก ซึ่งลูกปืนทะลุไปถูกกรงเหล็กที่ล้อมพระธาตุไว้ (ปัจจุบันนี้ยังมีรอยเหลืออยู่) ทัพท้าวมหายศแตกกระจัดกระจาย ทหารถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก หนานทิพย์ช้างกลับมา ออกท่อระบายน้ำทางเดิมอีก
  • ชาวเมืองลำปางได้ตั้งชื่อให้เป็นเจ้าทิพเทพบุญเรือน เมื่อขับไล่ปราบกองทัพม่าแตกพ่ายไปแล้ว พระมหาเถรวัดพระแก้วชมพู พร้อมด้วยประชาราษฎร์ชาวเมืองนครลำปาง (เมืองลคอร) พร้อมใจกันตั้งพิธีสรงน้ำมุรธาภิเษกให้หนานทิพย์ช้าง เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง ใน พ.ศ.๒๒๗๕ (จุลศักราช ๑๐๙๔) มีนามว่า เจ้าพระยาสุลวฤาชัยสงคราม เจ้าพระยาสุลวฤาชัยสงคราม (ทิพย์ช้าง) ครองเมืองลำปางได้นาน ๒๗ ปี พอปี พ.ศ.๒๓๐๒ (จุลศักราช ๑๑๒๑) ก็ถึงแก่ทิวงคตรวมอายุได้ ๘๕ ปี มีโอรสธิดากับเจ้าแม่พิมพา (ปิมปา) รวมได้ ๖ องค์
  • พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม ทรงมีราชโอรส และราชธิดา ดังนี้
    • 1.เจ้าฟ้าหลวงชายอ้าย
    • 2.เจ้าฟ้าชายแก้ว สิงหราชธานี, พระเจ้าผู้ครองนครเขลางค์(ลำปาง) ประเทศราชของพม่า (2302 - 2317), ทรงเป็นพระราชบิดา ใน "พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ" ด้วยพระราชโอรสทั้ง 7 พระองค์ ทรงมีบทบาทสำคัญในการกอบกู้ราชอาณาจักรล้านนาจากพม่า และต่อมาเจ้านายบุตรหลานได้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ จึงเป็นที่มาของราชสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน" หรือ "เจ้าเจ็ดองค์"
    • 3 .เจ้าฟ้านางหลวงคำทิพ
    • 4 .เจ้าฟ้าหลวงชายคำปา
    • 5 .เจ้าฟ้าหลวงชายปอเฮือน (พ่อเรือน), พระราชบิดาใน "เจ้าหลวงพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์ที่ 4"
    • 6 .เจ้าฟ้านางหลวงกม
  • เจ้าฟ้าชายแก้ว สิงหราชธานี, พระเจ้าผู้ครองนครเขลางค์(ลำปาง) ประเทศราชของพม่า (2302 - 2317), ทรงเป็นพระราชบิดา ใน "พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ" ด้วยพระราชโอรสทั้ง 7 พระองค์ ทรงมีบทบาทสำคัญในการกอบกู้ราชอาณาจักรล้านนาจากพม่า และต่อมาเจ้านายบุตรหลานได้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ จึงเป็นที่มาของราชสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน" หรือ "เจ้าเจ็ดพระองค์
  • ราชโอรส-ธิดา
  • เจ้าฟ้าชายแก้ว สิงหราชธานี ทรงเษกสมรสกับแม่เจ้าจันทาราชเทวี มีราชโอรส ราชธิดา จำนวน ๑๐ พระองค์ ได้แก่
    • 1 .พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑ (นับเป็น "พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๓" ใน "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)")
    • ทีนี้จักจ๋าด้วยคำอันพระเจ้ากาวิละสอนน้องแล.
    • กาลอันล่วงแล้วมาภายหลัง แต่งเช่นพระราชอัยกาแลพระราชปิตตาแห่งเรา ได้เป็นข้าม่าน (พม่า) ม่านข่มเหงคระเนงร้าย หาหว่างสุขขาวยาวบานบ่ได้ ม าถึงเช่นเราทั้งหลายอันเป็นลูกเป็นเต้านี้ พระองค์เราเป๋นพี่ยินเบื่อยินกายม่าน จึงฟื้นม่าน แล้วพาเอาน้องนุ่งทั้งมวลไปเป๋นข้าพระมหากษัตริย์เจ้าเมืองใต้ ณ.กรุงอโยธิยา เราทั้งหลายแลข้าเจ้าไพร่ไทย จึงได้อยู่เย็นเป็นสุข ห่างได้อยู่กินอยู่ทาน พระมหากษัตริย์เมืองไท เป๋นไทยเป๋นใหญ่ในล้านนา ๕๗ หัวเมือง ตั้งแต่เช่นเราทั้งหลายไปภายหน้า สืบเช่นลูกหลานเหลนหลีดหลี้ ตราบเสี้ยงสุดมุดม้วยราชตระกูลแห่งเราทั้งหลาย แม้นลูกหลานเหลนหลีดหลี้บุคคลใด ยังมีใจใครสบถฟืนกับตัวพระมหากษัตริย์กรุงอโยธิยา (รัตนโกสินท์) แลจักเอาตัวเอาตัวแลบ้านเมืองไปเปิ้งเป็นขี้ข้าม่าน ข้าห้อ ข้ากุลาบังกาสีแกวยวน ดังอั้นก็ดี บุคคลผู้นั้นกึดบ้านอย่าหื่อเปือง กิ๊ดเมืองอย่าหือห้าม หื้อวินาศสิบหาย เหมือนกอกล้วย ปันม้วยเหมือนกอเรากอคา กั๋นตายก็หื้อได้ไปตกนรกแสนมหากัป อย่าหื๋อได้เกิดได้งอก ดังเจ้าทั้งหลายน้องนุ่งทังมวลก็หื้อได้รักแป๋งด้วยกัน หื้อเป๋นสันทวาทีน้ำหนึ่งใจเดียวกัน กูถกมึงถางล้มปกตกเก็บกับด้วยกัน อย่าดูร้ายดูดีกัน พี่รู้พี่ปปลอง น้องรู้น้องกล่าว เมือยามเกิดศึกตกหัวเมืองใด ช่วยกั๋นข้าศึกตกหล่าเมืองช่วยกั๋นฟัน อย่ามีใจคดเลี้ยวจากพระมหากษัตริย์เจ้าอยู่หัว เกล้าอยู่หัวแห่งเรา บุคคลใดยังอยู่ในโอวาทแห่งเราก็หื้อวุฒิจำเริญกิ๊ดบ้านเปือง กึ๊ดเมืองห้าม หื้อมีเตชะริทธีอานุภาพ มีอายุหมั้นยืนยาวกัน บ่ขับตามโอวาทคำสอนพระองค์เราต๋นเป๋นใหญ่ ก็หื้อวินาศชิบหายปันตาย ชะแลฯ​
    • 2 .พระเจ้าคำโสม พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๔
    • 3 .พระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๒
    • 4 .พระเจ้าดวงทิพย์ พระเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๕
    • 5 .พระอัครชายาเธอ เจ้าครอกฟ้าศรีอโนชาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
      • เจ้าศรีอโนชา หรือเจ้าหญิงศรีอโนชา หรือโนจา ประสูติเมื่อปีมะเมีย พ.ศ.2293 เป็นขนิษฐาหรือน้องสาวของพญากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นธิดาองค์ที่ 5 ในจำนวนบุตรธิดา 10 คน ของเจ้าฟ้าชายแก้ว มารดาคือเจ้าแม่จันทรามหาเทวี จึงมีศักดิ์เป็นหลานสาวของหนานทิพย์ช้าง หรือพญาสุลวฤาชัยสงคราม แห่งนครลำปางเจ้าศรีอโนชาเป็นประดุจโซ่ทองคล้องสายสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรล้านนากับกรุง รัตนโกสินทร์ มีบทบาทอย่างสำคัญในการเสริมสร้างพระบารมีและพระเกียรติราชวงศ์จักรี ดังปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ว่า พ.ศ.2317 เมื่อพญากาวิละพร้อมด้วยพญาจ่าบ้าน ได้คบคิดกันต่อต้านพม่าที่ปกครองเมืองเชียงใหม่ โดยได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพของพระเจ้า ตากสิน ซึ่งมีเจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพ จนสามารถขับไล่พม่าออกไปจากเมืองเชียงใหม่ได้ ในครั้งนั้น พญาจ่าบ้านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระยาวิเชียรปราการ เจ้าเมืองเชียงใหม่ และเจ้ากาวิละได้เป็นพระยานคร (ลำปาง) เจ้าเมืองลำปาง เมื่อพญากาวิละเห็นว่าเจ้าพระยาสุรสีห์ มีใจรักใคร่เจ้าศรีอโนชา ประกอบกับเห็นว่าจะเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีอันดีต่อไปในภาย ภาคหน้า จึงได้ยกเจ้าน้องนางให้เป็นภรรยาเจ้าพระยาสุรสีห์ 
      • พ.ศ.2324 เกิดเหตุจลาจลที่กรุงธนบุรี โดยพระยาสิงห์ และพระยาสรรค์คิดกบฏฆ่าพระเจ้าตาก หวังจะขึ้นเป็นกษัตริย์แทน จึงยุยงขุนอนุรักษ์มนตรี.shยกพวกเข้าปล้นบ้านพระยาสุริยอภัย ผู้ซึ่งเจ้าพระยาจักรี กับเจ้าพระยาสุรสีห์ มอบหมายให้รักษาราชการที่กรุงเทพฯ ในระหว่างที่เจ้าพระยาทั้งสองไปราชการสงครามที่ญวนและเขมร เมื่อท่านผู้หญิงเจ้าศรีอโนชา หรือศิริรจนา ซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ที่บ้านปากคลองบางลำภู รู้ข่าว จึงร่วมมือกับพระยาเจ่ง พระยาราม นายกองมอญ นำกำลังไปต่อสู้กับพวกกบฏ สามารถฆ่าพระยาสิงห์ พระยาสรรค์ได้ เหตุการณ์ก็สงบลง 
      • ภายหลังเมื่อเจ้าพระยาจักรีได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(ทองด้วง) หรือที่เรารู้จักกันว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ จึงได้สถาปนาเจ้าพระยาสุรสีห์ ผู้เป็นพระอนุชาและได้ร่วมออกศึกสงครามเคียงบ่าเคียงไหล่กันมาโดยตลอด ให้เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช (บุญมา) มีพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล มหาอุปราชวังหน้า ในขณะที่ท่านผู้หญิงเจ้าศรีอโนชา สุรสีห์พิษณุวาธิราช ก็ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าครอกฟ้าศรีอโนชา (เจ้าครอก = เจ้าโดยกำเนิด ชั้นพระเจ้าลูกเธอ)
      • ท่านผู้หญิงเจ้าศรีอโนชา มีธิดา 1 คน คือ เจ้าฟ้าหญิงพิกุลทอง ซึ่งนับเป็นพระราชธิดาองค์ ที่ 1 หรือพระองค์แรกของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ที่มีศักดิ์เป็น “เจ้าฟ้า” เพราะมารดาเป็นน้องของเจ้าประเทศราช ต่อมารัชกาลที่ 1 ได้ทรงสถาปนาเป็นกรมศรีสุนทร 
      • ท่านผู้หญิงเจ้าศรีอโนชานับเป็นพระราชวงศ์ล้านนาอีกผู้หนึ่งที่ได้มีส่วนสำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างอาณาจักรล้านนากับกรุงรัตนโกสินทร์
      • ท่านผู้หญิงเจ้าศรีอโนชาสิ้นชีวิตเมื่อใดไม่ปรากฏ แต่ปรากฏกู่บรรจุอัฐิของท่านตั้งอยู่ทางทิศใต้ ติดกับกำแพงด้านนอกของวัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง
    • 6 .เจ้าหญิงสรีวัณณา (ถึงแก่พิราลัยแต่เยาว์)
    • 7 .เจ้าอุปราชหมูหล้า พระราชมหาอุปราชานราธิบดีศรีสุวรรณฝ่ายหน้าหอคำนครลำปาง
    • 8 .เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๓ และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑
    • 9 .เจ้าหญิงสรีบุญทัน (พิราลัยแต่เยาว์)
    • 10 .พระเจ้าบุญมาเมือง พระเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๒