วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ตำนานท้าวปาจิต กับ นางอรพิม


ท้าวปาจิต กับ นางอรพิม
SOMSAK YIMTHAI MALEEMAS·1 พฤศจิกายน 2015
เรื่องราวต่อจากนี้ เป็น การถอดมาจาก จารึกตาม หลักศิลา ที่มีทั้งรูปและ อักษรโบราณจำหลักไว้ ของปราสาทหิน และจาก ใบลานโบราณ 3 ผูก (มัด) ที่เหลืออยู่ที่วัด บ้านแดงหม้อ ต.แดงหม้อ อ.เขื่อนใน จังหวัดอุบลราชธานี...
เหตุการณ์ที่จะได้ รับรู้ เป็น เรื่องราวที่เกิดขึ้น ใน ราชมรรคา ระหว่าง นครธม –เมืองพิมาย เมื่อ 800 ปีที่แล้ว หรือประมาณ พ.ศ.1700...
บทความบางตอนโดย อ.ศุภศรุต ,
ใน เรื่องเก่า เล่าตำนาน บนเส้นทาง “ราชมรรคา
** หลายเรื่องราวมากมายที่เก็บรวบรวมมา ล้วนเป็นความรู้ที่ได้รับมาใหม่ ผมได้คำตอบว่า มีถนนที่ใช้เกวียนเป็นพาหนะจริง ใช้สัญญจรระหว่าง เมืองพิมาย กับ เขมรต่ำ(นครธม) เรียกว่าเส้นทาง ** ราชมรรคา ** แต่มันไม่ใช่เส้นทางเดี่ยวที่มีปราสาทแบบวหนิคฤหะ หรือที่เรียกว่า “บ้านมีไฟ” – “ธรรมศาลา” ตั้งอยู่ แต่มันเป็น “เครือข่าย” ของชุมชนแต่ละยุคสมัย มากกว่า 120 ชุมชน ในทางผ่าน (เท่าที่เห็น) บนเครือข่ายถนนบก และเครือข่ายทางน้ำสำคัญในเขตอีสานใต้ ทั้งลำปลายมาศ ลำปะเทีย ลำทะเมนชัย ลำนางรอง ห้วยเมฆา ห้วยเสว ลำชีน้อย และอีกมากมายหลายลุ่มน้ำ ทุกเครือข่ายลำน้ำเชื่อมโยงกัน และมีเมืองหรือชุมชนโบราณตั้งเรียงรายอยู่ในทุกเส้นทางน้ำ
ถนนราชมรรคา จึงเป็นเพียงเส้นทางบกที่ต้องอาศัยเครือข่ายเก่าแก่ของกลุ่มบ้านเมืองในอีสานใต้ในยุคก่อนหน้า มาเป็นฐานรากเชื่อมโยงบ้านเมืองระหว่างเมืองพิมายกับเมือง "ศรียโศธรปุระ" เรื่อยมาจนถึงยุคสมัยเมืองพระนครหลวง(พระนครธม) จึงมีการสร้างที่พักคนเดินทาง ธรรมศาลา ตรงจุดที่เป็น “ทางแยก” (Juntion) หรือ “ชุมทาง”(Juncture) สำคัญในยุคก่อนหน้า
เอาเป็นว่า มีถนนโบราณมากมายที่ตัดไปตัดมาเป็นโครงข่ายเชื่อมโยงบ้านเมืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 เลยละกัน เส้นทางเริ่มชัดเจนสุดก็คือ เส้นทางที่เดินทางจากเมืองศรียโสธรปุระมายังพิมาย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16
เรื่องเล่า นิทานพื้นบ้าน นิทาน มุขปาฐะ คติชนวิทยาและตำนาน ล้วนแต่เป็นการ“เล่าเรื่อง” หรือ “ถ่ายทอด” ข่าวสารข้อมูลบางอย่างให้สืบต่อกันมา โดยไม่รู้ว่ามีจุดเริ่มต้นมาจากที่แห่งใด หรือใครกันเป็นคนแรกที่เล่าเรื่องนี้ และใครเป็นคนที่เล่าต่อมา เรื่องราวเหล่านี้จึงไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอ ที่จะนำมาใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี ที่มุ่งเน้นการหาคำตอบในเชิงวิทยาศาสตร์หรือ “ความจริง” ได้
เรื่องราวในตำนาน “ท้าวพรหมทัต นางอรพิม และเจ้าชายปาจิต” อาจจะเรียกว่าเป็น“ตำนานราชมรรคา” ก็คงไม่ผิดนัก เพราะเนื้อหาเป็นเรื่องราวการ "ชิงรักหักสวาท" ของบุคคลจากสองเมืองใหญ่ คือ เมืองพิมายและเมืองพระนครธม ที่ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแล้ว ทั้งสองเมืองก็คือต้นทางและปลายทางของ “เส้นทางราชมรรคา” สายเหนือที่มีอยู่จริงในยุคพุทธศตวรรษที่ 15 – 19 นั่นเอง ***
เรื่องราวบันทึก ของ เจ้าชายปาจิตกับนาง อรพิน หรือ อรพิม นั้น มีทุกทีที่มีปราสาทตั้งอยู่ สำหรับ ตอนนี้ ผมขอเอา ฉบับของ เมือง นางร้อง หรือ อำเภอนางรอง ในปัจจุบัน มาถ่ายทอด..
สมัยของพระเจ้าชัยวรมันแห่งนครธม ....
เมืองพรหมพันธ์นคร หรือเมืองอินปัตถา
บ้านเกิดของเจ้าชายปาจิต
พระเจ้าอุทุมราช เจ้าเมือง“อินทปัตถา” พระองค์มีพระราชโอรสองค์หนึ่งนาม เจ้าชายปาจิตต์ เมื่ออายุ ครบ 18 ชันษา ก็ได้จัดพิธี อภิเษกหาคู่ครองและ พร้อมที่จะยกสมบัติให้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ แต่ถึงจะหา ราชธิดาของเมืองใดมาให้ ชมโฉมเจ้าชาย ก็ ไม่ต้องพระประสงค์ โหรหลวงจึงได้ทำนายไว้ว่าหญิงที่จะมาเป็นพระชายาของเข้าชายยังไม่ถือกำเนิด และอยู่ห่างจากนครธมมาก มารดาของหญิงผู้นั้นเป็นคนหญิงหม้ายธรรมดา อนาถา ทำไร่อยู่ที่เชิงเขาแห่งหนึ่ง สันนิษฐานว่าเป็นเขา “ไปรบัด (ปลายบัด)” หรือ “เขาพนมรุ้ง” เวลานี้จวนถือกำเนิดจากครรภ์มารดาแล้ว ควรจะให้มีผู้พิทักษ์รักษาความปลอดภัย ให้เจ้าชายเดินทางไปทางทิศ พายับ...จะเจอหญิงหม้ายผู้นั้น สิ่งที่ต้องสังเกตุคือจะมีแสงอาทิตย์ทรงกลดเป็นเงากั้นบังนางไว้เหนือศรีษะ
เจ้าชายหนุ่มจึงได้ขอออกเดินทางไปเพื่อแสวงหาคู่ครองด้วยตนเองตามที่ โหรทำนายไว้ พร้อมทหารติดตาม ครั้นมาถึงหมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่งก็พบกับ ** นางบัว ** หญิงที่กำลังท้องแก่คนหนึ่งจะเดินไปทางใหนกลางแดด ก็มีเงาบังแสงแดด (พระอาทิตย์ทรงกลด) ให้ตลอด ท้าวปาจิตต์ก็รู้ว่า ผู้หญิงคนนี้เป็นแม่ของคู่ครองของตน ก็จึงอยู่อาสาช่วยทำงานทุกอย่างจนนางคลอด..และตั้งชื่อให้ เด็กผู้นั้นว่า ** อรพิน..หรือ อรพิม..** เวลาผ่านไปนางอรพิมโตเป็นสาว ท้าวปาจิตจึงขอลากลับบ้านเมืองเพื่อทูลเสด็จพ่อให้จัดแต่งขันหมากมาสู่ขอ ตามประเพณี.
วันหนึ่งนางอรพิมไปเล่นน้ำกับเพื่อนนึกสนุกเอาเส้นผมใส่ผอบลอยน้ำไป จนถึงมือของพระเจ้าพรหมทัต กลิ่นหอมของเส้นผมนั้นทำให้ท้าวพรหมทัตหลงใหลสั่งให้ทหารออกตามหาเจ้าของเส้นผม จึงได้ให้พระยารามไปนำตัวนางมาให้ได้ เมื่อพบนางอรพิมทหารจึงจับตัวไปเพื่อถวาย ระหว่างทางนางอรพิมคิดถึงท้าวปาจิตจึงร้องไห้ไม่ยอมเดินทางต่อ จึงเรียกที่นั้นว่า "บ้านนางร้อง" (อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์) ทหารก็พยายามฉุดกระชากให้นางเดินทางต่อ จนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง นางกระโดดหนีเข้าไปหลบในป่า จึงเรียกหมู่บ้านนั้นว่า "ปะเต็ล" (เป็นภาษาเขมรแปลว่า กระโดดโลดเต้น) ทหารก็รีบไล่ตามโดยพยายามปิดล้อมหมู่บ้านแห่งหนึ่ง จึงเรียกหมู่บ้านนั้นว่า "บ้านไผ่ล้อม" แต่ก็ยังไม่ได้ตัวนาง นางอรพิมหนีกระเจิดกระเจิงไปซ่อนอยู่ในถ้ำจนทหารหาไม่พบ จึงเรียกว่า "เขาปลายบัด" (บัดเป็นภาษาเขมรแปลว่า หาย) แต่แล้วในที่สุดทหารของท้าวพรหมทัตก็ตามหาตัวนางจนเจอ นางอรพิม สุดจะขัดขืนได้จำต้องมาเข้าเฝ้าท้าวพรหมทัต
เมื่อนางเข้ามาอยู่ในปราสาทของท้าวพรหมทัตแล้ว นางได้ อธิฐาน ขอมีความมั่นคงในรักและเป็นภรรยาของหนุ่ม** ปาจิตต์ **แต่เพียงผู้เดียว และตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้ามิใช่ท้าวปาจิตแล้ว ผู้ใดแตะต้องนางก็ขอให้กายนางร้อนเหมือนไฟ ทำให้ ท้าวพรหมทัตไม่สามารแตะต้องตัวนางได้ เพราะถ้าเข้าใกล้นางจะรู้สึกร้อนเป็นไฟด้วยแรงอธิฐานของนาง
เมื่อมาถึงนครธม ท้าวปาจิตได้นำความขึ้นบังคมทูลต่อพระเจ้าอุทุมราชพระบิดาจึงให้จัดขบวนขันหมากมีจำนวนรี้พลมากมาย เดินทางไปเมืองพิมาย โดยที่หารู้ไม่ว่า บัดนี้ได้เกิดเหตุร้ายขึ้นกับนางอรพิม กระบวนขันหมากของท้าวปาจิตยกออกจากนครธมมาหลายคืนหลายวัน จนมาถึงลำน้ำแห่งหนึ่ง.. ท้าวปาจิตให้ทหารหยุดกระบวนขันหมาก เพื่อให้ทหารและสัตว์พาหนะได้พักและบริโภคน้ำ ชาวบ้านเห็นผู้คนมากันมากมายจึงเข้ามาไต่ถามว่ามาทำไมและจะไปไหน พวกทหารตอบว่าจะไปบ้านแม่บัวเพราะพระโอรสกษัตริย์เมืองขอมจะแต่งงานกับสาวบ้านนี้ ชาวบ้านถามชื่อหญิงนั้น ทหารบอกว่าชื่อนางอรพิม ชาวบ้านจึงเล่าให้ฟังว่า พระเจ้าพรหมทัตได้นำตัวเข้าไปไว้ในปราสาทเสียแล้วทั้งพระเจ้าอุทุมราชและท้าวปาจิตตกพระทัยยิ่งนัก โดยเฉพาะท้าวปาจิตต์โกรธมากถึงกับโยนข้าวของเครื่องใช้ขันหมากทิ้งแม่น้ำหมด (ที่ตรงนั้นเรียกว่าลำมาศหรือลำปลายมาศที่ไหลไปสู่ลำน้ำมูลจนทุกวันนี้) ส่วนรถทรงก็ตีล้อดุมรถและกงรถจนหักทำลายหมด ชาวบ้านนำมากองรวมกันไว้จนปัจจุบัน ณที่นั้นเรียกว่า บ้านกงรถ จากนั้นท้าวปาจิตได้ขออนุญาตไปตามนางตามลำพัง พระเจ้าอุทุมราชและข้าทหารจึงเดินทางกลับนครธม ท้าวปาจิตไปพบยายบัว ปลอบโยนนางว่าจะใช้ปัญญานำนางอรพิมออกมาให้ได้ แล้วปลอมตัวเป็นลูกชายยายบัวเข้าไปตามหาน้องสาวชื่อ อรพิม ท้าวปาจิตเดินทางมาถึงในวันอภิเษกสมรสพอดี จึงไปบอกนายประตูว่าจะขอเข้าเยี่ยมน้องสาว นายประตูถามว่าใคร ท้าวปาจิตตอบว่า นางอรพิม ซึ่งจะเป็นพระมเหสีของพระเจ้าพรหมทัตในไม่ช้านี้ นายประตูพาไปพบนางอรพิม นางร้องว่า..
** พี่..มา...ไอ.** (ภาษาพิมาย พี่ จะออกเสียง เป็น ผิ หรือ พิ สั้น ๆ ** ผิ มา อัย **.หมายถึง พี่มาทำไม? ลองพุดคำนี้ ** ผิ มา อัย ** เร็ว ๆ ดุ นะครับ ..ผู้บันทึก)
พระเจ้าพรหมทัตมาพบนางอรพิม เห็นท้าวปาจิตจึงถามว่าใคร นางตอบว่าเป็นพี่ชายของนาง พระเจ้าพรหมทัตถามว่าทำมาหากินอะไร ทำไร่ทำนา หรือค้าขายอะไร ท้าวปาจิตตอบว่าค้าขายทางไกล ทราบว่าน้องจะอภิเษกเป็นพระมเหสีจึงมาอวยพรให้ และอยากรู้จักพระองค์ให้พระองค์รู้จักตนด้วย พระเจ้าพรหมทัตดีใจ เพราะนางอรพิม จะได้ยอมเป็นพระมเหสีอย่างที่เคยลั่นวาจาไว้ จึงให้หาเหล้ายาอาหารมาเลี้ยงดู ท้าวปาจิตและนางอรพิมจึงวางแผนมอมเหล้าเหล่าทหารและท้าวพรหมทัต ท้าวปาจิตดื่มเล็กน้อยแต่พระเจ้าพรหมทัตถูกนางอรพิมมอมเหล้าเสียจนเมามายเสียสติ ท้าวปาจิตจึงใช้พระขรรค์ฟันคอขาดอยู่ ณ ที่นั้น แล้วพานางอรพิมหนีออกมา
เดินทางมาถึงป่าใหญ่แห่งหนึ่ง พอดีเป็นเวลารุ่งสว่างพบนายพรานคนหนึ่ง ออกมาเที่ยวล่าเนื้ออยู่ พรานเห็นนางอรพิมสวยก็นึกรักนาง จึงใช้หน้าไม้ยิงท้าวปาจิตตายแล้วพานางไป นางทำเลห์กลว่ามีกำลังน้อยเดินทางมาเหน็ดเหนื่อยมากจะเดินทางไม่ไหว ถ้ามีรถหรือเกวียนหรือช้างม้าให้นางนั่งไป นางก็ยินดีจะไปด้วย พรานหลงเชื่อไปหากระบือมาให้นางขี่ ตัวนายพรานนั่งข้างหน้าคอยบังคับกระบือ นางอรพิมนั่งข้างหลังพอได้โอกาสก็ใช้พระขรรค์ท้าวปาจิตแทงนายพรานตาย นางกลับมาที่ศพท้าวปาจิต นั่งร่ำไห้คร่ำครวญ ปริเวทนา ..
ร้อนถึงพระอินทร์ได้ชวนพระวิษณุแปลงกายเป็นงูกับพังพอนมากัดกันอยู่ใกล้ ๆ นาง เมื่องูถูกพังพอนกัดตาย พังพอนก็ไปกัดรากไม้มาพ่นให้งู แล้วงูก็ฟื้น แล้วก็สลับกันตาย สลับกันกัดรากไม้พ่นแล้วก็ฟื้น เช่นนี้เป็นเวลาพอสมควรแล้วหายไป นางอรพิม เฝ้าสังเกตอยู่ ทำให้นางอรพิมทราบสรรพคุณวิเศษของรากไม้นั้น นางจึงเอามาเคี้ยวพ้นไปที่บาดแผลลูกธนูกลางหลังของท้าวปาจิตบ้าง แล้วท้าวปาจิตก็ฟื้น ทั้งสองช่วยกันเก็บรากไม้ติดตัวไปเท่าที่จะนำไปได้ก่อนออกเดินทางกลับเมืองนครธม ของท้าวปาจิต ต่อไป
หลังจากรอนแรมกันมาหลาย เพลา ก็มาถึงฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่งซึ่งกว้างมากไม่มีเรือแพหรือขอนไม้จะข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ จึงนั่งปรึกษาหาหนทางอยู่ ขณะนั้นมีเถรคนหนึ่ง ชาวบ้านเรียก เถรเรือลอย เพราะเถรลงเรือไปบิณฑบาตตามแม่น้ำเป็นประจำ เถรพายเรือผ่านมา ท้าวปาจิตขอร้องให้ช่วยส่งข้ามฟากให้ด้วย เถรเห็นนางอรพิมสวยมากกลับหลงใหลนางอรพิและคิดจะพานางไปกับตน จึงบอกว่าเรือลำนี้ขึ้นได้ครั้งละ 2 คนเท่านั้นมิฉะนั้นเรือจะล่ม
จึงออกอุบายโดยไปส่งท้าวปาจิตก่อน แล้วค่อยกลับมารับนางอรพิม ท้าวปาจิตจำต้องให้นางอรพิมคอยข้ามไปกับเถร เถรพานางลอยน้ำไปเรื่อย ๆ ท้าวปาจิตจะเรียกอย่างไรก็มิได้หยุด จึงต้องพลัดพรากกันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อนางอรพิมเห็นความไม่ซื่อของเถรเฒ่า จึงคิดอุบายหนีจากเถรจนกระทั่งมาพบต้นมะเดื่อต้นหนึ่งสูงมาก ลูกดกเต็มต้นผลงาม ๆ น่ากินทั้งนั้น นางบอกเถรว่าอยากกินมะเดื่อ ให้เถรปีนขึ้นไปเก็บมาให้ เอาลูกที่งามที่สุดอร่อยที่สุดสุกที่สุดซึ่งจะอยู่บนยอดสูง เถรหลงเชื่อปีนต้นไม้ไปหาลูกมะเดื่อที่นางต้องการนางรีบเอาหนามมาสะไว้โคนต้น แล้วลงเรือพายหนีไป ก่อนไปได้สั่งไว้เป็นวาจาสิทธิ์ว่าให้เถรอยู่บนต้นมะเดื่ออย่าไปไหน เถรจึงตายอยู่บนต้นมะเดื่อนั่นเอง ก่อนตายได้แช่งให้มีแมลงหวี่มาเกิดในลูกมะเดื่อที่นางอรพิม ชอบทานทุกลูก ตลอดมา
นางอรพิมพายเรือกลับมาหาท้าวปาจิตแต่ไม่พบ จึงจอดเรือแล้วขึ้นฝั่งเที่ยวตามหาในทุก ๆ ที่ จนพระอินทร์เกิดความสงสารลงมาประทานแหวนให้วงหนึ่งบอกนางว่า ถ้าสวมไว้ที่นิ้วชี้จะกลายร่างเป็นชายแต่ถ้าถอดออกสวมนิ้วอื่นจะกลายเป็นหญิงดังเดิม นางอรพิมจึง ควักนมทั้งสองข้างออกมา ปาเข้าป่า กลายเป็นต้น "นมนาง" จากนั้นนางจิกแก้มอวบอิ่มจิ้มลิ้มเป็นพวง เหวี่ยงทิ้งไปกลายเป็นต้น "แก้ม ก่อนจะพายเรือตามหาจนถึงเมืองแห่งหนึ่ง ชื่อเมืองครุฑราช นางจึงเข้าไปอาศัยที่ศาลาโรงทานของเศรษฐี ในโรงทานนี้มีโรงศพอยู่และภายในมีศพที่ยังคงสภาพ นางอรพิมจึงเอารากไมวิเศษนั้นชุบชีวิต จึงทราบว่าผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือนั้นคือนางปทุมเกษรเป็นธิดาเศรษฐี แล้วนางปทุมเกษรก็ขอติดตามนางอรพิมไม่ยอมกลับบ้าน นาง อรพิม จึงบอกความลับว่า นางเป็นหญิงเช่นกัน
ทั้งสองเกรงกลัวอันตรายจึงอธิษฐานขอแต่งกายเป็นชาย เพื่อติดตามท้าวปาจิตต่อไป พบใครที่ไหนก็สอบถามว่าเห็นใครรูปร่างหน้าตาอย่างนี้ไหม รู้จักคนชื่อท้าวปาจิตไหม สอบถามจนทั่วแล้วก็ไม่มีผู้ใดรู้จักหรือเห็นเลย นางจึงร่อนเร่ไปโดยอยู่ในเพศชายจนกระทั่งมาถึงเมืองหนึ่ง ชื่อ จัมปากะนคร เมืองจัมปากะนครที่นางอรพิมมาถึงนี้ พระมหากษัตริย์ผู้ปกครองเมืองมีพระราชธิดาสวยงามมากแต่ไม่ทราบว่าเป็นอะไรตาย หมอคนใดก็ช่วยไว้ไม่ได้ ชาวเมืองพากันร้องไห้อาลัยรักนางอยู่ นางอรพิมรู้เข้าก็อยากจะลองช่วยนางดู ให้คนพาไปเฝ้าพระมหากษัตริย์ทูลขออนุญาตรักษา เมื่อพระองค์อนุญาต นางอรพิมได้ใช้เปลือกไม้ที่ได้จากป่าคราวรักษาท้าวปาจิตมาเคี้ยวพ่นใส่พระราชธิดาจนฟื้นขึ้น พระมหากษัตริย์และพระญาติดีใจมาก ปรึกษากันว่าจะให้นางอรพิมอภิเษกกับพระธิดา แต่นางอรพิมบ่ายเบี่ยงว่าขอเวลาสักปีหรือสองปีให้ได้บวชเรียนและศึกษาศิลปศาสตร์ให้จบก่อน พระมหากษัตริย์จำต้องยอมตามใจ
เมื่อได้บวชนางไปอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งศึกษาพระธรรมวินัยจนมีความรู้แตกฉานมาก พระในวัดและศิษย์ตลอดจนชาวบ้านก็ยกให้เป็นพระสังฆราช นางได้ขอให้เจ้าเมืองสร้างวัดและโรงทานและเขียนภาพเล่าเรื่องราวของตนกับท้าวปาจิตไว้ที่ในโบสถ์และโรงทาน นางอรพิมให้สร้างศาลาโรงทานขึ้นในที่แยกต่าง ๆ เขียนภาพเล่าเรื่องนางกับท้าวปาจิตที่ฝาผนัง ตั้งแต่ท้าวปาจิตได้อาศัยอยู่กับยายบัวจนถึงตอนที่นางมาบวชอยู่ แต่ละตอนละเอียดครบถ้วนกระบวนความ แม้แต่ ในใบลาน ก้ ให้ จารึก เป็น บทเทศน์เล่าเรื่องราว นางสั่งไว้ว่า หากมีผู้ใดที่มาดูภาพเขียนฝาผนังแล้วร้องไห้ให้คนเฝ้าโบสถ์รีบไปบอกให้รู้ทันที วันหนึ่งท้าวปาจิตเดินทางมาถึงเมืองนี้ ได้เข้าพักอาศัยใน์ธรรมศาลาและนอนหลับไป ด้วยความเหน็ดเหนื่อย ครั้นตื่นขึ้นมองไปรอบ ๆ เห็นภาพเขียนบนฝาผนัง ได้ลุกไปเดินดูโดยรอบ รู้ว่าเป็นเรื่องราวของตนกับนางอรพิม จึงทรุดลงร่ำไห้อยู่ตรงนั้น (จากภาพจำหลักเหล่านี้ จึงทำให้เรารู้เรื่องราว ในกาลต่อมา.. ผู้บันทึก)
คนเฝ้าศาลาเมื่อพบเห็นจึงได้รีบนำความไปเล่าให้พระสังฆราชรู้ พระสังฆราชให้นำท้าวปาจิตไปพบ ท้าวปาจิตสอบถามความเป็นมาของรูปเขียน พระได้เล่าให้ฟังและบอกว่าตนคือนางอรพิม จากนั้นก็ถอดแหวนออกสวมที่นิ้วนาง กลายรูปเป็นหญิงตามเดิม ทั้งสองสวมกอดกันร่ำไห้ด้วยความยินดีเป็นที่สุด แล้วนางก็พาท้าวปาจิตเข้าไปกราบทูลเจ้าเมืองจัมปากะนคร เล่าถึงความจริง เจ้าเมืองเห็นความมั่นคงในรักของท้าวปาจิตต์ จึงมอบพระธิดาให้ท้าวปาจิตต์แทน ท้าวปาจิต นางอรพิม นางปทุมเกษรและพระธิดาของเจ้าเมืองบอกลาชาววัดและชาวบ้านเดินทางกลับนครธม พระเจ้าอุทุมราชมีความยินดีมาก อภิเษกให้ท้าวปาจิตเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ ทั้งสองครองเมืองกันอย่างมีความสุขสืบมา
ชมภาพ สถานที่ ที่เกี่ยวข้อง ที่ https://www.facebook.com/yimthai/me...
และหากต้องการชม ในระบบ แสง สี เสียง..เต็มรูปแบบ ก็ขอเชิญ เที่ยวงานพิมาย จ.โคราช ในวัน ที่ 11-15 พ.ย. 2558 นี้ มีวันละ 1 รอบ เวลา 18.00 น.เท่านั้น
ติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่เทศบาลตำบลพิมาย
โดยนำบัตรประชาชนไปยื่น (บัตรประชาชน1บัตร/2ที่นั่ง)
หรือสอบถามโทร 044-471121...
ขอขอบคุณ บทความและภาพจาก อ.ศุภศรุต ,
ใน เรื่องเก่า เล่าตำนาน บนเส้นทาง “ราชมรรคา”
แห่ง.หนังสือ โอเคเยชั้น .http://www.oknation.net/blog/vorana...

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ตำนานเมืองลับแล



ตำนานเมืองลับแล☆☆☆
เมืองลับแล นั้นเป็นอำเภอเล็กๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ แต่เดิมคงเป็นเมืองที่การเดินทางไปมาไม่สะดวก เส้นทางคดเคี้ยว ทำให้คนที่ไม่ชำนาญทางพลัดหลงได้ง่าย จนได้ชื่อว่าเมืองลับแล ซึ่งแปลว่า มองไม่เห็น มีเรื่องเล่ากันว่าคนมีบุญเท่านั้นจึงจะได้เข้าไปถึงเมืองลับแล
ตำนานนี้เล่ากันสืบมาว่า ครั้งหนึ่งมีชายคนหนึ่ง (น่าจะเป็นคนเมืองทุ่งยั้ง) เข้าไปในป่า ได้เห็นหญิงสาวสวยหลายคนเดินออกมา ครั้นมาถึงชายป่า นางเหล่านั้นก็เอาใบไม้ที่ถือมาไปซ่อนไว้ในที่ต่างๆ แล้วก็เข้าไปในเมือง ด้วยความสงสัยชายหนุ่มจึงแอบหยิบใบไม้มาเก็บไว้ใบหนึ่ง ตกบ่ายหญิงสาวเหล่านั้นกลับมา ต่างก็หาใบไม้ที่ตนซ่อนไว้ ครั้นได้แล้วก็ถือใบไม้นั้นเดินหายลับไป มีหญิงสาวคนหนึ่งหาใบไม้ไม่พบ เพราะชายหนุ่มแอบหยิบมา นางวิตกกังวลเดือดร้อนมาก ชายหนุ่มจึงปรากฏตัวให้เห็นและคืนใบไม้ให้ โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือ...ขอติดตามนางไปด้วยเพราะปรารถนาจะได้เห็นเมืองลับแล หญิงสาวก็ยินยอม นางจึงพาชายหนุ่มเข้าไปยังเมืองซึ่งชายหนุ่มสังเกตเห็นว่าทั้งเมืองมีแต่ผู้หญิง นางอธิบายว่าคนในหมู่บ้านล้วนมีศีลธรรม ถือวาจาสัตย์ ใครประพฤติผิดก็ต้องออกจากหมู่บ้านไป ผู้ชายส่วนมากมักไม่รักษาวาจาสัตย์จึงต้องออกจากหมู่บ้านกันไปหมด แล้วนางก็พาชายหนุ่มไปพบมารดาของนาง ชายหนุ่มเกิดความรักใคร่ในตัวนางจึงขออาศัยอยู่ด้วย มารดาของหญิงสาวก็ยินยอม แต่ให้ชายหนุ่มสัญญาว่าจะต้องอยู่ในศีลธรรม ไม่พูดเท็จ ชายหนุ่มได้แต่งงานกับหญิงสาวชาวลับแลจนมีบุตรชายด้วยกัน ๑ คน
วันหนึ่งขณะที่ภรรยาไม่อยู่บ้าน ชายหนุ่มผู้พ่อเลี้ยงบุตรอยู่ บุตรน้อยเกิดร้องไห้หาแม่ไม่ยอมหยุด ผู้เป็นพ่อจึงปลอบว่า "แม่มาแล้วๆ" มารดาของภรรยาได้ยินเข้าก็โกรธมากที่บุตรเขยพูดเท็จ เมื่อบุตรสาวกลับมาก็บอกให้รู้เรื่อง ฝ่ายภรรยาของชายหนุ่มเสียใจมากที่สามีไม่รักษาวาจาสัตย์ นางบอกให้เขาออกจากหมู่บ้านไปเสีย แล้วนางก็จัดหาย่ามใส่เสบียงอาหารและของใช้ที่จำเป็นให้สามี พร้อมทั้งขุดหัวขมิ้นใส่ลงไปด้วยเป็นจำนวนมาก จากนั้นก็พาสามีไปยังชายป่า ชี้ทางให้ แล้วนางก็กลับไปเมืองลับแล ชายหนุ่มไม่รู้จะทำอย่างไรก็จำต้องเดินทางกลับบ้านตามที่ภรรยาชี้ทางให้ ระหว่างทางที่เดินไปนั้น เขามีความรู้สึกว่าถุงย่ามที่ถือมาหนักขึ้นเรื่อยๆ และหนทางก็ไกลมาก จึงหยิบเอาขมิ้นที่ภรรยาใส่มาให้ทิ้งเสียจนเกือบหมด ครั้นเดินทางกลับไปถึงหมู่บ้านเดิม บรรดาญาติมิตรต่างก็ซักถามว่าหายไปอยู่ที่ไหนมาเป็นเวลานาน ชายหนุ่มจึงเล่าให้ฟังโดยละเอียดรวมทั้งเรื่องขมิ้นที่ภรรยาใส่ย่ามมาให้แต่เขาทิ้งไปเกือบหมด เหลืออยู่เพียงแง่งเดียว พร้อมทั้งหยิบขมิ้นที่เหลืออยู่ออกมา ปรากฏว่าขมิ้นนั้นกลับกลายเป็นทองคำทั้งแท่ง ชายหนุ่มรู้สึกแปลกใจและเสียดาย จึงพยายามย้อนไปเพื่อหาขมิ้นที่ทิ้งไว้ ปรากฏว่าขมิ้นเหล่านั้นได้งอกเป็นต้นไปหมดแล้ว และเมื่อขุดดูก็พบแต่แง่งขมิ้นธรรมดาที่มีสีเหลืองทอง แต่ไม่ใช่ทองเหมือนแง่งที่เขาได้ไป เขาพยายามหาทางกลับไปเมืองลับแล แต่ก็หลงทางวกวนไปไม่ถูก จนในที่สุดก็ต้องละความพยายามกลับไปอยู่หมู่บ้านของตนตามเดิม
ตำนานเมืองลับแล☆☆☆
เมืองลับแล นั้นเป็นอำเภอเล็กๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ แต่เดิมคงเป็นเมืองที่การเดินทางไปมาไม่สะดวก เส้นทางคดเคี้ยว ทำให้คนที่ไม่ชำนาญทางพลัดหลงได้ง่าย จนได้ชื่อว่าเมืองลับแล ซึ่งแปลว่า มองไม่เห็น มีเรื่องเล่ากันว่าคนมีบุญเท่านั้นจึงจะได้เข้าไปถึงเมืองลับแล
ตำนานนี้เล่ากันสืบมาว่า ครั้งหนึ่งมีชายคนหนึ่ง (น่าจะเป็นคนเมืองทุ่งยั้ง) เข้าไปในป่า ได้เห็นหญิงสาวสวยหลายคนเดินออกมา ครั้นมาถึงชายป่า นางเหล่านั้นก็เอาใบไม้ที่ถือมาไปซ่อนไว้ในที่ต่างๆ แล้วก็เข้าไปในเมือง ด้วยความสงสัยชายหนุ่มจึงแอบหยิบใบไม้มาเก็บไว้ใบหนึ่ง ตกบ่ายหญิงสาวเหล่านั้นกลับมา ต่างก็หาใบไม้ที่ตนซ่อนไว้ ครั้นได้แล้วก็ถือใบไม้นั้นเดินหายลับไป มีหญิงสาวคนหนึ่งหาใบไม้ไม่พบ เพราะชายหนุ่มแอบหยิบมา นางวิตกกังวลเดือดร้อนมาก ชายหนุ่มจึงปรากฏตัวให้เห็นและคืนใบไม้ให้ โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือ...ขอติดตามนางไปด้วยเพราะปรารถนาจะได้เห็นเมืองลับแล หญิงสาวก็ยินยอม นางจึงพาชายหนุ่มเข้าไปยังเมืองซึ่งชายหนุ่มสังเกตเห็นว่าทั้งเมืองมีแต่ผู้หญิง นางอธิบายว่าคนในหมู่บ้านล้วนมีศีลธรรม ถือวาจาสัตย์ ใครประพฤติผิดก็ต้องออกจากหมู่บ้านไป ผู้ชายส่วนมากมักไม่รักษาวาจาสัตย์จึงต้องออกจากหมู่บ้านกันไปหมด แล้วนางก็พาชายหนุ่มไปพบมารดาของนาง ชายหนุ่มเกิดความรักใคร่ในตัวนางจึงขออาศัยอยู่ด้วย มารดาของหญิงสาวก็ยินยอม แต่ให้ชายหนุ่มสัญญาว่าจะต้องอยู่ในศีลธรรม ไม่พูดเท็จ ชายหนุ่มได้แต่งงานกับหญิงสาวชาวลับแลจนมีบุตรชายด้วยกัน ๑ คน
วันหนึ่งขณะที่ภรรยาไม่อยู่บ้าน ชายหนุ่มผู้พ่อเลี้ยงบุตรอยู่ บุตรน้อยเกิดร้องไห้หาแม่ไม่ยอมหยุด ผู้เป็นพ่อจึงปลอบว่า "แม่มาแล้วๆ" มารดาของภรรยาได้ยินเข้าก็โกรธมากที่บุตรเขยพูดเท็จ เมื่อบุตรสาวกลับมาก็บอกให้รู้เรื่อง ฝ่ายภรรยาของชายหนุ่มเสียใจมากที่สามีไม่รักษาวาจาสัตย์ นางบอกให้เขาออกจากหมู่บ้านไปเสีย แล้วนางก็จัดหาย่ามใส่เสบียงอาหารและของใช้ที่จำเป็นให้สามี พร้อมทั้งขุดหัวขมิ้นใส่ลงไปด้วยเป็นจำนวนมาก จากนั้นก็พาสามีไปยังชายป่า ชี้ทางให้ แล้วนางก็กลับไปเมืองลับแล ชายหนุ่มไม่รู้จะทำอย่างไรก็จำต้องเดินทางกลับบ้านตามที่ภรรยาชี้ทางให้ ระหว่างทางที่เดินไปนั้น เขามีความรู้สึกว่าถุงย่ามที่ถือมาหนักขึ้นเรื่อยๆ และหนทางก็ไกลมาก จึงหยิบเอาขมิ้นที่ภรรยาใส่มาให้ทิ้งเสียจนเกือบหมด ครั้นเดินทางกลับไปถึงหมู่บ้านเดิม บรรดาญาติมิตรต่างก็ซักถามว่าหายไปอยู่ที่ไหนมาเป็นเวลานาน ชายหนุ่มจึงเล่าให้ฟังโดยละเอียดรวมทั้งเรื่องขมิ้นที่ภรรยาใส่ย่ามมาให้แต่เขาทิ้งไปเกือบหมด เหลืออยู่เพียงแง่งเดียว พร้อมทั้งหยิบขมิ้นที่เหลืออยู่ออกมา ปรากฏว่าขมิ้นนั้นกลับกลายเป็นทองคำทั้งแท่ง ชายหนุ่มรู้สึกแปลกใจและเสียดาย จึงพยายามย้อนไปเพื่อหาขมิ้นที่ทิ้งไว้ ปรากฏว่าขมิ้นเหล่านั้นได้งอกเป็นต้นไปหมดแล้ว และเมื่อขุดดูก็พบแต่แง่งขมิ้นธรรมดาที่มีสีเหลืองทอง แต่ไม่ใช่ทองเหมือนแง่งที่เขาได้ไป เขาพยายามหาทางกลับไปเมืองลับแล แต่ก็หลงทางวกวนไปไม่ถูก จนในที่สุดก็ต้องละความพยายามกลับไปอยู่หมู่บ้านของตนตามเดิม

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2561

องค์หญิงมณฑาทิพย์ ''(จันทร์เจ้า)

ในภาพอาจจะมี 1 คน

' องค์หญิงมณฑาทิพย์ ''(จันทร์เจ้า) จอมขมังเวทย์ผู้ปราบพม่า นางไม้เจ้าจอม วัดบางกุ้ง ผู้รักชาติยิ่งชีพ

เมื่อปี พ.ศ. 2531 บริเวณวัดเป็นป่ารกร้าง พระวินัยธร องอาจอาริโยได้เดินธุดงค์มาที่บริเวณวัดบางกุ้ง ปักกลดปฏิบัติธรรมอยู่ข้างอุโบสถหลวงพ่อนิลมณีหรืออุโบสถปรกโพธิ์ ซึ่งเงียบสงบเหมาะแก่การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐาน ท่านได้เดินสำรวจบริเวณวัดซึ่งทราบมาบ้างว่าวัดนี้เคยเป็นค่ายทหารจีนบางกุ้งสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานีมาก่อน ยามดึกขณะเจริญกรรมฐานมักจะเกิดนิมิตเห็นผู้หญิงคนหนึ่งแต่งชุดไทยโบราณมากราบไหว้หลวงพ่อนิลมณีหน้าอุโบสถปรกโพธิ์เป็นประจำ มีลักษณะผอมสูงผมยาวใบหน้างาม แต่ไม่ทราบว่าเป็นใคร ต่อมาไม่นานเสาคานที่หน้าอุโบสถหล่นตกลงมาพิงอยู่ข้างอุโบสถ คืนนั้นเองท่านได้นิมิตเห็นผู้หญิงชุดไทยคนเดิมมาบอกให้นำไม้ท่อนนี้มาไว้ที่หลังอุโบสถแล้วให้สร้างศาลด้วยท่านก็ทำตาม

ให้ชาวบ้านช่วยกันนำไม้มาไว้หลังอุโบสถแล้วสร้างศาลให้ตามคำขอร้อง นำไม้ท่อนนั้นแกะสลักเป็นรูปหน้าผู้หญิงไม่มีแขนขาไว้ภายในให้ชื่อว่า “ศาลนางไม้เจ้าจอม” ผู้คนให้ความเคารพนับถือกันมากเพราะมีความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารแก่ผู้คนอยู่เสมอ

ต่อมาพระวินัยธรฯ ได้ฟื้นฟูวัดบางกุ้งร่วมกับประชาชนจนเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง ผู้หญิงแต่งกายชุดไทยโบราณมาปรากฏในนิมิตอีกได้บอกว่าเป็นองค์หญิงพระนามว่า “องค์หญิงมณฑาทิพย์ (จันทร์เจ้า)”ต้องการให้สลักรูปองค์หญิงจากไม้ต้นโพธิ์ซึ่งมีอายุประมาณ 100 ปี โดยขอร้องให้แกะสลักทั้งองค์ หลังจากนั้นท่านได้ปรึกษาหารือญาติโยมหาช่างแกะสลัก โดยนายช่างคิดราคาค่าแรง 80,000 บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน) เมื่อตกลงราคากันแล้วพอช่างจะลงมือแกะสลักกลับไม่รู้ว่าจะแกะสลักเป็นรูปองค์แบบใด เพราะไม่เคยเห็นรูปร่างหน้าตาองค์หญิงมณฑาทิพย์มาก่อนทำให้แกะสลักไม่ได้

เมื่อการเป็นดังนี้ ท่านเจ้าอาวาสจึงลงมือแกะสลักเองทั้งที่ไม่เคยแกะสลักไม้รูปใด ๆ มาก่อน การแกะสลักไม้เป็นรูปคนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ท่านได้ใช้ความพยายามอย่างสูงแกะสลักแบบที่เห็นองค์หญิงในนิมิตเหมือนมีอำนาจอย่างหนึ่งมาดลบรรดาลให้แกะได้สำเร็จ สลักอักษรไว้ที่ฐานว่า “องค์หญิงมณฑาทิพย์ (จันทร์เจ้า)”

ภายหลังพระวินัยธร องอาจอาริโยพบหนังสือ “กฎแห่งกรรม” ของท.เลียงพิบูลย์ เข้าโดยบังเอิญพบเห็นเรื่องราวขององค์หญิงมณฑาทิพย์ (จันทร์เจ้า) ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2291 เช่นเดียวกับที่เคยนิมิตเห็นน่าจะเป็นองค์เดียวกัน มีเนื้อหาดังนี้ “องค์หญิงมณฑาทิพย์ (จันทร์เจ้า) ประสูติเมื่อปลายกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2291 เป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) กับสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ องค์หญิงเป็นพระธิดาของกรมหลวงบวรวังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ บ้านเมืองมีเหตุเดือดร้อนมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงผู้ใดประจบสอพลอผู้นั้นจะได้เป็นใหญ่ทั้งที่ไร้ความสามารถ ผู้ครองแผ่นดินได้แต่ลุ่มหลงและเสพสุขในกามา หากใครมีบุตรีต้องนำตัวมาถวายใครขัดขืนจะถูกประหารชีวิต เหลืออยู่ก็แต่กรมหลวงบวรวังในที่ท่านไม่ทรงยอมข้องเกี่ยวกับการเมืองแต่อย่างใด ไม่คบค้าสมาคมกับใคร

เมื่อพระธิดาเจริญพระชันษาเป็นสาวให้แต่งองค์เป็นชายพร้อมทั้งข้าทาสบริวารที่เป็นหญิง 300 คน เป็นชายอีก 16 คน จัดให้ฝึกอาวุธเรียนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เช่น ฟันดาบ กระบี่กระบอง หมัดมวย ตำราพิชัยสงคราม องค์หญิงทรงเชี่ยวชาญอาวุธตลอดจนเวทมนตร์คาถา ทรงมีความสามารถด้านวิชาอาคมยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน เมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกข้าศึกพม่ายกกองทัพประชิดเมือง ผู้เป็นพระบิดาทรงสั่งให้บ่าวไพร่ต่อเรือใหญ่ 30 ลำ เรือเร็ว 10 ลำ เรือแจว 20 ลำ พร้อมด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร อุปกรณ์การก่อสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ลงด้วยอาคมพร้อมเรือคุ้มกันองค์หญิง ซึ่งแต่งกายเป็นชายเยี่ยงชายชาวบ้านธรรมดาหลบหนีออกจากกรุงตอนกลางคืน แต่พระบิดามิได้มาด้วย กองเรือได้ล่องน้ำมาเป็นระยะเวลา 3 วัน พบกองเรือพม่าบรรทุกกระสุน ดินดำ

จึงสั่งให้พลพรรคเข้าโจมตีตอนเวลาดึก จึงเกิดไฟลุกโชติช่วงฆ่าทหารพม่าซึ่งกำลังหลับเพราะเมามายแทบหมดสิ้น จนรุ่งเช้าพม่าส่งกำลังติดตามองค์หญิงทรงสั่งให้กองกำลังหลบตามป่าชายฝั่งแล้วร่ายเวทมนตร์กำบังพรางตาจนพม่าพ้นไป กองเรือหนีเล็ดรอดไปได้อย่างปลอดภัย แล้วหาทำเลสร้างเมืองเล็ก ๆ อยู่ เมื่อคราวศึกบางกุ้งองค์หญิงได้ทรงคุมกำลังเข้าช่วยรบพม่าเป็นสามารถจนได้รับชัยชนะ เมื่อสิ้นอายุขัยดวงพระวิญญาณยังผูกพันกับวัดบางกุ้งยังคงวนเวียนอยู่ที่ศาลคอยแผ่บารมีให้ความช่วยเหลือผู้ทุกข์ร้อนที่มาขอพึ่งพา

ขอบคุณเจ้าของภาพและบทความ“กฎแห่งกรรม” ของท.เลียงพิบูลย์ และจากวิกิพีเดีย สารานุกรม

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2561

กุรุนทนคร เมืองรจนา

ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, ต้นไม้ และ สถานที่กลางแจ้ง

เมืองรจนา กุรุนทนคร
.
ภูเขียว เป็นอำเภอที่อยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงหนือของจังหวัดชัยภูมิ มีประวัติความเป็นมายาวนาน หลักฐานทางโบราณคดีมีการค้นพบร่องรองของชุมชนโบราณที่มีคูน้ำคันดิน ใบเสมาจารึกอักษรปัลลวะ และโบราณสถานในศิลปะแบบศรีโคตรบูร (ก่อนยุคขอม) อยู่หลายแห่ง สันนิษฐานว่าน่าจะปรากฏเป็นบ้านเมืองมาแล้วราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 17
.
ในตำนานอุรังคธาตุ กล่าวถึงเมืองกุรุนทนครว่าตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหนองหาน ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชุมชนโบราณในเขตอำเภอภูเขียวในปัจจุบัน ชุมชนในแถบนี้คงมีความเจริญและมีการอยู่อาศัยของผู้คนมาอย่างต่อเนื่อง แม้จะผ่านเข้าสู่สมัยอิทธิพลจักรวรรดิ์ขอมแล้ว ก็ปรากฏร่องรอยของโบราณสถานและโบราณวัตถุ
.
พระธาตุหนองสามหมื่น ตั้งตามชื่อหนองน้ำขนาดใหญ่คือหนองสามหมื่นที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่บ้าน เหล่ากันว่าเป็นหนองที่ขุดขึ้นโดยใช้กำลังคนสามหมื่นจึงเรียกหนองสามหมื่น เป็นอีกหลักฐานหนึ่งที่ยืนยันถึงการเป็นแหล่งที่ตั้งของชุมชนมาตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนา ล้างช้าง และอยุธยา สันนิษฐานว่ามีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 สมัยพระไชยเชษฐาธิราช แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง
.
พระธาตุหนองสามหมื่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความสูงประมาณ 45 เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน เหนือฐานเขียงเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับองค์พระธาตุ ซึ่งมีซุ้มทั้งสี่ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง และปางลีลา ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า รูปแบบดังกล่าวอาจเปรียบเทียบได้กับพระธาตุอื่นๆ ทั้งในนครเวียงจันทน์และในเขตไทย เช่น พระธาตุวัดเทพพล เมืองเวียงคุก จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีเมือง นครเวียงจันทน์ เป็นต้น
.
อีกทั้งยังพบเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ชาวบ้านเรียกว่าเมืองรจนา ภายในเมืองมีกู่ที่เรียกกันว่ากู่พระสังข์ และมีเนินดินอีกแห่งเรียกว่าโนนบ้านเก่าพบเสมาหินสลักศิลปะแบบสมัยศรีโคตรบูรจำนวนหลายแผ่น มีการนำบางส่วนมาเก็บรักษาไว้ที่วัด มีอยู่แผ่นหนึ่งที่มีรอยจารึกชาวเมืองภูเขียวนำไปทำเป็นหลักเมือง หลักฐานเหล่านี้ทำให้สันนิษฐานเบื้องต้นว่า พื้นที่แถบนี้น่าจะก่อตั้งเป็นชุมชนมาแล้วตั้งแต่สมัยศรีโคตรบูร สมัยอาณาจักรขอม (เนื่องจากพบเสาหินศิลาแลงอยู่ภายในวัดด้วย) ต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงอาณาจักรลาวล้านช้าง
.
แต่เดิมวัดพระธาตุหนองสามหมื่นเป็นวัดเล็กๆ มีพระสงฆ์ประจำอยู่เพียงกุฏิเดียว แต่เมื่อประมาณ 40 กว่าปีก่อน หลวงพ่อศรีทัต วิปัสสโน มาจากโคราชมาดำรงตำหน่งเจ้าอาวาส ก็ได้พัฒนาวัดสร้างสิ่งก่อสร้างขึ้นมากมาย จากเดิมที่มีเพียงกุฏิเพียงหลังเดียวกับสิมไม้ริมน้ำ ก็ขยายเป็นสร้างอุโบสถ พระนอนองค์ใหญ่ ศาลาพันห้อง รอยพระพุทธบาทจำลอง หุ่นจำลองพระมาลัย นรก-สวรรค์ หลวงพ่อศรีทัต วิปัสสโน มรณภาพเมื่อไปเมื่อก่อน พ.ศ.2527 ปัจจุบันยังมีรูปหล่อจำลองของหลวงพ่ออยู่ในศาลาเล็กๆ นอกเขตกำแพงแก้วด้านหน้าอุโบสถให้ชาวบ้านมาเคารพสักการะอยู่