วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2559

ตำนานอุรังคธาตุ ๑๖


ตำนานอุรังคธาตุ ๑๖

อุโมงค์ที่สร้างไม่แล้วนั้นมาโสรจสรงอบรม  นำเอาพระอุรังคธาตุทั้งสิ้นที่หุ้มห่อและปกปิดด้วยผ้ากำพลนั้น ตั้งไว้ท่ามกลางปราสาท แล้วให้เลือกสรรค์เอาแต่บุคคลที่ดี ให้นุ่งผ้าขาว สวมเสื้อขาว สำหรับหามพระอุรังคธาตุไปสู่ภูกำพร้าพร้อมด้วยพระอรหันต์ แล้วทรงประกาศแก่คนทั้งหลายให้ทราบว่า ห้ามไม่ให้พูดถึงการแข่งขันพะนันกันแม้แต่อย่างหนึ่งดังแต่ก่อน ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนจะเอาตัวทำโทษ

       อนึ่ง หญิงทั้งหลายได้ทราบในคำประกาศ ก็พากันเข้าไปไหว้พระมหากัสสปเถระเจ้าว่า  ผู้ข้าทั้งหลายนี้พร้อมใจกันก่ออุโมงค์สำเร็จบริบูรณ์เรียบร้อยแล้ว  ผู้ข้าทั้งหลายพร้อมกันเข้ามาไหว้พระผู้เป็นเจ้า ขอเอาพระอุรังคธาตุพระพุทธเจ้าไปฐปนาไว้ ณ ที่นั้น

       ครั้งนั้น พระมหากัสสปเถระเจ้า จึงให้พระอรหันต์กลับคืนไปสู่ที่ถวายพระเพลิง นำเอาพระอังคารพระพุทธเจ้ามา ๓ ทะนาน ด้วยอิทธิฤทธิ ให้แก่หญิงทั้งหลายนำไปฐปนาไว้ ณ ที่นั้น  สถานที่นั้นจึงได้ชื่อว่า “ธาตุนารายน์” ตามคำหญิงทั้งหลายกล่าวเมื่อแรกจะก่อนั้นว่า ใครจะมีกำลังเสมอด้วยพระนารายน์นั้นเล่า ผู้ชายก็มีมือข้างละ ๕ นิ้วเหมือนกันนั้นแหละ  อุโมงค์นี้ผู้เฒ่าคนแก่ทั้งหลายจึงให้ชื่อว่า “อุโมงค์อิตถีมายา”  พระยาสุวรรณภิงคารจึงตรัสว่า  ท่าน

  • เชิงอรรถ –

ทั้งหลายอย่าได้ม้างคำพระอรหันต์เลย ให้เรียก “พระธาตุนารายน์” ตามคำของพระอรหันต์นั้นเทอญ  ส่วนอุโมงค์ที่ผู้ชายก่อไม่สำเร็จนั้นให้ชื่อว่า “ภูเพ็กมุสา” ตามเหตุอันนั้น

       ครั้งนั้น พระยาคำแดงเจ้าเมืองหนองหานน้อย ให้ก่ออุโมงค์เป็นรูปพรหม ๔ หน้าไว้ที่บัวหลวงแห่งหนึ่ง ที่บัวกุ่มน้อยแห่งหนึ่ง ที่ก่อไกลกันบ่มิได้ปรากฏ แต่พระองค์ทรงทราบข่าวว่า  พระอรหันต์ทั้งหลายไม่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุไว้ ณ ที่นั้น และนำเอาไปประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้า  พระองค์จึงนำเอาข้าวของเงินทองขึ้นบรรทุกบนหลังช้างหลังม้า แล้วพระองค์เสด็จขึ้นทรงช้างมงคล พาบริวารเสด็จมาสู่เมืองหนองหานหลวง เพื่อจะนำเอาพระอุรังคธาตุไปสู่พระนคร

       ชาวเมืองหนองหานหลวงเห็นดังนั้น ก็พากันแตกตื่นเข้าใจว่าข้าศึกยกเข้ามารบกวน  จึงได้นำความเข้าไปกราบทูลพระยาสุวรรณภิงคารๆจึงตรัสสั่งให้อำมาตย์ผู้ฉลาดออกไปตรวจตราดูก็รู้ว่าพระยาคำแดง ซึ่งเป็นพระอนุชาข้างฝ่ายพระมารดาของพระองค์ นำเครื่องไทยทานเสด็จมา  อำมาตย์จึงได้นำความเข้ามากราบทูล  เมื่อพระองค์ทรงทราบว่าพระอนุชาเสด็จมาก็ทรงยินดียิ่งนัก จึงตรัสสั่งให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ออกไปต้อนรับเชิญเสด็จเข้ามาให้ทันในเพลานั้น จะเสด็จไปสู่ภูกำพร้าพร้อมด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย  ทันใดนั้น พระยาคำแดงพร้อมด้วยอำมาตย์เสด็จและมาถึง  พระยาสุวรรณภิงคารเสด็จออกไปต้อนรับและทรงปฏิสันถารกับด้วยพระอนุชา แล้วพระ

  • เชิงอรรถ –

ราชาทั้ง ๒ ก็เสด็จไปสู่ภูกำพร้า

       ครั้งนั้น พระยาอินทปัฐนคร พระยาจุลณีพรหมทัต พระยานันทเสน ทรงทราบ  จึงได้ตระเตรียมไพร่พลโยธาไว้ริมแม่น้ำเสมอปากเซ  พระยาสุวรรณภิงคาร พระยาคำแดง ได้ทอดพระเนตรเครื่องศาสตราวุธยุทธภัณฑ์และไพร่พลโยธาของพระยาทั้ง ๓ ก็บังเกิดความสงสัย ด้วยเหตุว่าพระยาทั้ง ๒ พี่น้อง มิได้เตรียมไพร่พลโยธาและมิได้นำเอาเครื่องศาสตราวุธยุทธภัณฑ์ไปด้วย

       ครั้งนั้น พระมหากัสสปเถระเจ้า จึงได้แกวดกดหมายด้วยเหตุที่พระผู้เป็นเจ้ารู้ในน้ำพระทัยของพระราชาทั้ง ๒  พระมหากัสสปเถระเจ้าก็มีความยินดีที่จะมิให้น้ำพระทัยของพระราชาทั้งหลายกระด้างกระเดื่องต่อกัน  พระมหาเถระเจ้ามีความปรารถนาอยู่แต่จะให้พระราชาทั้ง ๕ มีน้ำพระทัยอันเบิกบาน จึงได้ออกไปเชิญท้าวพระยาทั้ง ๕ เข้ามาประทับสนทนาซึ่งกันและกัน ณ ท่ามกลางพระอรหันต์ทั้งหลาย แล้วพระมหากัสสปเถระเจ้าจึงถวายพระพรตามปัญหาพระยาธรรมว่า  “เขือไป ขามา  ขาไป เขือมา” ดังนี้  แล้วพระผู้เป็นเจ้าเอาปัญหาพระยาธรรมผูกเข้ากับปัญหาธรรม เพื่อเล้าโลมน้ำพระทัยพระยาทั้ง ๕ ว่า  “คจฺฉนฺติ  นรคจฺฉนฺติ  โกเว นรโกเว  เญยฺยา นรเญยฺยา  สากนฺติ นรสากนฺติ  โจรํ นรโจรํ  เถโน นรเถโน  นรา นุเร นุเร”  พระมหากัสสปเถระเจ้ากระทำให้พระยาทั้ง ๕ เข้าใกล้กัน และให้ได้วิสาสะคุ้นเคยชอบในพระอัธยาศัยซึ่งกันและกัน

  • เชิงอรรถ –

พระมหาเถระเจ้ามองเห็นอนาคตว่า พระยาสุวรรณภิงคารและพระยาคำแดง จักจุติไปเกิดในเมืองอินทปัฐนคร ร่วมพระราชบิดาและพระราชมารดาเดียวกัน  จึงได้นำเอาปัญหาพระยาธรรมเข้ามาแทรงแซงว่า “เขือไป” เพื่อเหตุนี้

       บทว่า “ขามา” ได้แก่พระยาจุลณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนคร ทั้ง ๒ จักจุติมาเกิดในเมืองจุลณีพรหมทัต ร่วมพระราชบิดาและพระราชมารดาเดียวกัน

       บทว่า “ขาไป” นั้น ได้แก่พระยาติโคตรบูร จุติแล้วจักได้ไปบังเกิดเป็นพระยาสุริยวงศาในเมืองสาเกตนคร  พระยานันทเสน ผู้เป็นพระอนุชา จักได้เสวยราชสมบัติแทน ๑๓ ปี จึงจะได้เสด็จมาสู่ภูกำพร้าแล้วจึงได้จุติไปเกิดในครรภ์แห่งนางศรีรัตนเทวีพระราชเทวีของพระยาสุริยวงศา

       บทว่า เขือมา” นั้น  ได้แก่นางศรีรัตนเทวี จะได้จุติมาเกิดในวงศ์พระยานันทเสน  พระยาสุริยวงศาก็จักได้จุติมาเกิดเป็นโอรสพระยามรุกขนคร ได้นางศรีรัตนเทวีมาเป็นราชเทวี

       อนึ่ง พระมหากัสสปเถระเจ้ามองเห็นว่า  ท้าวพระยาทั้งหลายจักได้เป็นพระยาธรรม ค้ำชูพระพุทธศาสนาในเมืองศรีสัตตนาคที่ดอยนันทกังรีและเมืองจันทบุรีศรีสัตตนาค ด้วยเหตุอดีตชาติที่ได้ผลัดเปลี่ยนกันเป็นพระยาศรีโคตรบูรมีอมรฤษีเป็นต้น

       พระมหากัสสปเถระเจ้ารู้แจ้งดังนี้ จึงได้นำเอาปัญหาพระยา

  • เชิงอรรถ –

ธรรมมาเปรียบเทียบด้วยพระยาทั้ง ๕  พระมหาเถระรำพึงดังนี้ จึงกล่าวว่า  “เขือไป ขามา” ดังนี้  ผู้มีปัญญาเป็นบุรุษอาชาไนยหากจักรู้แจ้งต่อไปภายหน้า  อรรถกถาต่อไปเป็นปัจจุบันชาติเห็นฉะเพาะหน้า  “คจฺฉนฺติ  นรคจฺฉนฺติ” ผู้ประเสริฐต่อผู้ประเสริฐ เทียวทางมาเจอะกันเข้า ยิ่งซ้ำประเสริฐกว่าก่อน  บทนี้มหาเถระเจ้ามองเห็นในท้าวพระยาทั้ง ๕ ได้สร้างสมบุญสมภารมาแล้ว ๑๐๐๐,๐๐๐ มหากัลป์ ซ้ำได้มาเจอกัน ยิ่งซ้ำประเสริฐยิ่งๆขึ้นไปกว่าแต่ก่อน

       บทว่า “โกเว นรโกเว” นี้ แปลว่า ผู้ฉลาดต่อผู้ฉลาด เทียวทางมาเจอะกันเข้า ก็ยิ่งซ้ำฉลาดรู้ดีงามยิ่งกว่าแต่ก่อน

       บทว่า “เญยฺยา นรเญยฺยา” นี้ แปลว่า ผู้รู้ต่อผู้รู้ เทียวทางมาเจอะกันเข้า ก็ยิ่งซ้ำรู้หลักนักปราชญ์เพิ่มเติมขึ้นไปยิ่งกว่าเก่า

       บทว่า “สากนฺติ นรสากนฺติ” นี้ แปลว่า  ผู้รักต่อผู้รัก เทียวทางมาเจอะกันเข้า ก็ยิ่งซ้ำรักกันยิ่งกว่าเก่า

       อธิบายความคาถาบทนี้ว่า  ต่างคนต่างเป็นท้าวพระยา มีบุญสมภารเกิดแต่ธรรมชาติว่าเป็นผู้ฉลาดรู้หลักรักตน กลัวแต่สังสารทุกขภัย มีหัวใจเป็นมงคล และรักในแก้วทั้ง ๓ เพื่อเป็นที่ไต่ตามเข้าไปสู่พระนิพพาน ไม่มีความคดเลี้ยวด้วยการสงคราม

       บทว่า “โจรํ  นรโจรํ” นี้ แปลว่า ผู้เป็นโจรต่อผู้เป็นโจร เทียวทางมาเจอะกันเข้า ยิ่งซ้ำชวนกันประพฤติเป็นโจร เที่ยวฆ่าฟันแย่งชิงยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน

  • เชิงอรรถ –

       บทว่า “เถโน นรเถโน” นี้ แปลว่า  ผู้ชำนาญในการลักขะโมย เทียวทางมาเจอะกันเข้า ก็ยิ่งซ้ำชวนกันไปเที่ยวลักขะโมยยิ่งกว่าแต่ก่อน

       บทว่า “นรา นุเร นุเร” นี้ แปลว่า คนทั้งหลายผู้ที่เป็นสับบุรุษมีความเพียร เทียวทางมาเจอะกันเข้า ก็ยิ่งซ้ำชวนกันกระทำความเพียรยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน  อธิบายว่าพระยาทั้ง ๓ ที่มานี้ ถึงแม้จะมีเครื่องศาสตราวุธกระทำยุทธสงครามมาด้วยก็จริง ก็หาใช่พระราชาทั้ง ๓ มีพระราชประสงค์เช่นนั้นดอก  พระราชาทั้ง ๓ หากเป็นสับบุรุษผู้มีความเพียรเสมอกัน

       พระราชาทั้ง ๓ ทรงทราบข่าวสาสน์ว่า พระอรหันต์ ๕๐๐ จะนำเอาพระอุรังคธาตุมาประดิษฐาน ณ ที่นี้  พระองค์แสวงหายังพระนิพพานเสมอด้วยพระยาทั้ง ๒  พระมหากัสสปเถระเจ้ารู้แจ้งในพุทธวิสัยที่พระศาสดาทรงพยากรณ์ไว้นั้นว่า “กปฺปนคิริ” แปลว่า ดอยเข็ญใจเป็นกำพร้า  พระพุทธเจ้าอาศัยซึ่งพระยาติโคตรบูรพระองค์นั้น  เมื่อชาติหนหลัง พระยาได้นำเอา ลูกนก ไข่เต่า และไข่ตะกวด มากินและขายเลี้ยงชีวิต  ครั้นเกิดมาจึงได้เป็นคนเข็ญใจและปราศจาก บิดา มารดา บุตร ภรรยา และเสนาอำมาตย์ที่พึงใจ  พระองค์จักได้เป็นผู้ฐปนาพระอุรังคธาตุไว้ในดอยอันนี้ๆจึงได้ชื่อว่า ดอยเข็ญใจภูกำพร้า ก็เพื่อเหตุอันนั้น

       อนึ่ง พระพุทธเจ้าสั่งให้เอาพระอุรังคธาตุมาประดิษฐานเป็นภาษา

  • เชิงอรรถ –

บาลีว่า “อุรงฺคธาตุ” ในดอยเข็ญใจ ตามที่พระศาสดาตรัสว่า  พระยาติโคตรบูรเสมออก  พระยาเป็นเชื้อเนื้อหน่อพุทธวงศา  ท้าวพระยาทั้ง ๕ ที่มา ก็เป็นเนื้อหน่อพระอรหันต์ และเป็นพระยาธรรมสืบพระพุทธศาสนา  พระมหากัสสปเถระเจ้ามองเห็นเหตุดังนี้ จึงเทศนาให้พระยาทั้ง ๕ ทรงทราบแต่เล็กน้อย

       เมื่อพระยาทั้ง ๕ จุติ ได้มาเป็นพระอรหันต์ จึงแจ้งด้วยบุพเพนิวาสญาณและปรสัญญิตญาณในปัญหาที่ว่า  เขือไป ขามา  ขาไป เขือมา และแจ้งในบทคาถาที่ผูกไว้ให้พระมหากัสสปเถระเจ้า  แจ้งในคุณพระอรหันต์ทั้ง ๕ จึงได้กล่าวไว้ในนิทานอันนี้ เพื่อให้นักปราชญ์ทั้งหลายรู้ต่อไปภายหน้า  เมื่อใดยังมีสาวกบารมีญาณและโพธิญาณนั้นไม่กล่าว เหตุท่านเหล่านี้รู้แจ้งในธรรมทั้งสิ้นอยู่แล้ว

       ครั้งนั้น พระยาสุวรรณภิงคาร พระยาคำแดง พระยาจุลณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนคร พระยานันทเสน ได้ทรงสดับพระมหากัสสปเถระเจ้าอธิบายในคาถานั้นๆมีพระทัยชุ่มชื่นและมีความเสนหาซึ่งกันและกัน  พระราชาทั้ง ๕ จึงตรัสสั่งให้บริวารแห่งตนๆไปขนเอาหินเหล่านั้นมาก่ออุโมงค์ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ

       พระมหากัสสปเถระเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันต์ทั้งหลายจึงทูลว่า  หินเหล่านั้นได้แต่ก่อแล้วแต่ก่อน ไม่แล้ว ละทิ้งเสีย ไม่เป็นมงคล  ให้ปั้นดินดิบก่อเป็นอุโมงค์แล้วเอาไฟเผาเอาเทอญ ไม่ยิ่งไม่หย่อนในพระพุทธศาสนาภายหน้าดอก  พระอรหันต์ทั้งหลายว่าดังนี้

  • เชิงอรรถ –

       ท้าวพระยาทั้ง ๕ จึงตรัสสั่งให้คนทั้งหลายปั้นดินดิบ และให้ทำแม่พิมพ์เท่าฝ่ามือพระมหากัสสปเถระเจ้า เป็นต้นแบบตัวอย่างปั้นดินดิบนั้น  เมื่อปั้นได้พอแล้ว  พระยาสุวรรณภิงคาร พระองค์เริ่มขุดหลุมด้วยพระองค์เองก่อน  พระยาจุลณีพรหมทัต พระยาอินทปัฐนคร และพระยานันทเสน จึงขุดเป็นลำดับตัวไป  เสนาอำมาตย์และอาณาประชาราษฎรทั้งหลายจึงได้ขุดต่อไป  หลุมนั้นลึก ๒ ศอกของพระมหากัสสปเถระเจ้า กว้าง ๒ วา พระมหากัสสปเถระเจ้า เท่ากันทั้ง ๔ ด้าน  ท้าวพระยาทั้ง ๔ จึงแบ่งปันกันก่อองค์ละด้าน

       พระยาจุลณีพรหมทัต ทรงก่อด้านตะวันออก และทรงบริจาคพระราชทรัพย์และวัตถุสิ่งอื่นรองบูชาไว้ภายใต้ด้านที่พระองค์ทรงก่อนั้น  เงินแน่น ๕,๕๕๐ แน่นๆหนึ่ง มีกำหนด ๔๐๐๑  ทองคำ ๕๕๐ แน่น แน่นหนึ่งหนัก ๓๐๐  ฆ้อง  ๑๙ กำ ๙ ลูก  ๑๗ กำ ๗ ลูก

       พระยาอินทปัฐนคร ทรงก่อด้านใต้และทรงบริจาคพระราชทรัพย์บูชาไว้  เงิน ๙,๙๙๙,๙๐๐  ปลอกมงกุฎทองคำมี ๓๓,๓๓๐  ทรงหล่อเป็นรูปเรือรองไว้ภายใต้ด้านที่พระองค์ก่อ

       พระยาคำแดงทรงก่อด้านตะวันตกและทรงบริจาคพระราชทรัพย์บูชา เป็นต้นว่า กระโถนทองคำลูกหนึ่ง หนัก ๖๐,๐๐๐ แล้วเอาแหวนใส่ในกระโถนนั้นให้เต็ม  เงิน ๓๐๐,๐๐๐  มงกุฎแก้วมรกตคู่หนึ่ง ปิ่นทองคำคู่หนึ่ง พานทองคำ ๗,๐๐๐ ลูก แล้วเอาหินมุกด์

  • เชิงอรรถ ๑ หนัก ๔๐๐ จะเป็นบาทหรือตำลึงไม่ทราบแน่

มาทำเป็นหีบใส่ข้าวของนั้นๆ เอาลงไปรองไว้ภายใต้ด้านที่พระองค์ก่อ

       พระยานันทเสนทรงก่อด้านเหนือ  พระองค์ทรงบริจาควัตถุข้าวของเป็นต้นว่า ขันทองคำลูกหนึ่ง หนัก ๗,๐๐๐ แล้วเอาแหวนทองคำบรรจุลงในขันนั้นให้เต็มบริบูรณ์  ขันเงินลูกหนึ่ง หนัก ๙,๐๐๐ แล้วเอาปิ่นทองคำบรรจุลงในนั้นให้เต็มบริบูรณ์  ไตเงิน ๒ ลูก หนัก ๑๙,๐๐๐ แล้วเอาม้าวบรรจุลงในไตเงินให้เต็มทั้ง ๒ ลูกๆละ ๕๐ คู่ๆหนึ่งหนัก ๒๐  เงิน ๙๐,๐๐๐ บรรจุลงในฆ้อง ๑๗ กำ ๗ ลูก  ๑๕ กำ ๕ ลูก  ๑๓ กำ ๓ ลูก  บูชารองไว้ภายใต้ด้านที่พระองค์ก่อ

       พระยาสุวรรณภิงคาร พระองค์ทรงบริจาควัตถุข้าวของถวายบูชาเป็นต้นว่า  มงกุฎทองคำคู่หนึ่ง หนักมงกุฎละ ๓๐,๐๐๐  สังวาลย์ทองคำคู่หนึ่ง หนักสังวาลย์ละ ๓๐๐,๐๐๐  กระโถนทองคำลูกหนึ่ง หนัก ๙๐,๐๐๐  แล้วเอาแหวนทองคำและกระจอนหู บรรจุลงในกระโถนให้เต็ม  พานทองคำลูกหนึ่ง หนัก ๗๐,๐๐๐  เอาวันละคังบรรจุลงในพานนั้นให้เต็ม  โอทองคำ ๙ ลูกๆหนึ่ง หนัก ๒,๐๐๐  โอเงิน ๙ ลูก หนักลูกละ ๕,๐๐๐  โอนาก ๗ ลูก หนักลูกละ ๕,๐๐๐  รองไว้ภายใต้อุโมงค์ท่ามกลางท้าวพระยาทั้งหลาย

       เมื่อพระยาทั้ง ๔ จะทรงก่ออุโมงค์นั้น  พระมหากัสสปเถระเจ้าจึงบอกให้เอาไหน้ำใหม่มาตั้งไว้ด้านละลูก จารึกคาถามงคลโลกใส่

  • เชิงอรรถ –

ลงไว้ในไหทุกลูก แล้วสวดราหุลปริตรสูตร ให้ท้าวพระยาทั้ง ๕ มีพระยาสุวรรณภิงคารเป็นประธาน  ทรงตักน้ำในไหนั้นประพรมอุโมงค์ให้ตลอดทั้ง ๔ ด้าน แล้วประทักษิณเวียนขวา ๓ รอบ  พระยาจุลณีพรหมทัต ทรงตักเอาน้ำในไหประพรมด้านตะวันออก แล้วจึงให้ก่อขึ้น  พระยาอินทปัฐนคร พระยาคำแดง และพระยานันทเสน ก็ทรงกระทำเหมือนพระยาจุลณีพรหมทัตนั้น  เมื่อทรงก่อด้านใดก็เอาน้ำประพรมด้านนั้น แล้วจึงให้ก่อขึ้นไป  ท้าวพระยาทั้ง ๕ พร้อมกันก่ออุโมงค์เป็นรูปเตาขึ้นไปแต่พื้นดินเป็นสี่เหลี่ยม สูงขึ้นไปวาหนึ่งแล้วหยุดไว้  ต่อแต่นั้นขึ้นไป พระยาสุวรรณภิงคารทรงก่อเป็นรูปฝาระมีตลอดขึ้นไปจนถึงที่สุดยอดได้วาหนึ่งของพระมหากัสสปเถระเจ้า  วัดแต่ฐานขึ้นไปถึงยอดสุดได้ ๒ วา ของพระมหากัสสปเถระเจ้า แล้วทำประตูเตาฮางไว้ทั้ง ๔ ด้าน  จึงให้เอา ไม้จวง ไม้จันทน์ ไม้กลัมพัก ไม้คันธรส ไม้ชมพู ไม้นิโครธ และไม้รัง มาทำเป็นฟืนเผา ๓ วัน ๓ คืน สุกดีแล้ว  ให้ขนเอาหินหมากคอมกลางโคกที่เป็นมงคลมากลบลงในหลุมนั้น

       พระมหากัสสปเถระเจ้า พร้อมด้วยพระอรหันต์กับทั้งท้าวพระยาทั้ง ๕ จึงไปนำเอาพระอุรังคธาตุเข้าไปฐปนาไว้ในอุโมงค์นั้น แล้วให้ปิดประตูไว้ทั้ง ๔ ด้าน

       ขณะนั้น พระอุรังคธาตุที่ห่อหุ้มไว้ด้วยผ้ากัมพล ทรงกระทำปาฏิหาริย์ เสด็จออกมาประดิษฐานอยู่บนฝ่ามือก้ำขวาของพระมหา

  • เชิงอรรถ –

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น